โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563

นราธิวาส : จัดเวทีพูดคุยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยฯ จากการลงพื้นที่ทำเวทีสะท้อนข้อมูลงานวิจัยฯ ตามโครงการ “มะนารอ อาหารเพียงพอ ปลอดภัย ใกล้ครัว"

 

นราธิวาส : จัดเวทีพูดคุยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยฯ จากการลงพื้นที่ทำเวทีสะท้อนข้อมูลงานวิจัยฯ  ตามโครงการ มะนารอ อาหารเพียงพอ  ปลอดภัย  ใกล้ครัว"



     วันที่ 18 กันยายน 2563  นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า นายเอกรัฐ  หลีเส็น  ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนราธิวาส 



      มอบหมายให้นายบุญพาศ  รักนุ้ย  รองผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะรองประธานคณะทำงานฯ เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานจัดเวทีสะท้อนข้อมูลงานวิจัยความนิยมบริโภคและความต้องการเพาะปลูก พืชผัก เลี้ยงสัตว์ (ปศุสัตว์และประมง) ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  ตามโครงการ มะนารอ อาหารเพียงพอ ปลอดภัย ใกล้ครัวครั้งที่ 2/2563 ณ ห้องประชุมพระนราภิบาล ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้


     1. เกริ่นนำความเป็นมาของคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนราธิวาสและการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนราธิวาส เพื่อกำหนดรูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่โครงการ มะนารอ  อาหารเพียงพอ  ปลอดภัย  ใกล้ครัว 



   เพื่อศึกษาความนิยมบริโภคและความต้องการเพาะปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ (ปศุสัตว์และประมง) ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  รณรงค์ สร้างความเข้าใจให้ครัวเรือนได้มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ (ปศุสัตว์และประมง) เพื่อเป็นแหล่งอาหาร ในปริมาณที่เพียงพอและปลอดภัยสำหรับครัวเรือน  และบูรณาการการทำงานตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา โดยสอดคล้องกับ



ภูมิสังคม  วิถีชีวิต  วัฒนธรรม และอัตลักษณ์  ซึ่งเป็นกิจกรรมริเริ่มที่ดำเนินการควบคู่กับโครงการ น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สู่แผนปฏิบัติการ 90  วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของกรมการพัฒนาชุมชน

     โดยงานวิจัยความนิยมบริโภคและความต้องการเพาะปลูก พืชผัก เลี้ยงสัตว์ (ปศุสัตว์และประมง) ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  ตามโครงการ มะนารอ  อาหารเพียงพอ ปลอดภัย  ใกล้ครัวชิ้นนี้ เป็นการดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนราธิวาส



 โดยท่านเอกรัฐ  หลีเส็น  ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้วิจัยหลัก ร่วมกับภาควิชาการ โดยคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) ซึ่งมีสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส  โดยการนำของนายไกรวุฒิ  ช่วยสถิตย์  พัฒนาการจังหวัด และทีมงาน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ

     2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยความนิยมบริโภคและความต้องการเพาะปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ (ปศุสัตว์และประมง) ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน

     3. สรุปผลการจัดเวทีข้อมูลงานวิจัยความนิยมบริโภคและความต้องการเพาะปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ (ปศุสัตว์และประมง) ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน 

เขตเทศบาลเมือง  เขตชนบท โดยแบ่งลักษณะเขตภูเขา (เขา)  เขตที่ราบ (นา) และเขตชายฝั่งทะเล  (เล)  โดยคณะทำงานจัดเวทีสะท้อนข้อมูลงานวิจัยฯ ทั้ง 4  คณะ

     4. พิจารณาบทสรุปผู้บริหารและบทคัดย่องานวิจัยความนิยมบริโภคและความต้องการเพาะปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ (ปศุสัตว์และประมง) ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส 

     5. สรุปจากการดำเนินงานตามโครงการ  มะนารอ  อาหารเพียงพอ  ปลอดภัย  ใกล้ครัวดังกล่าว  และงานวิจัยฯ ดังกล่าว จะนำไปสู่ความสำเร็จ  โดยสรุปได้ดังนี้

      1. สามารถตอบเป้าประสงค์การดำเนินงานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

     2. สนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ของจังหวัดนราธิวาส

 3. นำไปสู่วิสัยทัศน์ (Vision) สำคัญ ได้ดังนี้




                           3.1  วิสัยทัศน์ของจังหวัดนราธิวาส

       เศรษฐกิจมั่นคง  การค้าเฟื่องฟู นราน่าอยู่ มุ่งสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน

                           3.2 วิสัยทัศน์ของกรมการพัฒนาชุมชน

      เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายใน ปี ๒๕๖๕

                           3.3 วิสัยทัศน์การพัฒนาของประเทศ

     ประเทศไทยมีความมั่นคง  มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น