โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม. มหิดล ลงพื้นที่ทำวิจัย สัมภาษณเชิงลึกชาวพุทธในพื้นที่ อำเภอรือเสาะ เพื่อฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอย (ชมคลิปสัมภาษณ์)

 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม. มหิดล ลงพื้นที่ทำวิจัย สัมภาษณเชิงลึกชาวพุทธในพื้นที่ อำเภอรือเสาะ  เพื่อฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอย (ชมคลิปสัมภาษณ์)



  ประพันธ์  ฤทธิวงศ์  บรรณาธิการปลายด้ามขวานชายแดนใต้/รายงาน


ชมคลิป 
การสานเสวนาเพื่อฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้   ระยะที่ 1

    เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566  อาจารย์ ดอกเตอร์.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ และ ดอกเตอร์ พลธรรม์ เศียรเมฆัน จันทร์คำ แห่งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม. มหิดล ลงพื้นที่ ชุมชนบ้านท่าเรือ  หมู่ 1 ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกชาวพุทธในพื้นที่  ตามโครงการสานเสวนาเพื่อฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ผอ.กรีฑา แดงดี  ตัวแทนสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดนราธิวาส  นายประพันธ์  ฤทธิวงศ์ บรรณาธิการสื่อออนไลน์ปลายด้ามขวานชายแดนใต้   ผู้นำท้องถิ่น  และประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับ


      สำหรับชุมชนบ้านท่าเรือ เมื่อหลายสิบปีก่อน  อดีตเคยรุ่งเรือง  มีคนเชื้อสายจีนประกอบอาชีพค้าขาย มีร้านทองและ  เป็นจุดศูนย์รวมการค้าขายที่ท่าเรือแม่น้ำสายบุรี  มีโรงฉายภาพยนตร์  และเป็นจุดศูนย์รวมการจัดกิจกรรมทั้งไทยพุทธ มุสิลิม อยู่กันแบบพหุวัฒนธรรม 

       หลังจากได้เกิดสถานการณ์ เหตุการณ์ไม่สงบ กลายเป็นชุมชนพุทธร้าง-ถดถอย เมื่อปี 2555  11 ที่ผ่านมา ได้มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนถล่มยิงอาวุธสงคราม  เป็นเหตุให้ทหารและได้รได้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

        อาจารย์ดอกเตอร์  สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์  สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม. มหิดล  เปิดเผยว่า   สำหรับ โครงการสานเสวนาเพื่อฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้   ระยะที่ 2 ซึ่งมีชุมชนไทยพุทธถดถอยจำนวน 14 ชุมชน  ได้การลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกชาวพุทธในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 3 ชุมชน ยะลา 5 ชุมชน นราธิวาส 2 ชุมชน ระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2566 เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ความเป็นอยู่ของชาวพุทธ ซึ่งพบว่ามีชุมชนพุทธถดถอยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ 























  อาจารย์ดอกเตอร์  สุภาสเมต กล่าวว่า  โดยในเชิงปริมาณนั้นมีประชากรชาวพุทธลดน้อยลงหลายพื้นที่ บางชุมชนสูญหายไปจากพื้นที่ ส่วนในเชิงคุณภาพนั้นพบช่องว่างเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การศึกษา สุขภาพ การเยียวยา เป็นต้น และยังประสบปัญหาการจัดการความรู้ชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้นำจิตวิญญาณ ความสามัคคี การอาชีพ  แม้เครือข่ายชาวพุทธกำลังพยายาม




ส่งเสียงเพื่อเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานและพยายามช่วยเหลือกันเอง แต่ก็ไม่สามารถทำได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ด้วยช่องว่างดังกล่าวมานี้ จำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวพุทธในพื้นที่ชายแดนใต้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งในหมู่ชาวพุทธและการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

 



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น