รองนายก “ประวิตร” ห่วงใยประชาชน สั่งการ ศอ.บต. กรมประชาสัมพันธ์ หารือแนวเร่งด่วน ช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อนประชาชนเหตุโกดังดอกไม้เพลิงระเบิด ย้ำ ทุกส่วนราชการดูแลประชาชนให้ดีที่สุด (ชมคลิป)
จากกรณี เกิดเหตุโกดังเก็บดอกไม้เพลิงระเบิด เมื่อวันเสาร์ ที่ 29 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ที่หมู่ 1 ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ส่งผลให้ตลาดมูโนะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายสินค้าแหล่งใหญ่ที่สุดของอำเภอสุไหงโก-ลก ได้รับความเสียหาย ทั้งบ้านเรือนและร้านค้าผู้ประสบภัย จำนวน 290 ครัวเรือน และเบื้องต้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 121 ราย รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จำนวน 10 ราย กลับบ้านได้แล้ว 111เสียชีวิต 12 ราย โดยในจำนวนนี้รอพิสูจน์อัตลักษณ์อีก 2 ราย นั้น
ล่าสุด นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. แจ้งว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์ประชุมเป็นการเร่งด่วน เพื่อหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือจากเหตุดังกล่าว ด้วยการระดมสรรพกำลังและการเปิดรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมจากที่ภาครัฐสามารถให้ความช่วยเหลือได้ตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการให้ช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ ศอ.บต. ได้ประสานกรมสุขภาพจิต โดยนายแพทย์ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้สั่งการเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ โดยกำหนดให้โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เป็นโรงพยาบาลหลักในการรับผู้บาดเจ็บเข้ารับการรักษา และมอบหมายให้โรงพยาบาลใกล้เคียง เตรียมเตียงรองรับผู้ประสบภัย จำนวน 143 เตียง โดยโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ได้ประสานกับทีมช่วยเหลือเยียวยจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team: MCATT) ของโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงของจังหวัดนราธิวาส ที่เข้าประจำการ ณ ศูนย์พักพิงตำบลมูโนะ เพื่อประเมินสถานการณ์เบื้องต้นและดูแลจิตใจประชาชนตามแนวทางมาตรฐานตั้งแต่ช่วงเวลาหลังเกิดเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้มอบหมายให้โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 ส่งทีม MCATT ของหน่วยงานลงสนับสนุนการดำเนินงานดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างเต็มที่ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 เพื่อประชุมวางแผนช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต และบูรณาการความช่วยเหลือร่วมกับทีมจากสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส และทีม MCATT จากโรงพยาบาลในพื้นที่เกิดเหตุและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
สำหรับกรณีการให้ความช่วยเหลือเพื่อเป็นการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบบ้านเรือนเสียหาย และบางส่วนเสียชีวิต มีแนนวทางการช่วยเหลือ 2 ช่องทาง คือ
1.จากสำนักนายกรัฐมนตรีโดยกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้ กรณีเสียชีวิตค่าจัดการศพ รายละ 50,000 บาท เงินทุนเลี้ยงชีพแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ครอบครัวละ 30,000 บาท เงินทุนเลี้ยงชีพครอบครัวผู้เสียชีวิต บุตรอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ อีกครอบครัวละ 50,000 บาท ที่มี กรณีบาดเจ็บ เงินทุนเลี้ยงชีพผู้บาดเจ็บสาหัส ราบละ 30,000 บาท เงินทุนเลี้ยงชีพผู้บาดเจ็บทั่วไป รายละ 15,000 บาท บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ค่าวัสดุในการก่อสร้าง/ซ่อมแซมบ้านเรือที่เสียหาย ตามความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินหลังละ เสียหายทั้งหลัง (เกิน 70%) 230,000 บาท เสียหายมาก (30%-70%) 70,000 บาท เสียหายน้อยกว่า (30%) 15,000 บาท ค่าเครื่องอุปโภค และเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็น (เฉพาะบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง และเสียหายมาก) ครัวเรือนละ 5,000 บาท
2. จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย กรณีบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ค่าวัสดุในการก่อสร้าง/ซ่อมแซมบ้านเรือที่เสียหาย ตามความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริง กรณีเสียหายทั้งหลัง ไม่เกินหลังละ 49,500 บาท กรณีเสียชีวิตช่วยเหลือรายละ 29,700 บาท หากผู้เสียชีวิตเป็นผู้นำครอบครัว จะให้การช่วยเหลือเพิ่มอีกรายละ 29,700 บาท
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น