ถ้าตัดต่างด้าวออก “อุดรธานี-นครศรีธรรมราช-ปัตตานี” จะมี ส.ส.เพิ่มจังหวัดละ 1 คน นครศรีธรรมราชเป็น 10 คน
……..
หลังจากที่ประชุม คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.)มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เรื่องการนำจำนวนราษฎรที่ไม่มีสัญชาติไทย(ต่างด้าว)มาคิดคำนวณจำนวน
ส.ส.ที่แต่ละจังหวัดพึงมี และแบ่งเขตเลือกตั้ง หลังหลายฝ่ายมีความไม่สบายใจ
มีความเห็นที่แตกต่าง ทั้งจากประชาชน พรรคการเมือง
นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของ
กกต. ทำให้การทำงานของ กกต.เกิดความเคลือบแคลง
ควรจะมีแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
เสือปืนไว ศรีสุวรรณ จรรยา
เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินทันที
ขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
กรณีความไม่ชัดเจนของการแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต. โดยนับรวมคนที่ไม่ใช่สัญชาติไทย
ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
สืบเนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
(ฉบับที่ 1) พ.ศ.2564 ม.86 ประกอบการแก้ไข ม.26 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566
ว่าการกำหนดจำนวน ส.ส.ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และการแบ่งเขตเลือกตั้ง
ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งนั้น
หมายความถึงจำนวนราษฎรผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
หรือหมายความรวมถึงราษฎรที่เป็นคนต่างด้าวด้วยหรือไม่ อย่างไร
ซึ่งความไม่ชัดเจนของการแบ่งเขตเลือกตั้งเนื่องจาก
กกต.อ้างว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งรวมทั้งคนไทยและคนต่างด้าว
ศาลรัฐธรรมนูญคงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการพิจารณาข้อกฎหมาย
ซึ่งจะทัน 23 มีนาคมที่สภาจะหมดวาระ และเลือกตั้ง 7 พฤษภาคม ตามที่
กกต.กำหนดไว้หรือไม่ ก็ไม่อาจจะคาดเดาได้
ยิ่งถ้านายกรัฐมนตรีใช้อำนาจยุบสภาก็จะยิ่งหนักเข้าไปอีก แม้จะมีช่องทางให้
กกต.เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปได้ แต่น่าสนใจว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
จะกระทบต่อช่วงเวลาเลือกตั้ง
และเป็นการทอดเวลาต่ออายุรัฐบาลรักษาการไปอีกระยะหนึ่ง
หากศาลรัฐธรรมนูญ
พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดลงมาให้ตัดผู้ที่ไม่ใช่สัญชาติไทยออก (ต่างด้าว) ออกไป
ซึ่งมีตัวเลขอยู่ประมาณ 8 แสนคน อันจะทำให้ตัวเลขจำนวนประชากรบ้างจังหวัดลดลง
จำนวน ส.ส.ก็จะลดลงไปด้วย และจะไปเพิ่มจำนวน ส.ส.ให้กับบางจังหวัด
จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไปจะพบว่า
การตัดต่างด้าวออกไปจากตัวเลขการคำนวณแบ่งเขตเลือกตั้งจะทำให้จังหวัดเชียงใหม่เชียงราย
และตาก มี ส.ส.แบบแบ่งเขตลดไปจังหวัดละ 1 คน และจังหวัดที่จะได้เพิ่มจังหวัดละ 1
คนคืออุดรธานีนครศรีธรรมราช และปัตตานี...จังหวัดอื่นจะมีจำนวนส.ส. เท่ากับที่
กกต. แบ่งเขตไว้แล้ว
แน่นอนว่าสามจังหวัดนี้ คืออุดรธานี
นครศรีธรรมราช และปัตตานี เมื่อจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้น
กกต.ก็ต้องมาแบ่งเขตใหม่ทั้งหมด ซึ่งรูปแบบเขตเลือกตั้งก็จะเปลี่ยนไปจากเดิม
ว่าที่ผู้สมัครบางคนอาจจะไม่ได้ลงเขตเดิมที่ทำพื้นที่ไว้ก็เป็นได้
หรือบางคนอาจจะไม่ได้ลงสมัคร เนื่องจากเขตทับซ้อนกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น