โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

“ เปิดหน้าหนึ่งประวัติศาสตร์ของชาติไทย วันชนะศึกทุ่งลาดหญ้า สงคราม ๙ ทัพ ครบรอบ ๒๓๕ ปี “ รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ออกอากาศวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2563 เวลา 13.40-14.00 น.


เปิดหน้าหนึ่งประวัติศาสตร์ของชาติไทย วันชนะศึกทุ่งลาดหญ้า สงคราม ๙ ทัพ ครบรอบ ๒๓๕ ปี “    รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ออกอากาศวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2563 เวลา 13.40-14.00 น.



  รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ออกอากาศวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2563 เวลา 13.40-14.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก



 ศึกสงคราม ๙ ทัพ
ทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ ประจวบกับในเวลานั้น พระเจ้าปดุงได้รับพระบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งพม่า และต้องการที่จะประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล   

     จึงได้ยกทัพเข้ามาตีไทย ซึ่งในครั้งนั้น พระเจ้าปดุง ได้แบ่งทัพออกเป็น ๙ กองทัพมีการ       รวมกำลังพลมากถึง ๑๔๔,๐๐๐ นาย เพื่อเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น ๕ ทิศทาง


​- ทัพที่ ๑ ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนอง จนถึง เมืองนครศรีธรรมราช

​- ทัพที่ ๒ ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้ แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์

​- ทัพที่ ๓ เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ ๙ ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์

​- ทัพที่ ๔ ๘ ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ และด่านบ้องตี้ โดยมี พระเจ้าปดุงเป็นจอมทัพ ควบคุมกองทัพที่ ๘ มาด้วย


​- ทัพที่ ๙ เข้ามาทางด่านแม่ละเมา แม่สอด จว.ตาก
​ในขณะเดียว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ นาย และได้ทรงปรึกษาวางแผนการรับมือข้าศึกกับ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (สมเด็จพระอนุชา) โดยจัดกองทัพออกเป็น ๔ กองทัพ และให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ
​- ทัพที่ ๑ เป็นทัพของ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทฯ คุมกำลัง จำนวน ๓๐,๐๐๐ นาย ตั้งรับพม่า ที่ทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี เพื่อรับทัพหลวงของพระเจ้าปดุง​


​- ทัพที่ ๒ ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์ มีกำลัง ๑๕,๐๐๐ นาย

​- ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่าที่ราชบุรี มีกำลัง ๕,๐๐๐ นาย

​- ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงโดยมี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพ มีกำลัง ๒๐,๐๐๐ นาย คอยเป็นกำลังหนุน เมื่อกองทัพใดเพลี่ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน
​ซึ่งในการศึกครั้งนี้ มีสมรภูมิการรบที่สำคัญคือ บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด              ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่อยู่ใน ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จว.กาญจนบุรี


   โดยมีกองทัพของ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ตั้งรับทัพเพื่อทำการสกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลได้ รวมทั้งทรงใช้ยุทธวิธีในการรบโดยตัดการลำเลียง และปล้นเสบียงของพม่า และได้ใช้กลอุบายแสร้งทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ่งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยได้ทำการตั้งรับพม่าจนไม่สามารถรุกคืบได้ ส่งผลให้       กองทัพพม่าติดอยู่บริเวณช่องเขา ประกอบกับการขาดแคลนเสบียง
ทำให้พม่าต้องถอยทัพกลับไป


  พร้อมสัมภาษณ์ท่าน   พลตรี ฐกัด หลอดศิริ   ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ 
     มาเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชาติไทย วันชนะศึกทุ่งลาดหญ้า สงคราม ๙ ทัพ ครบรอบ ๒๓๕ ปี
ในรายการคืนคุณให้แผ่นดิน วันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓
เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๔.๐๐ น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
คุณสุรีย์พร ดวงทอง คุณภูวฤทธิ์ พุ่มพวง  พิธีกรดำเนินรายการคืนคุณให้แผ่นดิน

CR..ศิริพร จงศิริ  ผู้อำนวยการใหญ่ผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก



   อย่าพลาดติดตามชมประมวลภาพและบรรยากาศในรายการคืนคุณให้แผ่นดิน วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2563 เวลา 13.40-14.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
คุณสุรีย์พร ดวงทอง คุณภูวฤทธิ์ พุ่มพวง พิธีกรดำเนินรายการคืนคุณให้แผ่นดิน

CR..ศิริพร จงศิริ
ผู้อำนวยการใหญ่ผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น