โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ดร.เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ หน.พรรคพลังสังคมใหม่ ใช้ สโลแกน เปลี่ยนพรรคใหม่ เปลี่ยนคนใหม่ เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ พบปะชาว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ชูประเด็นใช้โซลาร์เซลล์แก้ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร นอกเหนือจากด้านเศรษฐกิจ ศาสนา การเมืองและสังคม (ชมคลิป)



ดร.เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ หน.พรรคพลังสังคมใหม่ ใช้ สโลแกน เปลี่ยนพรรคใหม่ เปลี่ยนคนใหม่ เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ พบปะชาว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ชูประเด็นใช้โซลาร์เซลล์แก้ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร  นอกเหนือจากด้านเศรษฐกิจ ศาสนา การเมืองและสังคม (ชมคลิป)

 






วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่หอประชุมเอนกประสงค์ อบต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ดร.เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ หน.พรรคพลังสังคมใหม่ ลงพื้นที่เพื่อพบปะชาวบ้านนำสิ่งดีๆที่เป็นนโยบายพรรคมานำเสนอ โดยกล่าวว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง สุขสงบ และสวยงาม มีอาชีพและฐานะมั่นคง ยั่งยืน แต่ความเหลื่อมล้ำเป็นบ่อเกิดหรือปัจจัยเสริมของอีกหลายปัญหาในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ศาสนา การเมือง สังคม ที่จะต้องแก้ไขอย่างจริงจัง โดยแก้ไขผ่านนโยบายที่สามารถจับต้องได้จริง พรรคพลังสังคมใหม่ จะยึดมั่นในอุดมการณ์ของการบริหารพรรคภายใต้กฎหมายและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข ยึดผลประโยชน์ของชาติ ประชาชนเป็นหลัก จึงได้กำหนดนโยบาย ด้านเศรษฐกิจ-การเมือง- สังคม


เช่น 1.ทุนกู้วิกฤตธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย (เฒ่าแก่น้อย)ให้เข้าถึงแหล่งทุนในวงเงินไม่เกิน 300,000 บาท ต่อ 1 ผู้ประกอบการ ลดปัญหาเงินกู้นอกระบบ

2.รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า (Universal Basic

Income) ได้รับเงินเดือนๆ ละ 3,000 บาท เพื่อแก้ปัญหาความยากจน

3. นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ติดเครดิดบูโร (แบล็คลิส)

อกจากระบบโดยให้ทุกคนสามารถข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย

4. ทารกแรกเกิดได้สิทธิ์รับเงินอุดหนุน 4,000 บาท

ต่อเดือน จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์

5.ไซโล 1 จังหวัด เพื่อเก็บพืชผลทางการเกษตร

ก่อนแปรรูป ให้เป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดเพื่อแก้ปัญหาพีชผลการ เกษตรล้นตลาดทำให้ราคาตกต่ำและประกันราคาพืช

ผลทางการเกษตรทุกชนิด

6. ส่งเสริมจัดสรรที่ดินของรัฐที่ว่างเปล่าให้ประชาชน

ทุกครอบครัวที่ไม่มีที่ดินทำกิน เช่น เช่าที่ดินทหาร ที่ราชพัสดุ ที่ป่าอนุรักษ์เสื่อมโทรม ฯลฯ หรือที่ดินที่ประชาชนครอบครอง

อยู่แล้ว เช่น ภบท.5-6-11 สปก.4-01 ฯลๆ โดยออกโฉนดที่ดินนำมาจัดสรรใหม่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อครัวเรือน

7. ผลักดันและส่งเสริมให้ออก พรบ. อนุรักษ์และ

พัฒนาไก่พื้นเมืองและนำไก่ชน ไก่สวยงาม ส่งออกไปขายต่างประเทศ

8.แยกกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นออก

จากระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเป็นกระทรวงส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การกระจายอำนาจสู่ อปท.โดยสภาท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น ช่วยคิดช่วยทำในระบบ บ้าน วัด ชุมชน

9. การส่งเสริมพัฒนาการกีฬา และการท่องเที่ยว

เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ

นโยบายด้านความมั่นคง

1.แก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้อย่างยั่งยืน โดยการตั้งคณะเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้งในทุกมิติ สร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประตูเชื่อม

เศรษฐกิจไทยกับอาเซียน เช่น โครงการส่งเสริมฉลากฮาลาล เบอร์ 5 เศรษฐกิจอาหารฮาลาลสู่ครัวโลก เพื่อนำรายได้เข้า

ประเทศ เกษตรกรในพื้นที่สร้างอาชีพฟาร์มโคเนื้อขุนส่งขายมาเลเขีย บรูไน และประเทศอื่นๆ

2.แก้ไขปัญหายาเสพติดและสารพิษ ให้โอกาสผู้ติดยาเสพติดได้เข้ารับการบำบัดรักษา รวมถึงดูแลช่วยเหลือให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ทุกคนสามารถ

เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ โดยไม่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ พัฒนาและยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อลดทอนศักยภาพ ความสามารถพื้นที่การผลิตยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน และการลักลอบสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ สนับสนุน การสกัดกั้นยาเสพติดให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อลดตัดโอกาสในการลักลอบลำเลียงยาเสพติดเพื่อการแพร่กระจายและส่งออกทางระบบคมนาคมขนส่ง พัสดุภัณฑ์ ทางออนไลน์ ผู้ผลิต ผู้ค้ารายใหญ่ต้องรับโทษทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด

 

นโยบายด้านการศึกษา จะต้องปฏิรูปการศึกษาอย่างครบวงจร ทุกมิติอย่างจริงจังเพื่อลดภาระของผู้ปกครอง ยกระดับการศึกษาด้านอาชีวศึกษามากยิ่งขึ้น ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน ประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่นต่อการศึกษาและเน้นการศึกษา เพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพอย่างแท้จริง ลดเวลาเรียนให้เหมาะสมกับตามสภาพสิ่งแวดล้อมภูมิภาค ทำให้การบ้านนักเรียนลดลง

แต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 

 

"เรื่องการเกษตร โดยเฉพาะปัญหาความเดือดร้อนเรื่องน้ำ เป็นเรื่องที่จะต้องเร่วรีบดำเนินเพื่อปากท้องของพี่น้องประชาชน ทางพรรคพลังสังคมใหม่มีนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนด้วยเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซล่าร์เซลล์ ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก เงื่อนไขเพียงแต่ละหมู่บ้านรวมกลุ่มกัน 4 คน ใช้เพียง สำเนาบัตร ปชช. สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารสิทธิที่ดิน แล้วนำไปยื่นพลังงานในแต่ละจังหวัด ก็จะได้ชุดปั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด ประกอบด้วย แผงโซล่าร์เซลล์ขนาดใหญ่ 9 แผง ปรับได้,ตู้อินเวอร์เตอร์ 1 ตู้, มอเตอร์ไดนาโม ขนาด 3 แรงม้า 1 เครื่อง, รถลากจูง 1 คัน ในราคาชุดละ 220,000 บาท สามารถที่จะแก้ปัญหาเรื่องน้ำให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี" ดร เชาวฤทธิ์ กล่าว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น