โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

หน่วยงานการศึกษาจังหวัดนราธิวาส กำหนดแผนการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน 1 ก.ค. 63 สร้างความเชื่อมั่นผู้ปกครอง พร้อมรับสถานการณ์โควิด-19


หน่วยงานการศึกษาจังหวัดนราธิวาส กำหนดแผนการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน 1 ก.ค. 63 สร้างความเชื่อมั่นผู้ปกครอง พร้อมรับสถานการณ์โควิด-19



วันนี้ 28 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมบุหงาตันหยง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส ดร.วาทิต มีสนุ่น ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงพื้นที่ร่วมกับ    พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ด้านการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้  นายการุณ สกุลประดิษฐ์ นายชลำ อรรถธรรม ที่ปรึกษาผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และคณะทำงานฝ่ายอำนวยการผู้แทนพิเศษของรัฐบาล

 เพื่อติดตามผลการขับเคลื่อนโครงการ / กิจกรรมในหน่วยงานทางการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามนโยบายพิเศษของรัฐบาล และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ในประเด็นการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอน ก่อนเปิดเรียน ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 นี้

โดย นายมนูญ บุญชูวงศ์ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส และผู้บริหารหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ ร่วมรายงานแผนการรับนักเรียนปีการศึกษา  2563 พร้อมยืนยันว่าสถานศึกษาสามารถรองรับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการได้ 100 % แน่นอน ส่วนโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงทางหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ก็จะมีระบบการคัดเลือกนักเรียนอย่างโปร่งใส รวมทั้งมีการติดตามนักเรียนที่ไม่ผ่านการคัดเลือกให้ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาทุกคน

 ส่วนแนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเรียนในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 นี้ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองนักเรียนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยสถานศึกษาได้มีการวางแผนสำหรับการจัดการเรียนการสอน On Site ดังนี้

 1.ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้มีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย และจัดให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ทำความสะอาดอาคารเรียน ห้องเรียน และห้องทำกิจกรรมต่าง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าครูบุคลากรและนักเรียนทุกคนจะปลอดภัยในการมาโรงเรียน
 2.มีการคัดกรองและจัดเก็บข้อมูลของนักเรียน ครู บุคลากร และบุคคลผู้เกี่ยวข้องที่เดินทางเข้ามาในบริเวณโรงเรียนทุกวันอย่างเคร่งครัด
 3.จัดการเรียนการสอน On Site ให้นักเรียนมาเรียน ห้องเรียนละไม่เกิน 20 คน ต่อวัน รวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างเวลาเรียน และรูปแบบการสอน ให้มีการบูรณาการในรายวิชาต่าง ๆ ร่วมกัน
 4.ประสานและแจ้งข่าวสารอย่างทันท่วงทีระหว่างครูและผู้ปกครองผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Line,  Facebook, Website เป็นต้น
                     5.สนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอน On Air และ Online โดยครูที่ปรึกษาต้อง        อำนวยความสะดวกให้ข้อแนะนำต่างๆ ตลอดจนการติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน ตารางเรียน เอกสารประกอบการเรียนและชิ้นงานต่างๆ


    ในกรณีที่เปิดภาคเรียนแล้วพบว่านักเรียนในชั้นเรียนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางโรงเรียนจะมีมาตรการปิดโรงเรียน และหยุดการเรียน On Site ทันที และดำเนินการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ รวมทั้งกักตัวครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนดังกล่าวเป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าระวังอาการ และดำเนินการสอนผ่านระบบ Online และ On Air แทน


 ทั้งนี้  ในระหว่างที่ยังไม่เปิดภาคเรียน โรงเรียนได้มีการมอบหมายให้ครูสำรวจความพร้อมของนักเรียนในการเรียนผ่านระบบ On Air และ Online และในบางโรงเรียนก็จัดให้มีการสอบแบบ Online เพื่อทบทวนความรู้ของนักเรียนให้มีความพร้อมเข้าสู่บทเรียนเมื่อเปิดภาคเรียนจริง

ข่าว : ปชส. ศปบ.จชต.
ภาพ :  ปชส. สพป. นราธิวาส 3

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น