โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2566

พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาค 4 ร่วมประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) พร้อมยืนยันว่า กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจะเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในอนาคต (มีคลิป)

    

พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาค ร่วมประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) พร้อมยืนยันว่า กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจะเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในอนาคต  (มีคลิป)

ประพันธ์  ฤทธิวงศ์ บก.ปลายด้ามขวาน@ชายแดนใต้/สล.3กลุ่มงานสื่อมวลชน การสื่อสารและเทคโนโลยี/รายงาน

   เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน  2566 ที่ ห้องประชุม น้ำพราว 1 โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี        แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ กล่าวว่า การขับเคลื่อนในคณะสล. 3 ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไป ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ คาดว่าไม่แตกต่างจากนโยบายเดิมที่เป็นยุทธศาสตร์เดิมที่ทำอยู่ นั่นคือการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเรามีจุดยืนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ไม่ว่ารัฐบาลไหน ช่วงการเปลี่ยนผ่านของรัฐบาลในขณะนี้ เราก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำ ให้ข้อมูลกับทุกฝ่าย ประชาชนเองก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพื่อเกิดความสันติสุขในพื้นที่

                                      



                                             

                                ชมคลิป แม่ทัพภาค4  สรุปผลการประชุม สล.3 พร้อมมอบนโยบาย

                                  

                           ชมคลิป แม่ทัพภาค4ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลังจากการประชุม สล.3








    


เมื่อวันที่
8 มิถุนายน  2566 ที่ ห้องประชุม น้ำพราว 1 โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ พร้อมด้วย พลโท อุทิศ อนันตนานนท์ แม่ทัพน้อยที่ 4, พลตรี ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า พลตรี วรเดช เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 และคณะ ร่วมประชุมกับคณะประสานงานระดับพื้นที่ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2566 เพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน ความคืบหน้าการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับทราบความคิดเห็นของทุกฝ่าย ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมทั้งหมด 8 กลุ่ม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของสงขลา เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้















                             

     ในที่ประชุม มีหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส รายงานผลการดำเนินงานของคณะพูดคุยระดับพื้นที่ในการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยภาพรวมทุกพื้นที่มีการนำเสนอความต้องการภายใต้กรอบ JCPP ทั้งด้านการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่, ด้านสิทธิมนุษยชนและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง, ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา, ด้านการศึกษา, การแสวงหาทางออกทางการเมือง, การจัดเวทีการแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความหวาดระแวง และการสร้างความเข้าใจตรงกันถึงความคืบหน้าของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข นอกจากนี้ยังมีการแสดงความคิดเห็นจากผู้นำศาสนาในเรื่องการดูแลความปลอดภัยในการประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ในพื้นที่








          ทั้งนี้ ได้มีการประชุมและตัวแทนคณะประสานงานระดับพื้นที่ สล.3 ใน 4 จังหวัดชายแดนใต้

-รูปแบบบริหารพื้นที่ กรอบหลักจัดเวทีเสริมสร้างความเข้าใจและการรับรู้กระบวนการพูดคุยสันติสุข -พูดคุยแลกเปลี่ยน - บทบาท สล.3 เป้าหมาย 4 จ.CSO เกี่ยวกับการขับเคลื่อนสังคมสันติสุข  -ความคิดเห็นด้าน พหุวัฒนธรรม-ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน-ด้านอาชีพของพี่น้องประชาชน และ-ด้านความยุติธรรมสิทธิและเสรีภาพ

      สำหรับ การเปิดเวทีการประชุมในของพื้นที่ สล.3  ใน4 จังหวัดชายแดนใต้  เพื่อรับทราบปัญหาต่างๆ












และสรุปปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนต่าง ๆ เพื่อนำเสนอกอ.รมน.แม่ทัพภาค4 ในการประชุม สล.3 การแต่งตั้ง ตัวแทน โดยขอให้ กอ.รมน. แม่ทัพภาค4มีหนังสือถึงจังหวัดต่างๆ ชายแดนใต้ ในประเด็นที่ กอ.รมน.แม่ทัพภาค4ในการแต่งตั้งตัวแทน ทุกจังหวัด จังหวัด 3-4 คน สล.3 ในจังหวัดชายแดนใต้ จัดให้มี  การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของศาลากลางจังหวัดชายแดนใต้ โดย กอ.รมน. แม่ทัพภาค4 มีหนังสือ แจ้งให้ผู้ว่าราชการฯ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดสงขลา ได้รับทราบ เพื่อเป็นตัวแทนของ สล.3 ชายแดนใต้ เข้าร่วมประชุมทุกเดือนเพื่อจะได้นำปัญหาต่างๆที่ พ่อแม่ พี่น้องใน จังหวัดชายแดนใต้ได้รับผลกระทบและได้รับความเดือนร้อนในปัญหาต่างๆ และนำปัญหาเล็กน้อย ชี้แจงให้หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และสามารถแก้ไข้ได้











           ซึ่งในเวทีการประชุม ของศาลากลางฯในจังหวัดชายแดนใต้ได้ทันที และปัญหาใหญ่ๆ ที่ยังแก้ไขไม่ได้ ก็นำเสนอ กอ.รมน.แม่ทัพภาค4ได้ในการประชุม สล.3 ในการประชุม ต่อไป ปัญหาเล็กๆให้สล.3 เป็นสะพานเชื่อมกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ได้รวดเร็ว ประชาชน เกิดการยอมรับและชื่นชม สล.3และ กอ.รมน. แม่ทัพภาค4ที่ขับเคลื่อนหาแนวทางต่างๆ เพื่อแก้ไขได้รวดเร็ว ตอบโจทย์ประชาชนได้รวดเร็ "รู้คน รู้งาน รู้พื้นที่" และ รู้ใจชาวประชา ชายแดนใต้ และน้อมนำ พระราชดำรัส ร.9 "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" เพื่อมวลมนุษยชาติได้





        แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ กล่าวว่า การขับเคลื่อนในคณะสล. 3 ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไป ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ คาดว่าไม่แตกต่างจากนโยบายเดิมที่เป็นยุทธศาสตร์เดิมที่ทำอยู่ นั่นคือการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเรามีจุดยืนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ไม่ว่ารัฐบาลไหน ช่วงการเปลี่ยนผ่านของรัฐบาลในขณะนี้ เราก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำ ให้ข้อมูลกับทุกฝ่าย ประชาชนเองก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพื่อเกิดความสันติสุขในพื้นที่



         ส่วนประเด็นการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และอาจจะมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างการปฏิบัติงาน ไม่ได้มีความกังวลแต่อย่างใด เพราะเราพร้อมที่จะตอบคำถามกับทุกภาคส่วนว่า ทำไมจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังต้องการการดูแลรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ทหารอยู่ และในวันนี้ก็จะได้นำคำแนะนำ ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนไปแก้ไข ปรับปรุงการทำงานดูแลกลุ่มเปราะบาง ผู้นำศาสนา หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเหตุความรุนแรงในพื้นที่ และที่สำคัญคือการอยากให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่ ได้รับทราบข้อมูล ทุกข้อสรุปของการประชุมหารือ ให้พร้อมเดินหน้า นำไปสู่การหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเป็นการขับเคลื่อนงาน การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุยสันติสุขต่อไป


       ด้าน พลตรี ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะ หนึ่งในคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ยืนยันว่า ไม่ว่าทิศทางทางการเมือง หรือรัฐบาลจะมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใด คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) ยังคงเดินหน้าหารือความคิดเห็นต่าง ๆ ปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในอนาคต และต้องตรงกับความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการเปิดเวทีการพูดคณะของคณะ สล. 3 มีความคืบหน้าไปมากแล้ว นับเป็นกลไกที่มีความแข็งแกร่ง พร้อมยืนยันว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขสามารถเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน



          ส่วนข้อจำกัดในประเด็นที่ว่ารัฐบาลไทยไม่มีความจริงใจ ในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข พลตรี ปราโมทย์ ยืนยันว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข และมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในทุกกลุ่มเวทีการพูดคุยมาตลอด ไม่มีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด เพราะเชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธีได้ คือกลไกที่ฝ่ายจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการและต้องคำนึงถึงประโยชน์ของทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม

 

   


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น