โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564

พช.นราธิวาส ติวเข้มแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช.2ค ปี 2564 ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

 พช.นราธิวาส  ติวเข้มแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช.2ค ปี 2564 ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์


วันที่ 2 สิงหาคม 2564 นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า นายอนันต์ แสงชาตรี พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้นางสาวสุนีย์ มาหะ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานการประชุมซักซ้อมแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน(กชช.2ค)ปี 2564 ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ให้กับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส


นางสาวสุนีย์  มาหะ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน รับผิดชอบการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ทุกปี และข้อมูลกชช. 2ค  เป็นประจำทุก 2 ปี โดยให้จังหวัดนราธิวาส ดำเนินการตามแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ประจำปี 2564 ตลอดจนดำเนินการเตรียมความพร้อมการจัดทำคำสั่งต่างๆ เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลฯ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีรายละเอียดการดำเนินการตามห้วงระยะเวลาที่กรมฯ กำหนด ดังนี้


        1.เตรียมความพร้อมการจัดเก็บข้อมูล จัดหาอาสาสมัครจัดเก็บ อาสาสมัครจัดเก็บ ประกอบด้วย อาสาสมัครในพื้นที่ เช่น อช. อสม. กพสม. นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีความเข้าใจในตัวชี้วัด จปฐ. และมีทักษะสามารถใช้อุปกรณ์ Smartphone/Tablet ในการจัดเก็บข้อมูลอาสาสมัคร 1 คน จัดเก็บไม่เกิน 40 ครัวเรือน 


        2.จัดเก็บข้อมูล - อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง จัดเก็บข้อมูล กชช. 2ค ทุกหมู่บ้านในเขตชนบท  

          3. ตรวจสอบ/รับรองคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล - นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับ อปท. นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล กชช. 2ค ระดับตำบล ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ ตามที่กรมฯ กำหนด



          การจัดเก็บข้อมูลฯ ในปีนี้ มีข้อคำถามเพิ่มเติมในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2564 ในประเด็นคำถามของผลกระทบทึ่คนในครัวเรือนได้รับ จากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด -19 คือ

          ด้านสุขภาพ 1) มีสมาชิกในครัวเรือนติดเชื้อโควิด -19 หรือไม่ 2) ถ้ามี สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพหรือไม่  

            ด้านแรงงาน 1) มีสมาชิกในครัวเรือนถูกเลิกจ้างเพราะสถานการณ์โควิด -19 หรือไม่ 2) ถ้ามี ได้รับสิทธิประโยชน์จากการประกันตนการว่างงานหรือไม่ 

           ด้านอาชีพ 1) สมาชิกในครัวเรือนมีการเปลี่ยนแปลงอาชีพเพราะผลกระทบจากโควิด -19 หรือไม่ 

         ด้านหนี้สิน 1) ครัวเรือนมีหนี้สินที่เกิดเพราะผลกระทบจากโควิด -19 หรือไม่ 



ในการนี้ นางสาวสุนีย์ มาหะ ได้ให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและกลไกขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ให้ปฏิบัติงานอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องครบถ้วนทุกครัวเรือนและทุกหมู่บ้าน สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นในทุกระดับ



และเป็นไปตามแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูล ภายในห้วงเวลาที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยการปฏิบัติตนตามคำสั่งจังหวัดฯ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด เพราะจังหวัดนราธิวาสอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามประกาศของ ศบค.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น