โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566

เริ่มแล้ว 9​ -​ 15​ เม.ย.2566​ นี้​ สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสงขลา จัดโครงการเทศกาลประเพณีไหว้รับเทียมดา เมืองสงขลา ชาวตำบลเขารูปช้างเดินทางมาร่วมรับ-ส่งเทวดา เชื่อคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง (ชมคลิป)

 เริ่มแล้ว   9​ -​ 15​ เม.ย.2566​ นี้​ สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสงขลา จัดโครงการเทศกาลประเพณีไหว้รับเทียมดา เมืองสงขลา ชาวตำบลเขารูปช้างเดินทางมาร่วมรับ-ส่งเทวดา เชื่อคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง (ชมคลิป)



วันนี้ (9 เม.ย.66) ที่ลานวัฒนธรรมบ่อศรีนุ้ย บ้านเหล้าบ้านญวน ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มอบหมายให้นายเอกชัย เลิศวิบูลย์ลักษณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดโครงการเทศกาลประเพณีไหว้รับเทียมดา เมืองสงขลา โดยมี นายชัยวุฒิ บัวทอง นายอำเภอเมืองสงขลา นายสุรเชษฐ์ ประยืนยง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสงขลา นางเลขา สุวรรณชาตรี วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว






ด้วยสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสงขลา ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมตำบลในเขตอำเภอเมืองสงขลา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาในเขตอำเภอเมืองสงขลา ได้กำหนดจัดโครงการเทศกาลประเพณีไหว้รับเทียมดา เมืองสงขลา ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อเทวดาที่ปกป้องรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุขในรอบหนึ่งปี เพื่อทำพิธีไหว้รับเทียมดาหรือรับเทวดาองค์ใหม่ที่จะคุ้มครองให้มีชีวิตที่ดี ให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งเพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว และเป็นการสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะพร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย





นายสุรเชษฐ์ ประยืนยง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสงขลา กล่าวว่า เทศกาลประเพณีไหว้รับเทียมดา เป็นการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม โดยมีพิธีบวงสรวง 4 เจ้าเมือง คือ เจ้าเมืองสงขลา เจ้าเมืองปัตตานี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และเจ้าเมืองพัทลุง เดิมที่ลานวัฒนธรรมบ่อศรีนุ้ยเคยเป็นที่ชุมนุมของ 4 เจ้าเมือง เมื่อครั้งพม่าจะยกทัพมาตีสงขลา เจ้าเมืองทั้ง 4 หัวเมืองก็ได้มาประชุมเพื่อวางแผนดำเนินการสู้รบ สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ได้ดำเนินการทั้งหมด 6 ตำบลของอำเภอเมืองสงขลา ประกอบด้วย ในวันนี้ 9 เม.ย.66 ตำบลเขารูปช้าง ที่ลานวัฒนธรรมบ่อศรีนุ้ย วันที่ 12 เม.ย.66 ตำบลเกาะยอ ณ วัดเกาะยอ วันที่ 13 เม.ย.66 ตำบลบ่อยาง ในเขตเทศบาลนครสงขลา ในวันที่ 14 เม.ย.66 ตำบลพะวง, ตำบลเกาะแต้ว และวันที่ 15 เม.ย.66 ตำบลทุ่งหวัง ทั้งนี้นอกจากพิธีบวงสรวงแล้ว ยังมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยมีพระสงฆ์จากวัดแช่มอุทิศและแม่ชีจากวัดเกาะถ้ำร่วมในพิธีด้วย




สำหรับประเพณีไหว้รับเทียมดา เป็นประเพณีที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าในหมู่บ้านจะมีเทวดามาคุ้มครองรักษาชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข และความเป็นสิริมงคลในหมู่บ้าน โดยต้นกล้วยและธงสามเหลี่ยมที่ทำด้วยกระดาษสีขาว ถือเป็นสัญลักษณ์ของการรับและส่งเทวดา พร้อมเขียนรายชื่อคนในครอบครัวของตนไว้ในธงสามเหลี่ยมและนำมาปักไว้ที่ต้นกล้วย เชื่อกันว่าเทวดาจะมารับเก็บไป





ความเป็นมาประเพณีไหว้รับเทียมดา หรือ เขาเทียมดา ซึ่งพุทธมารดาปรากฏนิมิตกาย ให้มวลมนุษย์โลกผู้มีใบบุญวาสนา บารมี ได้พบเห็นเทพ เทวา เทวดา คนธรรพ์ ยักษี ยักษา เปรต อสูรกาย ได้รับรู้มาชุมชุน รับบุญทานทั้งหลายจากมนุษย์ เป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนเชิงเขาเทียมดา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มาแต่อดีตซึ่งไม่สามารถประมาณได้ว่าเริ่มมีมาแต่เมื่อใด แต่ลักษณ์ของพิธีกรรมและกิจกรรมจะมีความสอดคล้องกับความเชื่อ เรื่องการขอพร ขอความคุ้มครองจากเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งลี้ลับและธรรมชาติ เป็นความเชื่อที่มีต่อเนื่องสอดคล้องมาตั้งแต่สมัยมนุษย์ยุคโบราณ และศาสนาพราหมณ์ที่มีพิธีการทางความเชื่อเรื่องการส่งส่วย การบูชายัญ มาจนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์กรมศิลปากรยืนยันว่าเขาเทียมดาเคยเป็นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดสงขลามีการพบขวานหินโบราณที่บ้านสวนตูล ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา . ณิชารีย์ หนูบุญ/ข่าว ทีปรกร จันทร์ชนะ/ภาพ 9 เม.ย.2566 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น