ตัวแทนผู้ประสบอุทกภัยนราฯ3อำเภอกว่า 1,000คน รวมตัวศาลากลางยื่นหนังสือ ปธ.กรรมาธิการกฏหมายให้จี้พ่อเมืองทบทวนได้เงินเยียวยาไม่เป็นธรรม(มีคลิป) อ่านรายละเอียดข่าวในเว็ปไซต์ปลายด้ามขวานชายแดนใต้
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 25 พ.ค.67 ได้มีตัวแทนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 อำเภอของ จ.นราธิวาส ประกอบด้วย อ.รือเสาะ อ.ระแงะและอ.เมืองนราธิวาส จำนวนกว่า 1,000 คน ที่ประสบอุทกภัยอย่างหนักในรอบ 50 ปี เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. ถึง 28 ธ.ค.66 ที่ผ่านมา และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยา โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ได้รับเยียวยาเลย
จากการตกหล่นสำรวจที่ไม่มีรายชื่อ และ กลุ่มที่ได้รับเยียวยาแต่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งๆที่เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยเหมือนกัน โดยบางรายได้รับเงินเยียวยาสูงสุด 77,000 บาท และได้รับเงินเยียวยาน้อยสุดเพียง 100 บาท ที่ไม่มั่นใจต่อกฏเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ ที่มีนางวิชชุเวช เอียดเต็ม เป็นแกนนำ และได้มีผู้ประสบอุทกภัยสลับสับเปลี่ยนกันขึ้นระบายความในใจผ่านเสียงขยายเสียง ซึ่งบางช่วงบางตอนกินใจจนได้รับเสียงตบมือกึงก้อง
และการรวมตัวของชาวบ้านในครั้งนี้ทราบว่า จะมีนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการ หลังทราบเรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้าน จึงได้เดินทางมาติดตามชาวบ้านที่ไม้ได้รับความเป็นธรรมจากการเยียวยาในครั้งนี้
ต่อมาเวลา 14.00 น.นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการ ได้เดินทางมาประชุมในเรื่องดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ศาลากลางหลังใหม่ จ.นราธิวาส ซึ่งก่อนการประชุมพบเห็นชาวบ้านเป็นจำนวนมากได้รวมตัวกัน และทราบว่าเป็นกลุ่มชชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการช่วยเหลือเยียวยาจากอุทกภัย นายกมลศักดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการ จึงได้เดินทางไปพบและได้รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น
จาก น.ส.นีซาวาตี ปะดอ ชาวหมู่บ้านฮูยงตันหยง ต.บางนาค อ.เมืองนราธิวาส ที่ได้สะท้อนปัญหาความไม่รับความเป็นธรรมจากการช่วยเหลือเยียวยา พร้อมทั้งได้ร้องไห้ออกมาต่อหน้านายกมลศักดิ์ ที่รู้สึกหดหู่และเศร้าสลดกับการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แถมผู้ที่ร่วมชุมชนบางคนนึกถึงชีวิตตนเองที่แทบจะเอาชีวิตไม่รอดจากปัญหาน้ำท่วมหนักที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ก็ได้พลอยร้องไห้ออกมาเช่นกัน
และเมื่อรับฟังปัญหาจากชาวบ้านแล้วเสร็จ นายกมลศักดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ได้รับหนังสือร้องทุกข์จาก นางวิชชุเวช เอียดเต็ม ซึ่งเป็นแกนนำ เพื่อให้ไปดำเนินการรื้อฟื้นพิจารณาการเยียวยาใหม่ให้กับชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แถมกลับกลายเป็นการสร้างความแตกแยกในหมู่บ้าน จากเรื่องได้รับการช่วยเหลือเยียวยามากน้อยไม่เท่ากัน
หลังจากนายกมลศักดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน รับหนังสือร้องทุกข์จากตัวแทนชาวบ้านแล้วเสร็จ ได้ขึ้นประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม ผวจ.นราธิวาส นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รอง เลขาธิการ ศอ.บต. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยอนุญาตให้ตัวแทนชาวบ้าน 15 คน เข้าร่วมประชุมด้วย โดยใช้เวลานากว่า 2 ชั่วโมง
ซึ่งในที่ประชุมมีการพิจารณา 2 ประเด็น คือ ความล่าช้าในการก่อสร้างบ้านพักของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากโกดังเก็บดอกไม้ไฟระเบิด เมื่อวันที่ 29 ก.ค.66 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ในโซนไข่แดง หรือจุดศูนย์ที่ตั้งของโกดังฯ ที่ได้รับความเสียหายทั้งหลัง 85 หลัง ล่าสุดหลังจากที่มีการพิจารณาปลดล็อคการว่าจ้าง ภายใน 1 เดือนนี้ โดยชาวบ้านสามารถหาผู้รับเหมาสร้างบ้านด้วยตัวเอง แต่ทางจังหวัดหรือ ปภ.จะเป็นผู้ดูแลวงเงินการก่อร้าง และจ่ายเป็นงวดๆ เพื่อป้องกันชาวบ้านนำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น
ส่วนประเด็นที่ 2 ทางว่าที่ร้อยตรีตระกูง โทธรรม ผวจ.นราธิวาส เมื่อรับฟังปัญหาจากตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุม จึงแจ้งให้ชาวบ้านทราบว่าเรื่องดังกล่าวจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจเรื่องที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมและจะมีการรื้อฟื้นการช่วยเหลือเยียวยา เพราะทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและตนเองไม่ทราบมาก่อนพึ่งทราบจากข่าวที่มีสื่อมวลชนนำเสนอ ซึ่งตนขอเวลาตรวจสอบขอให้ชาวบ้านทุกคนจะได้รับความเป็นธรรมอย่างแน่นอน
ด้านนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ประธานคณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าทางคณะกรรมาธิการได้มารับฟังปัญหา การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่ผ่านมา ซึ่งได้รับฟังปัญหามาพอสมควรแล้ว จึงเป็นที่มาของคณะกรรมาธิการมารับฟังคำชี้แจงจากผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส อยากรู้กระบวนการต่างๆในการจ่ายเงินเยียวยาให้กับชาวบ้าน ที่ตกสำรวจไม่ได้รับเลยกับชาวบ้านที่ได้รับแล้วแต่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
โดยวันนี้มีชาวบ้านหลายครัวเรือนที่มารอพบซึ่งมาจากหลักหลายอำเภอ ทั้งนี้ก็ได้รับฟังปัญหาจากชาวบ้านที่สะท้อนมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเข้าใจความรู้สึกและปัญหาที่ชาวบ้านเดือดร้อนอยู่ ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ 1.ลงทะเบียนแล้วไม่ได้รับเงินเยียวยาเลย 2. กลุ่มที่ได้รับเงินเยียวยาแล้วแต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือน้อยกว่าส่วนที่จะได้รับ ซึ่งมาวันนี้เราได้มาร่วมประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ศอ.บต.หน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาชี้แจงถึงกระบวนการต่างๆให้รับทราบว่ากระบวนการและหลักเกณฑ์เป็นอย่างไร แต่ปัญหาดูแล้วเป็นเรื่องของกระบวนการจัดการที่เริ่มต้นจากการสำรวจ จากการลงไปสำรวจตลอดจนรวบรวมเอกสารต่างๆ โดยคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัด และระดับอำเภอเป็นผู้ดำเนินการ
ซึ่งกระบวนการต่างๆอยู่ที่อำเภอ และส่งต่อมายังจังหวัดเพื่อพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาโดยผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องที่ ซึ่งมองว่าใช้ดุลยพินิจในการกำหนดตัวเลขที่เป็นตัวปัญหา ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทาง คณะกรรมาธิการและผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับฟังแล้วและสอบถามว่าทางจังหวัดได้รับทราบถึงปัญหาการจ่ายเงินเยียวยาก่อนหน้านี้หรือไม่ ซึ่งทางจังหวัดก็ได้แจ้งว่าได้รับทราบจากข่าวที่เสนอออกไป ซึ่งหลังจากนี้จะมีกระบวนการแก้ปัญหาโดยสรุปคือทางจังหวัดจะให้มีการทบทวนพิจารณาใหม่ทั้ง 2 กลุ่ม และในส่วนของคณะกรรมาธิการหลังจากนี้ต้องให้หน่วยงานระดับผู้บังคับบัญชาได้รับทราบ โดยจะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมายังคณะกรรมาธิการเร็วๆนี้
ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน เว็ปไซต์ปลายด้ามขวาน@ชายแดนใต้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น