โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566

“เจะอามิง โตะตาหยง” ความหวังของประชาธิปัตย์ กลับมายึด “นราธิวาส” คืน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ชมคลิป)

“เจะอามิง โตะตาหยง” ความหวังของประชาธิปัตย์ กลับมายึด “นราธิวาส” คืน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ชมคลิป)

……https://youtu.be/hVUsHgxjieg




“เจะอามิง โตะตาหยง” ความหวังของประชาธิปัตย์ กลับมายึด “นราธิวาส” คืน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นอีกสนามที่พรรคการเมืองใหญ่หวังแจ้งเกิด หรือรักษาฐาน ขยายฐานของพรรค แน่นอนว่า จะเป็นการสับประยุทธ์กัน 4-5 พรรค ทั้งประชาชาติ (เจ้าถิ่น) ประชาธิปัตย์ อดีตเจ้าถิ่นที่หวังกลับมายึดฐานที่มั่นคืน พรรคพลังประชารัฐ ที่คราวที่แล้ว แจ้งเกิดไปหลายท่าน พรรคภูมิใจไทย ที่หวังจะขยายฐานมากขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 







       กล่าวถึงประชาธิปัตย์ “นิพนธ์ บุญญามณี” รองหัวหน้าพรรค ลงไปคุมพื้นที่ด้วยตัวเอง พร้อมกับการคัดเลือกตัวผู้สมัคร และจัดกิจกรรมในพื้นที่ถี่ยิบ ด้วยความหวังว่า จาก 12 ที่นั่ง จะต้องได้กลับคืนมาอย่างสมน้ำสมเนื้อ ด้วยนโยบายที่ประกาศไปแล้ว ทั้งเรื่องให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นคลังอาหาร การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานร้านอาหารต้มยำกุ้งในประเทศมาเลเซีย และการเอาใจใส่ดูแลพี่น้องชาวประมงกับอีกหลากหลายปัญหาที่ยังต้องเจอ

       สำหรับนราธิวาสเป็นอีกสนามเลือกตั้งที่พรรคประชาธิปัตย์หมายมั่นปั้นมือว่า จะต้องกลับมายึดพื้นที่คืน ดึง “เจะอามิง โตะตาหยง” อดีต สส.5 สมัย กลับมาอยู่บ้านหลังเดิม ที่มั่นคง คราวที่แล้ว ไม่ได้ลงสนามเลือกตั้ง หลีกทางให้ลูกชาย อาจารย์ เจ๊ะอิลย๊าส โตะตาหยง ที่ไปลงกับพรรคลุงกำนัน “รวมพลังประชาชาติไทย” หรือพรรครวมพลังในปัจจุบัน แต่เลือกตั้งครั้งหน้า “นิพนธ์” ดึง เจะอามิง กลับมาเข้าค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผม 






พรรคประชาธิปัตย์จะกลับมาผงาดในจังหวัดนราธิวาสได้อีกครั้ง แต่ไม่ควรมองข้ามคู่ต่อสู้ที่ไม่ธรรมดาเช่นกัน ทั้งจากพรรคพลังประชารัฐ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคภูมิใจไทย

 “ พึ่งได้ ใกล้ชิด ติดดิน”ตามหลักยึด ของ “เจะอามิง โตะตาหยง” เข็มทิศทางความคิดที่มุ่งมั่นขันอาสาทำหน้าที่ตัวแทนประชาชนพรรคประชาธิปัตย์นราธิวาส เขต 5  เดินหน้าต่อไป  ในการขับเคลื่อนการเสริมสร้างความมั่นคง ด้วยผลงาน “โฉนดชุมชน”และจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดิน เพื่อพี่น้องชายแดนใต้มีที่ทำกิน ที่อยู่และสร้างอาชีพ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอ รือเสาะ ศรีสาคร บาเจาะ ยี่งอ สุคิรินทร์ จะแนะ ระแงะ สุไหงปาดี มีเอกสิทธิ์ที่เป็นโฉนดที่ดิน เป็นของตนเอง และผลงานสำคัญด้านการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่นเข้มแข็ง ทำได้ไว ทำได้จริง

 “เจะอามิง โตะตาหยง” กล่าวถึงนโยบาย และแนวทางในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง คือพูดถึงนโยบายที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง พูดถึงในแง่การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ราคายางพารา ทำให้ภาพรวมความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น ก็เป็นที่พอใจของประชาชน เงินผู้สูงอายุที่ได้กันทุกคนทุกครัวเรือน นี่คือสิ่งที่ชาวบ้านพอใจ เงิน อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน) เข้าโรงพยาบาลรักษาโรคฟรีก็เป็นที่พอใจของชาวบ้าน


