โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

เลขาธิการ ศอ.บต. ต้อนรับ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทยแลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ จชต.(มีคลิป)

 เลขาธิการ ศอ.บต. ต้อนรับ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทยแลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ จชต.(มีคลิป)




ยะลา -เลขาฯ ศอ.บต. ต้อนรับ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ในโอกาส เยือน ศอ.บต. เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วันนี้ (11 กรกฎาคม 2566) ที่ ห้องประชุมรับรอง ชั้น 3 อาคารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จ.ยะลา พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้การต้อนรับ H.E. Mr.Pedro Zwahlen (นายเปโดร สวาห์เลน) เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิส(สวิตเซอร์แลนด์) ประจำประเทศไทย


ในโอกาส เยือน ศอ.บต. เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ ศอ.บต. โดยมี นางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กรมประชาสัมพันธ์ นายวิสันติ์ ประเสริฐศรี ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กระทรวงแรงงาน นางสาวเยาวภา อินชะนะ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นางเปรมวดี สันหนู ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กระทรวงพาณิชย์ นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน นายอิสระ ละอองสกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาเพื่อความมั่นคง ตลอดจน เจ้าหน้าที่ บุคลากร ศอ.บต. ร่วมให้การต้อนรับ



ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านภารกิจงานของ ศอ.บต. พร้อมทั้งให้ความสนใจในเรื่องการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ศอ.บต. ได้มีการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม พุทธ คริสต์













รวมถึงมีพี่น้องไทยเชื้อสายจีน โดย ศอ.บต. ให้การดูแลอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตตามอัตลักษณ์ ศาสนาอิสลามมีการส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นมุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ อุมเราะห์ มีทีมแพทย์ไปคอยอำนวยความสะดวก ในขณะเดียวกันกิจกรรมสำคัญทางศาสนาพุทธ ศอ.บต. ก็ได้เข้าไปส่งเสริม ทุกศาสนาต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม เป็นสิ่งที่ ศอ.บต. เน้นมากที่สุด



เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ยังได้รับฟังการส่งเสริมด้านภาษาให้กับคนในพื้นที่ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษามลายูได้ แต่เมื่อเข้าโรงเรียนจะเรียนด้วยภาษาไทย และเพิ่มองค์ความรู้ในด้านภาษาอังกฤษ อาหรับ และภาษาอื่นๆ ซึ่งหากยิ่งสามารถสื่อสารได้หลายภาษาก็จะเป็นการยิ่งเพิ่มโอกาสในอนาคต ในส่วนของ ศอ.บต. มีธนาคารสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งมีการผลิตสื่อ ประยุกต์ ให้เด็กได้เรียนรู้ ทั้งหนังสือ สมุดภาพ ของเล่น สอดแทรกเป็นภาษาต่างๆ ทั้งไทย อังกฤษ มลายู และอาหรับ


นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องการเรียนการสอนแบบพหุภาษา โดยองค์กร Pestalozzi Children’s Foundation เป็นองค์กรสากลของสมาพันธรัฐสวิส ที่ทำงานสนับสนุนคุณภาพชีวิตให้กับเยาวชนด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเรียนการสอนแบบพหุภาษา ที่ผ่านมามีการส่งเสริมด้านการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนชาวลาหู่ ที่ จ.เชียงใหม่ ที่เริ่มต้นการเรียนด้วยภาษาลาหู่ และสอดแทรกด้วยภาษาไทย มีการเรียนควบคู่ทั้ง 2 ภาษา จนนักเรียนสามารถพูดทั้ง 2 ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว ข่าว..เจษฎา สิริโยทัย จ.ยะลา โทร.064-1265593

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น