โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563

เล่าเรื่องมุมมอง.....การพูดคุยสันติสุข กับความล้มเหลวรออยู่เบื้องหน้า ‐---



เล่าเรื่องมุมมอง.....การพูดคุยสันติสุข กับความล้มเหลวรออยู่เบื้องหน้า 

       น่าจะล้มเหลวอีกครั้งสำหรับการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ยุคสมัยที่ 3 ทีมี พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลไทยกับนายอานัส อับดุลเราะห์มัน หรืออุซต๊าดหีพนี มะเร๊ะ ผู้แทนฝ่าย บีอาร์เอ็น เมื่อเห็นการให้สัมภาษณ์ของนายอานัสทางเพจข่าว THE REPORTOR สะท้อนความคิดที่ตรงกันข้าม รวมทั้งกับเอกสารแถลงข่าวครึ่งหน้ากระดาษของ ทีมงานการพูดสันติสุขแห่งชาติซึ่งไม่ปรากฏความคืบหน้าและสาระใดๆ นอกจากออกตัวตอนท้ายว่าต้องอาศัยระยะเวลา 

         ความบางตอนในการให้สัมภาษณ์ของนายอานัส สรุปโดยรวมไม่ต่างไปจากข้อเรียกร้องของนายฮาซัน ตอยิบ ผู้แทนบีอาร์เอ็น ต่อ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร ผู้แทนฝ่ายไทย บนโต๊ะพูดคุยในยุคสมัยที่ 1  ซึ่งมีเป้าหมายที่ต้องการยกระดับจากการพูดคุยภายในเป็นการเจรจาระดับสากลและสุดท้ายคือความเป็นเอกราชของจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานี 

        นายอานัสขึ้นต้นการให้สัมภาษณ์นี้ว่า ไม่ใช่ครั้งแรกแต่เป็นความต่อเนื่องจากหลายครั้งที่ผ่านมา เพื่อขจัดข้อแย้งระหว่างชาวปาตานีกับรัฐบาลไทย พร้อมอธิบายว่าชาวปาตานีหมายถึงคนทุกกลุ่มทั้งกลุ่มมลายูมุสลิม กลุ่มคนไทยพุธ รวมทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งมีศักดิ์ศรีและมีฐานะเท่าเที่ยมกับคนชาติอื่นๆ ส่วนบีอาร์เอ็นนั้น คือคนกลางระหว่างคนปาตานีกับคนปาตานี

     ซึ่งอาจหมายคนกลางระหว่างคนพุธกับคนมุสลิมและไทยเชื้อสายจีน และเป็นคนกลางระหว่างคนปาตานีกับรัฐบาลไทย ในการเจรจาที่จะยุติข้อขัดแย้งและนำไปสู่เป้าหหมาย โดยชาวปาตานีต้องร่วมมือกับบีอาร์อาร์เอ็นอย่างแข็งขันเพื่อผลักดันรัฐบาลไทยยกฐานะศักดิ์ศรีความเท่าเทียมโดยการแก้ไขกฏหมายหรือรัฐธรรมนูญ

      นอกจากนี้นายอานัส ยังได้กล่าวถึงผู้สังเกตุการณ์ หรือบุคคลที่ 3 ว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ซึ่งหมายถึงคนกลางที่จะเป็นพยานของข้อตกลงในการพูดคุยคุยนั้นเอง ซึ่งเท่ากับว่า บีอาร์เอ็น ยังคงต้องการให้การพูดคุยเป็นเป็นการเจรจาเพื่อสันติภาพ และยุติความขัดแย้ง อันเป็นเรื่องระหว่างประเทศ  ไม่ใช่เรื่องภายในตาที่ทางรัฐบาลไทยพยายามมลดระดับ 

       การพูดคุยในครั้งนี้ไม่ปรากฏในรายงานข่าวว่า มีผู้สังเกตุการณ์หรือบุคคลที่ 3 หรือไม่ แต่มีรายงานข่าวว่าการพูดคุยไม่ได้ลงในรายละเอียด อย่างเช่นเรื่องพื้นที่ปลอดภัย หรือเรื่องอื่นๆ อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ นอกจากเรื่องการประสานงาน ซึ่งอาจจะหมายถึงว่าการพูดคุยครั้งนี้ยังขาดองค์ประกอบคือ “คนกลาง” ตามที่บีอาร์เอ็นต้องการ การพูดคุยอย่างจริงจังจึงยังไม่เกิดขึ้น และเป็นที่มาของคำว่า “ต้องใช้ระยะเวลา “ ตามแถลงการณ์ และคาดการณ์ได้ว่าการเจรจาสันติภาพตามความต้องการของ บีอาร์เอ็น จะไม่มีวันเกิดขึ้น การพูดคุยเพื่อสันติสุขเป็นเพียงการซื้อเวลาและจะล้มเลิกเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา 

       ก่อนหน้าที่จะมีการพูดคุยครั้งนี้ หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยถึงการเป็น ตัวจริงหรือตัวปลอม ของผู้แทนฝ่าย บีอาร์เอ็น แต่เมื่อเห็นเจตนารมณ์จากการให้สัมภาษณ์แล้ว เห็นชัดว่า เจริญรอยตาม อุซต๊าดอาซัน ตอยิบ อย่างไม่ผิดเพี้ยน จึงทำให้หมดข้อกังขา  คำถามที่ตามมาและสำคัญกว่ารออยู่เบื้องหน้าคือ  รัฐบาลจะจริงใจเจรจาจริงๆ จังๆ หรือไม่ หรือว่าทำไปเพื่อแหกตา หรือเพียงเพื่อผลาญงบประมาณไปวันๆ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น