 

มีคำถามว่า ต่อไปว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์จะยังคงนโยบายเหล่านี้ไว้หรือไม่ “เจะอามิง” ย้ำว่า เป็นแนวนโยบายที่ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะเดินหน้าต่อ เป็นการสานต่อนโยบายหลักของพรรค

 

ส่วนมิติการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เจะอามิง บอกว่า ได้พยายามสื่อสารกับชาวบ้านว่า ณ วันนี้ รัฐบาลได้แสดงความตั้งใจและจริงใจโดยการออกกฎหมาย ศอ.บต.(พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553) ซึ่งประชาชนยังไม่ทราบว่า มีแนวนโยบายอย่างไรบ้าง ประชาชนยังไม่ทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากกฎหมายฉบับนี้

            

แต่เดิม การแก้ปัญหาที่ผ่านมา ที่ไม่ได้ผลส่วนหนึ่งมาจากความไม่เป็นเอกภาพของระบบราชการ วันนี้พอออกกฎหมายฉบับนี้ ทุกหน่วยงานต้องมาอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายฉบับนี้ ทำให้หน่วยงานราชการเกิดเอกภาพ ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเดิมต่างคนต่างทำ ทำให้การแก้ปัญหาไม่สามารถเดินหน้าไปได้เท่าที่ควร

“ความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือนายกรัฐมนตรีจะเข้ามาดูแลโดยตรง และมีรัฐมนตรีดูแลอีกหนึ่งคน ไม่สังกัดกระทรวงมหาดไทยแต่จะขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรีโดยตรง สาระสำคัญคือ ชาวบ้านสามารถชี้แนวทางการแก้ปัญหาผ่านสภาที่ปรึกษา ศอ.บต.(หมายถึง สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้) แนวทางต่างๆ ไม่ว่า ด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ ศาสนา”

      




ส่วนในกรณีที่ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรม อันเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนสามารถร้องเรียนไปยังเลขาธิการ ศอ.บต. ถ้ามีมูลความผิดจริง เลขาธิการ ศอ.บต.ก็สามารถสั่งย้ายได้ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการลดเงื่อนไขต่อประชาชน

 มิติการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เจะอามิง กล่าวว่า เราจะขับเคลื่อนงบประมาณค้างท่อ ที่เคยสะท้อนติดตาม ขับเคลื่อน ในกระบวนการ สภาผู้แทนราษฎร จนได้รับการแก้ไข จากรัฐบาลจนสำเร็จ เช่น ที่ผ่านมา ถนนสาย ยะลา – สี่แยกดอนยาง จังหวัดปัตตานี ซึ่งเดิมเป็นเงินค้างท่อ สร้างไม่เสร็จ เราจึงได้ลบล้างข้อครหาที่ว่า งบลงมาแล้วแต่ไม่ดำเนินการอะไรเลย เราดำเนินการจนสร้างเสร็จในสมัยรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ ถนนสายสี่แยกตะโล๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา – ปาลอบาต๊ะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส หรือ ถนนสาย 4066 ก็เกิดจากเงินค้างท่อ ซึ่งสร้างจนเสร็จอีกเส้นทางหนึ่ง

 

เจะอามิง กล่าวอีกว่า ในจังหวัดนราธิวาสเราได้พัฒนาสนามบินบ้านทอนให้เป็นสนามบินระดับนานาชาติ เพื่อรองรับชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะใช้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยรัฐบาลอภิสิทธ์ ฯ ได้จัดสรรงบประมาณขยายรันเวย์เพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน ทำให้สามารถรองรับเครื่องบินบินตรงไปยังประเทศซาอุดิอาราเบีย ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

 ในส่วนของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เดิมมีแค่ป้าย แต่นักศึกษาไปฝากตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ขอนแก่นบ้าง เชียงใหม่บ้าง กรุงเทพบ้าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์บ้าง พอเรียนจบก็จะมาสวมชุดครุยมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ตอนนี้รัฐบาล สมัยอภิสิทธิ์ ฯ ได้ให้งบไทยเข้มแข็งเกือบพันล้าน เพื่อสร้างอาคารต่างๆ ในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สามารถรับนักศึกษา เรียนที่สถาบัน ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ตอนนี้ ยกระดับมาเป็นโรงพยาบาลศูนย์แล้ว นี่เป็นผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์เช่นกัน

