โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

" รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ส่งท้ายปีเก่า...ต้อนรับวันปีใหม่ ๒๕๖๔ "

 

" รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ส่งท้ายปีเก่า...ต้อนรับวันปีใหม่ ๒๕๖๔ "

 


" เทปรายการคืนคุณให้แผ่


นดินประจำปี ๒๕๖๓....ตามคำเรียกร้องของผู้ชมทางบ้านเทปปลูกป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ กองพลทหารราบที่๙ ได้รับความสนใจอย่างมากของผู้ชมทางบ้านที่ติดตามชมรายการคืนคุณให้แผ่นดินทุกวันศุกร์ทางททบ.5 ที่ผ่านมา "

 

" เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ ประชาชน "

 


    พิธีเปิดโครงการศูนย์การเรียนรู้ ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง

 


" ปลูกป่าได้อะไร ที่นี่มีคำตอบ "

 

กองพลทหารราบที่ ๙ ได้สานต่อพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไปโดยดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโครงการศูนย์การเรียนรู้ ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ

 


     -ใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

     -สร้างองค์ความรู้ในรูปแบบวนเกษตร ผสมผสานการปลูกพืชหลายชนิดโดยมีต้นไม้เป็นหลัก เรียนรู้การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

     -เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าของภาคตะวันตก



     -เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับกำลังพล และประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องการเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่า การปลูกป่า การขุดคลองใส้ไก่ การปลูกพืชสมุนไพร การทำปุ๋ยหมัก การทำดินจากใบไม้ การเผาถ่าน การทำน้ำส้มควันไม้ และการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

     -เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม

     -และที่สำคัญคือเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ช่วยอนุรักษ์ดิน ต้นน้ำลำธาร ฟอกอากาศ ลดโลกร้อน อนุรักษ์ทรับยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สามารถให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยึน



                โครงการนี้ใช้พื้นที่ จำนวน ๒๘ ไร่ จัดแบ่งพื้นที่การเรียนรู้ เป็น ๑๓ สถานี ได้แก่ การทำดินจากใบไม้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ การเพาะพันธุ์กล้าไม้ การทำคลองไส้ไก่ หลักการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง การปลูกพืชสมุนไพรและการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การเลี้ยงสัตว์ การทำนาใช้น้ำน้อย การเผาถ่าน การทำน้ำส้มควันไม้ การทำสิ่งประดิษฐ์จากไม้ การทำอาหารปลาและปุ๋ยจากมูลกระต่าย และบทสรุปถึงประโยชน์จากการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง 



ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง คือ การปลูกป่า ๓ อย่าง ได้แก่  ไม้ใช้กิน ไม้ใช้ทำที่อยู่อาศัย และไม้ใช้สอย สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง ๔ อย่าง   คือนอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว  ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ ๔ ซึ่งเป็นข้อสำคัญก็คือ  สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย  นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มป่าไม้ 



ซึ่งเปรียบเสมือนปอด ที่ทำหน้าที่ฟอกอากาศ ให้ร่มเงา ลดปัญหาโลกร้อน ซึ่งที่นี่จะเป็นศูนย์การเรียนรู้  การปลูกพืชในรูปแบบวนเกษตร  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าภาคตะวันตก สามารถผลิต และแจกจ่ายพันธุ์กล้าไม้เพื่อขยายพื้นที่ปลูกต้นไม้ให้ทั่วทุกพื้นที่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมของประชาชนทั่วไป  ในการเรียนรู้ประโยชน์ของป่า  ซึ่งนอกจากจะช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว  ยังสามารถก่อให้เกิดรายได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ อีกมากมาย  ซึ่งที่นี่มีคำตอบ




จึงขอเชิญชวนทุกภาคส่วน ได้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่  และร่วมกันเผยแพร่ความรู้ ร่วมกันขยายพื้นที่ป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อการอนุรักษ์ป่า ดิน และน้ำอย่างยั่งยืน

 

 


 พลตรี ฐกัด หลอดศิริ       อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ ๑  เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการป่า๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่างและเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการโครงการป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่าง

 


 พ.อ.พิทยากูล โพธิสุวรรณ ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9

 

พ.อ. ณัฐติพงษ์  ตะโกใหญ่ รองผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9

   ร่วมให้การต้อนรับพิธีเปิดโครงการป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่าง

 ณ บ้านทุ่งก้างย่าง อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

 

   อย่าลืมติดตามการประมวลภาพศูนย์การเรียนรู้ ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง กองพลทหารราบที่ ๙ ในพื้นที่บ้านทุ่งก้างย่าง อำเภอไทรโยค จังหวัดการญจนบุรี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ในรายการคืนคุณให้แผ่นดินส่งท้ายปีเก่าต้อนรับวันปีใหม่ ๒๕๖๔  ออกอากาศวันศุกร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๔๐ - ๑๔.๐๐  น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

คุณสุรีย์พร ดวงทอง

คุณภูวฤทธิ์ พุ่มพวง

พิธีกรดำเนินรายการคืนคุณให้แผ่นดิน

 

CR: ศิริพร จงศิริ

ผู้อำนวยการใหญ่ผลิต

รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

               

                  

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น