โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัย มหิดล ร่วมกับ สมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนใต้ จัดเวทีสานเสวนา “ฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้”(มีคลิป)

 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัย มหิดล ร่วมกับ สมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนใต้ จัดเวทีสานเสวนา ฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้”(มีคลิป) 



       ประพันธ์  ฤทธิวงศ์  บก.เดลิมิเร่อร์ออนไลน์ ปลายด้ามขวานชายแดนใต้ /ภาพข่าว/รายงาน

(ชมคลิป) พระสิริจริยาลังการ รองเจ้าคณะภาค๑๘ การสานเสวนา “ฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้”


(ชมคลิป) อา่จารย์ ดร สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ หน. โครงการสานเสวนา ฯให้สัมภาษณ์ การจัดเวทีสานเสวนา “ฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้”


(ชมคลิป)นายอับดุลการีม อัสมะแอ อดีตประธานสภาประชาสัมคมชายแดนใต้ให้สัมภาษณ์ “ฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้”


ประมวลภาพโครงการ “สานเสวนา เพื่อฟื้นฟู พุทธร้าง-ถดถอย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
  (คลิกชมภาพ)









      เมื่อวันที่  19 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมจะบังติกอ ชั้น 2 โรงแรมซีเอส ปัตตานี    สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล  นำโดยอาจารย์ดอกเตอร์ สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์  หัวหน้าโครงการสานเสวนาฯ ร่วมกับ สมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนใต้โดย นายพงษ์ศักดิ์  พรหมสัง ประธานสมาพันธไทยพุทธจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กล่าวต้อนรับและวัตถุประสงค์ การจัดเวทีสานเสวนาเพื่อได้ข้อเสนอแนะ “ฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ภายใต้โครงการสานเสวนาเพื่อฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 2





    โดยมีพระสิริจริยาลังการ รองเจ้าคณะภาค ๑๘ ตัวแทนพี่น้องชาวพุทธ และมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ อาทิเช่น  ศอ.บต. และ กอ.รมน. ภาคประชาสังคม ตลอดจนตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ประสบการณ์และแนวทางการแก้ปัญหาความถดถอยในด้านต่างๆของชุมชนพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้







     โดยอาจารย์ ดร.สุภาสเมต  ยุนยะสิทธิ์  หัวหน้าโครงการวิจัย -สานเสวนาฯ และ ดร.พลธรรม์  เศียรเมฆัน  จันทร์คำ   ได้นำเสนอข้อสรุปจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่ผ่านมา (เท้าความถึงข้อมูลปี  2563 ปี2564 ปี2565  ซักถามข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสรุปสำคัญของการลงพื้นที่เก็บข้อมูล

              ทั้งนี้จึงได้จัดให้มีเวทีเสวนา  “บอกเล่าเรื่องราวชาวพุทธชายแดนใต้ พี่น้องพุทธอยู่กันอย่างไรในห้วงเวลาเกือบ 2 ทศวรรษแห่งความรุนแรง” โดยมีผู้ร่วมการเสวนา  นาย พงษ์ศักดิ์  พรหมสัง  ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนภาคใต้  ผอ.กรีฑา  แดงดี  รองประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดนราธิวาส   นายประพันธ์  ฤทธิวงศ์  บรรณาธิการ เคลิมิเร่อร์ออนไลน์ปลายด้ามขวานชายแดนใต้ (ตัวแทนสื่อพุทธชายแดนใต้) และนางสาว ลม้าย มานะการ  เครือข่ายชาวพุทธจังหวัดปัตตานี

         อาจารย์ ดร.สุภาสเมต  ยุนยะสิทธิ์  เปิดเผยว่า ประชาชนชาวพุทธในจังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบฯที่ดำเนินมากว่า 18 ปี การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง

สถานการณ์ชาวพุทธในจังหวัดชายแดนใต้และมุมมองของชาวพุทธในสามจังหวัดชายแดนใต้ต่อการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุข ระบุว่า ชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับผลกระทบกว้างๆอยู่ 3 ประเภท

ได้แก่ 1) ผลกระทบทางกายภาพและด้านจิตใจ 2) ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและการหาเลี้ยงชีพ 3) ผลกระทบทางด้านสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ไทยและความเป็นพุทธ กล่าวคือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้รูปแบบวิถีชีวิตพุทธดั้งเดิมนั้นเปลี่ยนแปลงไป


     นอกจากผลกระทบทางตรงเหล่านี้ ชาวพุทธยังรู้สึกว่า รัฐให้สิทธิประโยชน์บางประการแก่ชาวมุสลิมที่ได้รับผลกระทบ เช่น มีมาตรการชดเชย ฟื้นฟูเยียวยา และมอบโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา ในขณะที่ชาวพุทธที่ได้รับลกระทบยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงมี รวมถึงชาวพุทธที่ต้องย้ายถิ่นออกนอกพื้นที่เพื่อความปลอดภัย ยังไม่ได้รับโอกาสที่จะกลับสู่ ถิ่นฐานเดิมโดยได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ พร้อมทั้งมีหลักประกันในด้านความปลอดภัย





        อาจารย์ ดร.สุภาสเมต ได้กล่าวอีกว่า    สำหรับ โครงการสานเสวนาเพื่อฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่ให้ชาวพุทธที่เป็นสมาชิกชุมชนที่กำลังประสบกับสถานการณ์ดังกล่าวได้เข้ามาลกเปลี่ยน สร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในมุมมองของคนในชุมชน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ตลอดจนออกแบบแผนการทำงานอันเป็นรูปธรรมที่จะนำไปใช้ในการฟื้นฟูชุมชนพุทธที่กำลังถูกทิ้งร้างแถดถดถอยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 นอกจากนี้โครงการสานเสวนานี้ยังต้องการสร้างพื้นที่เพื่อให้ชาวพุทธในจังหวัดชายแดนใต้ได้สื่อสารความต้องการและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ ที่กำลังดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอีกด้ว

โดยมีวัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาทำความเข้าใจถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ชุมชนพุทธในสามจังหวัดชายแดนใต้ (ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และ

นราธิวาส) ประสบปัญหาเรื่องความถอยของจำนวนประชากรและวิถีชีวิตแบบพุทธ

2. เพื่อทำความเข้าใจวิธีการและอุปสรรคปัญหาในการฟื้นฟูชุมชนพุทธเหล่านั้นให้กลับมาเป็นชุมชนวิถีพุทธที่

เข้มแข็งดังเดิม

3. เพื่อแสวงหาแนวทางอันเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาชุมชนร้างและวิถีพุทธที่ถดถอย และสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานตามแนวทางเหล่านั้นระหว่างสมาชิกชุมชนพุทธกรณีศึกษา องค์กรตัวแทนชาวพุทธในจังหวัดชายแดนใต้ และหน่วยงานภาครัฐและอื่นๆ


  




  “
วันนี้นับเป็นการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมให้กับปัญหาที่มีหลายมิติและต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆทั้งในและนอกสังคมชายแดนใต้  จึงขอขอบพระคุณ ทุกๆภาคส่วน มา ณ โอกาสนี้ด้วย  อาจารย์ ดร.สุภาสเมต  ยุนยะสิทธิ์  หัวหน้าโครงการวิจัย -สานเสวนาฯ กล่าว




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น