คำต่อคำ นายจุรินทร์ กล่าวในการเปิดตัวโครงการ “ฟัง - คิด - ทำ”(ชมคลิป)
คำต่อคำ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
กล่าวในการเปิดตัวโครงการ “ฟัง - คิด - ทำ” ที่ลานกิจกรรมหน้าสามย่าน มิตรทาวน์
เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2565
สวัสดีครับ พี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร
และพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกท่าน สวัสดีครับ
ความจริงผมไม่ต้องพูดอะไรแล้วก็ได้นะครับ ท่านเลขาธิการพรรคพูดไปครบถ้วนทุกประการ
หัวหน้าพรรคพูดตามนี้ จะพูดต่อไปนี้ก็แค่ขอเติมนิด เติมหน่อย
ตามคำสั่งของท่านองอาจ ดร.เอ้ มาดามเดียร์ กับทีมกรุงเทพฯ
ที่เขาสั่งว่าวันนี้ขอให้มาพูดสั้นๆ แล้วให้มาพูดเรื่อง ฟัง - คิด - ทำ
และประชาธิปัตย์ ซึ่งท่านเลขาธิการพรรคพูดถึงประชาธิปัตย์ชัดเจน
วันที่ผมมาเป็นหัวหน้าพรรค สิ่งหนึ่งที่ผมประกาศไว้กับสมาชิกพรรคและคนไทยทั่วทั้งประเทศก็คือถึงเวลาที่ประชาธิปัตย์ต้องเปลี่ยน แต่เปลี่ยนอย่างมีวุฒิภาวะ อะไรดีประชาธิปัตย์ต้องรักษาไว้ อะไรไม่ดีอะไรถึงเวลาเปลี่ยน เหมือนท่านเลขาธิการพรรคพูดเมื่อกี้ ต้องเปลี่ยน อุดมการณ์ ประชาธิปัตย์ไม่เปลี่ยน อุดมการณ์ประชาธิปัตย์ 3 ข้อที่ผมประกาศวันเป็นหัวหน้าพรรค ข้อ 1 อุดมการณ์ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชาธิปัตย์ไม่เปลี่ยน ข้อ 2 ประชาธิปัตย์มีอุดมการณ์ที่จะทำหน้าที่เพื่อพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศและเพื่อส่วนรวมไม่ใช่ส่วนตัว อุดมการณ์ข้อนี้ประชาธิปัตย์ก็ไม่เปลี่ยน และข้อที่ 3 สุดท้าย ที่ท่านเลขาธิการพรรคย้ำไปเมื่อสักครู่ อุดมการณ์แห่งความซื่อสัตย์สุจริตประชาธิปัตย์ไม่เปลี่ยนและไม่มีวันเปลี่ยน
นี่คือสิ่งที่เรายืนหยัดความเป็นอุดมการณ์ประชาธิปัตย์ แต่อุดมการณ์ไม่พอ ตรงนี้จึงเป็นที่มาที่ทำไมประชาธิปัตย์วันนี้ต้องเป็นยุค “อุดมการณ์ – ทันสมัย” เพราะโลกมันเปลี่ยน ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยน ประชาธิปัตย์ต้องก้าวให้ทันโลก ก้าวให้ทันสำคัญที่สุด ที่มาดามเดียร์ กับ ดร.เอ้ พูด ความคิดอ่านความเห็นของประชาชน นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราจะต้องดำเนินการและเดินหน้าต่อไป ไปสู่ความทันสมัย วันนี้คืออีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนการก้าวเดินไปสู่ความทันสมัยและยุคใหม่ของประชาธิปัตย์ ด้วยการจัดงาน ฟัง-คิด-ทำ โดยคนรุ่นใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์เพื่อฟังความเห็นของคนกรุงเทพมหานคร ฟังความเห็นของคนไทยทั้งประเทศ แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าที่ผ่านมาประชาธิปัตย์ไม่เคยฟัง ไม่เคยคิดไม่เคยทำ ประชาธิปัตย์ฟัง-คิด-ทำ มาตั้งแต่เริ่มต้นนับหนึ่งก่อตั้งประชาธิปัตย์ขึ้นมาเมื่อปี 2489 อุดมการณ์ 10 ข้อของประชาธิปัตย์มาจากการฟัง คิด แล้วก็เอาไปทำ นโยบายทุกยุคทุกสมัยของประชาธิปัตย์เกิดจากกระบวนการ ฟัง- คิด แล้วก็เอาไปทำ ประชาธิปัตย์จึงอยู่ยั้งยืนยงมาได้ถึงวันนี้ไง 76 ปี ถ้าประชาธิปัตย์ฟังไม่เป็น คิดไม่เป็น ทำไม่เป็น เราจะอยู่มาได้อย่างไรจนถึงวันนี้
แต่หัวใจสำคัญที่สุดก็คือ ฟังเท่านี้
คิดเท่านี้ ทำเท่านี้ไม่พอ วันนี้ยุคนี้เวลานี้
ประชาธิปัตย์จึงต้องเดินหน้าฟังเพิ่ม คิดเพิ่ม แล้วก็ทำเพิ่มต่อไป
ตรงนี้จึงเป็นที่มาที่วันนี้ทำไมต้องมา ฟัง - คิด - ทำ มีคนถามว่า
เหตุผลอะไรที่ประชาธิปัตย์ต้องฟังเพิ่ม ต้องคิดเพิ่ม แล้วก็ต้องทำเพิ่ม คำตอบง่ายๆ
เพราะโลกมันเปลี่ยน ปัญหาเปลี่ยน และความท้าทายมันเปลี่ยน
ถ้าประชาธิปัตย์ไม่เปลี่ยน เราไม่มีวันที่จะตามสิ่งเหล่านี้ได้ทัน
และที่สำคัญมันไม่ได้เปลี่ยนแค่มิติเดียว มันเปลี่ยนทั้งมิติทางการเมือง
เปลี่ยนทั้งมิติทางสังคม เปลี่ยนทั้งมิติทางเศรษฐกิจและมิติทางด้านการสื่อสาร
ผมเพิ่งเสร็จจากการประชุมเอเปค วัน 2 วันนี้
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีต่างประเทศของเขตเศรษฐกิจ
เอเปค 21 เขต 42 คน รวมทั้งองค์กรอื่นๆ ทั่วภูมิภาค เอเปค
สิ่งหนึ่งที่เราพูดกันคือความเปลี่ยนแปลงของโลก ความเปลี่ยนของปัญหา
ความเปลี่ยนแปลงของความท้าทายที่มันเดินเข้ามาหาโลก เดินเข้ามาเราทุกวัน
การค้าวันนี้ไม่เหมือนเดิมแล้ว เราจะนำประเทศไปสู่ชัยชนะทางเศรษฐกิจ
สู้กับทุกประเทศในโลกได้ เราต้องเข้าใจสิ่งนี้
เมื่อก่อนโลกแบ่งเป็น 2 ข้าง
สู้กันระหว่างลัทธิการเมืองซ้าย ลัทธิการเมืองขวา แต่วันนี้โลกเปลี่ยน มันไม่ใช่
วันนี้มันกลายเป็นเรื่องภูมิรัฐศาสตร์
มันกลายเป็นเรื่องที่เขาเอาการเมืองระหว่างประเทศ มาผูกติดกับเศรษฐกิจ
ผูกติดกับการค้า แล้วบังคับให้โลกแยกข้าง แบ่งขั้ว เลือกข้าง
นี่คือโจทย์ที่ท้าทายที่สุด ข้อที่ 1 ของคนที่จะมาบริหารประเทศต่อไปในอนาคต
ประชาธิปัตย์เข้าใจสิ่งนี้ แต่เข้าใจไม่พอ ต้องฟังเสียงประชาชนด้วย
ว่าแล้วประชาชนล่ะเอาอย่างไร เราจะยืนอยู่ตรงไหน ท่ามกลางเขาควาย
ท่ามกลางการบังคับแบ่งขั้วเลือกข้างของโลก
เพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในสังคมโลก นี่คือปัญหาที่ท้าทาย
เป็นปัญหาใหม่ที่เราต้องมีคำตอบ
2. ตลอดการประชุมเอเปค
ตั้งแต่ผมเป็นประธานเดือนพฤษภาคม จนกระทั่งมาไม่กี่วันนี้ สิ่งหนึ่งที่พูดกันคือ การค้า
ต่อไปนี้ การลงทุนต่อไปนี้ การขับเคลื่อนแก้ปัญหาเศรษฐกิจต่อไปนี้
ไม่ใช่การค้าการลงทุนแบบเดิมๆ แต่ต้องเป็นการค้า การลงทุนที่มีคำว่า
ยั่งยืนต่อท้าย และนี่คือทิศทางโลกที่เราไม่สามารถฝืนมันได้ ยั่งยืนคืออะไร
