โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) เพื่อขับเคลื่อน สร้างสันติสุขนำไปสู่ทางออกจากปัญหาในพื้นที่ จชต. (ชมคลิป)

 

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) เพื่อขับเคลื่อน  สร้างสันติสุขนำไปสู่ทางออกจากปัญหาในพื้นที่ จชต.   (ชมคลิป) 




    ภาพโดย..ประพันธ์  ฤทธิวงศ์ บก.เว็ปไซต์ปลายด้ามขวาน@ชายแดนใต้  / คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3)  )  กลุ่มงาน สื่อมวลชน การ สื่อสาร และเทคโนโลยี่/รายงาน




       เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564    โรงแรมซีเอส  ปัตตานี ได้มี การประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3)  โดยมี พลเอก วัลลภ  รักเสนาะ  หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. พร้อมด้วยพลโท  ธิรา  แดหวา  แม่ทัพน้อยที่4 /รอง ผอ.กอ.รมน. ภาค4  ในฐานะเลขานุการร่วมคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.










       พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติและผู้แทนส่วนราชการ คณะประสานงานระดับพื้นที่ ร่วมกันประชุมถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุข ถึงสถานการณ์ล่าสุดที่ผ่านมาคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3)




     เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระดับพื้นที่ เป็นการมุ่งแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธีด้วยการเปิดพื้นที่และเวทีการพูดคุยกับทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความรุนแรง ความยุติธรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี หรือการศึกษา คุณภาพชีวิตเพื่อแก้ปัญหาด้วยกระบวนการและแนวทางสันติวิธี ดังนั้นการรับฟังความคิดเห็นของคณะประสานงานระดับพื้นที่ครั้งนี้ ที่เป็นตัวแทนของประชาชน กลุ่มองค์กรในพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นำไปสู่การแสวงหาทางออกจากปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ร่วมกันได้

 



     พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข กล่าวว่า หลังจากเงื่อนไขข้อจำกัดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดให้มีการรวมตัวของคณะประสานงานระดับพื้นที่ได้ จนสถานการณ์เริ่มผ่อนคลาย จึงกำหนดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น ของคณะประสานงานระดับพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 11 กลุ่ม







     อีกทั้งรับฟังขอเสนอจากประชาชนในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความรุนแรง ความยุติธรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี หรือการศึกษา และอื่นๆ พร้อมที่จะรับฟัง  พร้อมกับลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆ เตรียมเดินหน้าเปิดการพูดคุยสันติสุขแบบ Face to Face อีกครั้งต้นปี 2565

 




เพราะการพูดคุยในช่วงของสถานการณ์โควิด19 ทำให้การพูดคุยแบบร่วมกันได้ยาก ที่ผ่านมาเราใช้ระบบออนไลน์ในการพูดคุย ปีที่ผ่านมาก็มีการปรึกษาหารือกับผู้เห็นต่าง จนก้าวข้ามการบริหารจัดการไปแล้ว และปีหน้าคือจุดเริ่มต้นของการพูดคุยประเด็นสารัตถะ อาจจะต้องอาศัยเวลา ความต่อเนื่อง ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ในการหนุนเสริมต่อการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข และต้องอยู่ภายในกรอบการดำเนินงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นๆลำดับการนำเสนอผลจากการรับฟังความคิดเห็น



 และไม่กี่วันข้างหน้านี้ เราได้ประสานกับท่านตันซรี อับดุลราฮิม ผู้อำนวยความสะดวกอดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลประเทศมาเลเซียแล้ว เปิดพื้นที่รับฟังข้อเสนอภาคประชาชน เพื่อพัฒนากระบวนการสันติภาพอย่างครอบคลุม (inclusive) เพื่อเตรียม kick off การพูดคุยสันติสุขกับ BRN ในช่วงต้นปี 2565เตรียมนำเสนอกับดำเนินการโต้ะพูดคุยสันติสุขต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น