 ในด้านเยาวชน รัฐบาลได้ให้งบพัฒนาการกีฬา โดยทุ่มงบกว่า 1,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบผูกพัน สร้างสนามฟุตบอลในจังหวัดนราธิวาส ให้เป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่สุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

  ส่วนในจังหวัดยะลา รัฐได้ให้งบสร้างสนามบินเบตง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งได้เปิดให้บริการไปแล้ว เพื่อให้ผู้คนหลั่งไหลไปเที่ยว เบตง แล้วจะเป็นจุดขายต่อไป

 -นโยบายทางด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงแม้ที่ผ่านมาอาจจะดีระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ แนวทางการแก้ปัญหาตราบใดที่ยังมีการสูญเสียของประชาชน ก็ยังไม่แฮปปี้ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ มีหลายขั้นตอนหลายเงื่อนไข การแก้ไขนับตั้งแต่นี้ไป ต้องแก้ไขในแต่ละเงื่อนไข แก้ปมไปทีละปม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร

“ขอยืนยันว่า แนวทางการเมืองนำการทหารบวกกับการพัฒนา สร้างอาชีพ อย่างมั่นคงในอนาคตที่ดี

 แต่ความสำเร็จทั้งหลายมันต้องอยู่บนพื้นฐานกลไกของรัฐ คนที่รับผิดชอบต้องตั้งใจและจริงใจในการแก้ปัญหา”

 เจะอามิง กล่าวอีกว่า สิ่งที่สำคัญคือ คนที่จะมารับผิดชอบแก้ปัญหาชายแดนใต้ ต้องรู้ถึงปัญหาอย่างแท้จริง การแก้ปัญหาที่นี่ ถ้าไม่มีความละเอียดพอ มันก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ความละเอียดของปัญหา ความละเอียดของการรู้ปัญหาจะสามารถแก้ปัญหาได้ดี อันนี้ก็ส่วนหนึ่งที่มองดูแล้วว่ามันขับเคลื่อนแล้วดี”

              เจะอามิง กล่าวอีกว่า ที่สำคัญประเด็นชายแดนใต้เราต้องเปิดพื้นที่ในการพูดคุยกันกับให้คนที่ไม่พอใจนโยบายรัฐบาล ความหมายคือพูดคุยในทางสันติ ทุกฝ่ายต้องไม่ใช้อารมณ์ ต่างฝ่ายต้องรู้จักถอยคนละก้าว

“ความไม่เข้าใจกัน มันสามารถแก้ไขได้ด้วยความการทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เรื่องทุกเรื่องบนโลกนี้ มันต้องจบด้วยการพูดคุยกัน มันจะไม่จบด้วยวิธีอื่น การไม่แก้ปัญหานอกรูปแบบ การพูดคุยมันจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น มันไม่ใช่เหตุผลของมุสลิมที่จะทำอย่างนั้น”

 

                   การพูดคุยกับคนที่เห็นต่างกับรัฐ คือสิ่งสำคัญเป็นหลัก นี่คือกรอบความคิดส่วนตัวของผม กับการแก้ปัญหา มันเป็นเรื่องใหญ่ที่เราต้องคิด ผมต้องสะท้อนให้รัฐบาลชุดต่อไป

                  

ประชาธิปัตย์ ดึง เจะอามิง โตะตาหยง เลือดเก่ากลับมา สมัยเป็น สส.ก็เป็น สส.ที่มีบทบาท ในสภา ไม่น้อยหน้าใคร

เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ และเป็นคณะกรรมาธิการที่มีบทบาทโดดเด่น ระดับแนวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมัยอภิสิทธิ์ ฯ ได้ตั้ง ให้เป็นรัฐมนตรีเงา (มหาดไทย)

คู่ขนาน กับ รัฐบาล เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล สมัยนั่นอย่างเข้ม

พรรคประชาธิปัตย์ วางหมาก ไปถึงอนาคต ทางการเมืองระยะยาวอย่างน่าสนใจ

   “เจะอามิง โตะตาหยง” ได้รับเลือกตั้งมาอีกจาก 5 สมัย เป็นสมัยที่ 6 จะเป็น สส.ลำดับอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยมีบทบาทในสภา ระดับที่ดีน่าจะเป็นประกาย

พรรคสร้างคน คนสร้างพรรค  ประชาธิปัตย์กลับมายึดพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อีกครั้ง



  ประพันธ์  ฤทธิวงศ์ /รายงาน

17  มกราคม 2566

เจะอามิง #ปลายด้ามขวาน@

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น