ยั่งยืนคือการที่ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม กับคาร์บอนเครดิต กับกรีนอีโคโนมี
และกับหลายๆๆ กับ ที่ทำให้โลกยั่งยืน และประเทศไทยยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต
นี่คือความท้าทายที่คนเป็นผู้นำประเทศ หรือคนที่จะมาเป็นผู้นำรัฐบาลต่อๆ ไป
ต้องเข้าใจ และที่สำคัญต้องฟังเสียงประชาชนเสียก่อนว่า เขาบอกว่า แล้วควรจะทำอย่างไร
ที่จะเอื้อประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
ปัญหาในเรื่องของสังคม เรื่องยาเสพติด
นี่ก็เป็นปัญหาท้าทายประเทศ โดยเฉพาะยาเสพติดพันธุ์ใหม่ ที่ผมคิดว่าทุกคนเป็นห่วง
และกังวล สิ่งนี้ก็คือความท้าทายคือปัญหาที่คนไทยทั้งประเทศมีคำตอบอยู่ในใจ และประชาธิปัตย์ต้องไปฟัง
ฟังแล้วต้องไปคิดไปไตร่ตรอง แล้วนำมาสู่การตัดสินใจ และนำไปสู่การทำต่อไปในอนาคต
รวมทั้งในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพราะนั้น ฟัง - คิด - ทำ
สำหรับประชาธิปัตย์ยุคใหม่วันนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเตรียมการไว้สำหรับรองรับปัญหาและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศในอนาคตต่อไป
ที่ประชาธิปัตย์อยู่มาแล้ว 76 ปี ต้องอยู่ต่อไปปีที่ 77 78 79 80 90 ร้อยปีในอนาคต
และมากกว่านั้น
ผมจึงขอถือโอกาสนี้ขอบคุณทีมกรุงเทพฯ
ขอบคุณท่านเลขาธิการพรรค รองหัวหน้าพรรค ขอบคุณท่านองอาจ ขอบคุณ ดร.เอ้ ขอบคุณมาดามเดียร์
ขอบคุณทีมกรุงเทพฯ ทุกคน อดีตผู้แทนราษฎรของเรา และกำลังสำคัญทั้ง ส.ก.
แล้วก็สาขาพรรคทั้งหมด
ที่ช่วยกันระดมความเห็นจนกระทั่งการจัดงานวันนี้เกิดขึ้นมาได้ ผมมั่นใจว่า ฟัง -
คิด - ทำ ของประชาธิปัตย์ วันนี้ จะนำประชาธิปัตย์ ไปสู่ความเป็นสถาบันที่ยั่งยืน
เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและคนไทยทั้งประเทศต่อไป ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ
///////
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า
วันนี้คือตัวอย่างที่สะท้อนการก้าวไปสู่ความทันสมัย ด้วยการจัดงาน “ฟัง-คิด-ทำ”
โดยคนรุ่นใหม่ เพื่อฟังความเห็นของคน กทม.และความเห็นของคนไทยทั่วประเทศ
แต่ไม่ใช่ว่าที่ผ่านมาประชาธิปัตย์ ไม่ฟังประชาชน เราฟังมาตั้งแต่วันแรก
นโยบายทุกยุคทุกสมัยเกิดจากการฟัง-คิด-ทำ เราถึงอยู่มาถึง 76 ปี แต่หัวใจสำคัญที่สุดคือ เราฟังเท่านี้
คิดเท่านี้ ทำเท่านี้ไม่พอ วันนี้ประชาธิปัตย์จึงต้องเดินหน้า ฟังเพิ่ม – คิดเพิ่ม
และทำเพิ่มต่อไป
ประชาธิปัตย์ยุคใหม่วันนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเตรียมการสำหรับรองรับปัญหาและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศในอนาคตต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น