โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ใครงาบนมนักเรียน“ วอนธรรมนัส เข้ามารื้อระบบ ตัดวงจรทุจริต

  ใครงาบนมนักเรียน“ วอนธรรมนัส เข้ามารื้อระบบ ตัดวงจรทุจริต

……..


     ตื่นแล้ว…กรมปศุสัตว์ หลังจาก #นายหัวไทร เขียนกระตุกไปเมื่อวานถึงการเก็บงำไว้ถึงตัวเลขยอดปริมาณน้ำนมดิบ จนคณะอนุกรรมการจัดสรรพื้นที่ แบ่งโควต้าไม่สามารถทำงานขยับได้ จนอาจทำให้เด็กนักเรียนไม่มีนมกินในวันเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่นี้



     ตื่นแล้วเพราะข้อมูลตัวเลยยอดปริมาณน้ำนมดิบน่าจะถึงมือคณะอนุกรรมการจัดสรรโควต้าแล้ว และคณะอนุกรรมการจัดสรรโควต้าได้ส่งหนังสือเรียกประชุมถึงผู้ประกอบการนมโรงเรียนแล้ว โดยทุกเขตจะมีการประชุมกันในวันที่ 13 พฤษภาคมนี้ แต่ขบวนการผลิตยังไม่แน่ใจว่า จะทันเปิดเทอมในวันที่ 16 พฤษภาคมหรือไม่ เพราะมีเวลาในการเตรียมการผลิตแค่ 2 วัน

     น่าแปลกใจว่าทำไมปีนี้ถึงเกิดความล่าช้าในการประกาศยอดน้ำนมดิบ ไม่มีการประชุม ไม่มีการออกประกาศจัดสรรโซนการผลิต และจำหน่ายนมโรงเรียน ทั้งๆที่โรงเรียนจะเปิดการเรียนการสอนในอีก 5 วันข้างหน้าแล้ว เพิ่งแจ้งยอด และเรียกประชุมผู้ประกอบการนมโรงเรียนเมื่อวานนี้เอง



“ปีนี้ทุกอย่างถูกเก็บงำไว้ที่ส่วนกลางหมด ไม่มีอะไรแพร่งพรายออกมา ให้น่าสงสัยยิ่งว่าเกิดอะไรขึ้น ผู้ประกอบการโรงนมโรงเรียนรอด้วยใจจดจ่อ กลัวเด็กนักเรียนจะไม่ได้กินนม” แหล่งข่าวในวงการนมโรงเรียนกล่าว


น่าจะเป็นที่แน่แท้แล้วว่า เปิดเทอมนี้ เด็กนักเรียนจะยังไม่ได้กินนมแน่นอน ด้วยความไม่ชัดเจนในการจัดสรรพื้นที่ผลิต-จำหน่ายนมโรงเรียน แหล่งข่าวกล่าวย้ำ


รายงานข่าวกล่าวอีกว่า องค์การส่งเสริมกิจการโคนม (อสค.) ซึ่งเป็นเลขาฯของคณะกรรมการการจัดสรรนมโรงเรียนก็ไม่รับรู้อะไรเลย การประชุมก็ไม่เชิญ อสค.เข้าร่วม


กล่าวสำหรับการบริหารจัดการนมโรงเรียนจะมีหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นทางคือ เกษตรกรผู้เสี้ยงโคนม ไปจนถึงปลายทางคือโรงเรียนที่รับนมไปแจกนักเรียน


นอกจากนี้ยังมีอีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 7 กลุ่ม ได้แก่  

1.คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือมิลค์บอร์ด โดยมีปลัดเกษตรฯ เป็นประธานฯ เป็นผู้รับรองบันทึกข้อตกลงซื้อขายน้ำนมโคหรือ MOU จะรับรองข้อมูลจริง หรือสร้างข้อมูลขึ้นว่า ก็ไม่รู้ ผู้ประกอบการรายใหญ่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดการซื้อขายน้ำนมดิบ


2.กรมส่งเสริมสหกรณ์ กำกับดูแลการซื้อขายน้ำนมดิบระหว่างศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบกับผู้ประกอบการทั้งหมดอาจจะมีช่องว่างให้มีการสร้างข้อมูลปริมาณน้ำนมดิบไม่ตรงกับข้อเท็จจริงได้ มีจำนวน ปริมาณน้ำนมดิบมากกว่าความเป็นจริงที่มีอยู่เพื่อหวังผลประโยชน์


 3.กรมปศุสัตว์ มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรเงรียนให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ปีนี้จนถึงวันนี้ (12 พ.ค.) ยังไม่มีการออกประกาศจัดสรรพื้นที่จำหน่าย


 4.ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย เป็นกลุ่มสนับสนุนการทำ MOU ซื้อขายน้ำนมดิบ เคยมีปัญหามาแล้วในอดีต


 5.สมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบ เป็นตัวปั้นข้อมูล ซึ่งเป็นแหล่งรวมศูนย์รวมรวมน้ำนมดิบภาคเอกชนทั้งหมด ตัวเลขน้ำนมดิบจะจริงจะเท็จ จะเกินจริงหรือไม่อยู่ตรงนี้ เคยมีข่าวไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นอยู่ ณ จุดนี้


 6.สมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์  เป็นแหล่งรวบรวมผู้ประกอบการธุรกิจนมโรงเรียนเพียงอย่างเดียว มีสมาชิกที่มีเจ้าของกิจการแทบจะเป็นรายเดียวกัน หรือเป็นเครือข่ายเพื่อกระจายกันในการขอรับจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนเป็นจำนวนมากที่สุดของประเทศ 


7.สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย เป็นฝ่ายสนับสนุนข้อมูลการไซฟ่อนนม  เช่น ทำเอ็มโอยู ทำคล้ายบัญชีม้า โดยมีผู้ประกอบการบางราย จะคอยรับซื้อน้ำนมดิบที่เหลือจากการลดสัดส่วนของโครงการนมโรงเรียนในราคาถูก เป็นการซื้อนอก MOU กับบัญชีม้าที่ทำไว้ หรือที่ไม่มีบัญชีไว้เลยก็มี


 ขบวนการเหล่านี้ทำให้การประกอบการนมโรงเรียนยุ่งยาก และซับซ้อน เกิดช่องว่างให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น รวมถึงการเรียกรับผลประโยชน์


กลุ่มผู้ประกอบการโรงนมในกิจการนมโรงเรียนเคยร้องเรียนถึง รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์มาแล้ว แต่ปัญหาก็ยังดำรงอยู่ และยังมาซ้ำร้ายเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดสรรพื้นที่ผลิต-จำหน่ายในปีนี้แทรกซ้อนเข้ามาอีก

“อยากเรียกร้องให้ รอ.ธรรมนัส เข้ามาดูปัญหาตรงนี้ รื้อระบบที่ส่อว่าจะทุจริต หรือเปิดช่องให้มีการเรียกรับ สร้างมาตรฐานกลางที่ไม่ต้องมารื้อ หรือออกประกาศใหม่กันทุกปี”


เปิดเทอมปีนี้น่าจะได้ยินเสียงเด็ก-ผู้ปกครอง คร่ำครวญ “นมโรงเรียนหายไปไหน ใครงาบไปกินหรือเปล่า

 #นายหัวไทร

 #ทำเฒ่าเรื่องเพื่อน

 #นมโรงเรียน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น