โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เกษตรอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ลงพื้นที่สำรวจแปลงข้าวโพดของชาวบ้านหลังพบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

เกษตรอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ลงพื้นที่สำรวจแปลงข้าวโพดของชาวบ้านหลังพบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด


       วันนี้ 29 ต.ค.62 นายอารีฟ มหัศนียนนท์ เกษตรอำเภอเบตง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเบตง ลงพื้นที่ หมู่ที่ 4 ตำบลธารน้ำทิพย์ เพื่อสำรวจการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ซึ่งมีการระบาดมาถึงพื้นที่อำเภอเบตงแล้ว โดยตัวหนอนจะมีลักษณะส่วนบนของหัวมีแถบสีขาวเป็นรูปตัว Y หัวกลับ หลังและด้านข้างมีแถบสีขาวตามยาวลำตัวปล้องท้อง ก่อนปล้องสุดท้ายมีจุดสีดำ 4 จุด เรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

 โดยข้าวโพดในแปลงนี้อยู่ในระยะแทงช่อดอก มีการกัดกินยอดและใบข้าวโพดแหว่ง ลักษณะคล้ายการกัดกินของตั๊กแตน แต่จะแตกต่างกันตรงที่เห็นมูลหนอนที่ถ่ายออกมาตกค้างอยู่ตามยอดและกาบใบ และจะพบตัวหนอนหลบซ่อนแสงอยู่ที่ยอด หรือโคนกาบใบข้าวโพด นอกจากนี้ยังพบการเข้าทำลายของหนอนทรายบริเวณราก ทำให้ต้นข้าวโพดเหลือง เกิดอาการเหี่ยวเฉา และตายในที่สุด


นายอารีฟ มหัศนียนนท์ เกษตรอำเภอเบตง เล่าวว่า หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ป็นแมลงต่างถิ่นที่เรียกว่า เป็นเอเลี่ยนสปีชี่ส์ จากทวีปอเมริกา ช่วงเป็นผีเสื้อ บินได้ไกล คืนละนับ 100 กิโลเมตร ฉะนั้น ไม่ต้องแปลกใจที่มันสามารถแพร่ระบาดจากแอฟริกา ผ่านมาทางอินเดีย พม่า และไทย โดยการข้ามพรมแดนประเทศมาเรื่อย 

โดยพบการระบาดที่ประเทศไทย เมื่อปลายปี 2561 ในช่วงต้น ระบาดหนักในบางพื้นที่ จนถึงปัจจุบัน  พบการระบาดหนักเกือบทุกภาคของประเทศ หนอนชนิดนี้ นอกจากข้าวโพดที่มันชอบมากแล้ว มันยังสามารถเข้าโจมตีพืชได้อีกกว่า 80 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย พืชตระกูลผักทั้งหมด ไม้ดอกไม้ประดับ  ซึ่งในช่วงที่เป็นผีเสื้อ มันจะชอบข้าวโพดต้นอ่อนมากที่สุด อายุ 10-20 วัน

 โดยเข้าไปวางไข่ในต้นข้าวโพด ตรงที่เป็นส่วนกรวย แล้วฝังตัวอยู่ในนั้น ซึ่งทำให้เกษตรกรมองไม่เห็น ฉีดพ่นสารเคมีที่สัมผัสตัวตาย ก็ไม่ได้ผล เนื่องจากวงจรชีวิตสั้น ราว 30 วัน ทำให้เกิดการดื้อยาสูงมาก สารเคมีที่ใช้ทั่วไปในกลุ่ม คาร์บาเมต ออร์กาโนฟอสเฟต หรือไพริทอย มักไม่ได้ผล ต้องสารเคมีกลุ่มใหม่ๆ ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำจัดการ จะดีที่สุด โดยแม่ผีสื้อ 1 ตัว วางไข่ได้ราว 2,000 ฟอง ใน 1 ชั่วชีวิต ทำให้การระบาดเร็ว และแรง ยิ่งได้ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในบ้านเรา ทำให้เป็นสวรรค์ของหนอนตัวนี้


เกษตรอำเภอเบตง  กล่าวอีกว่า การควบคุมหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดต้องใช้วิธีการที่บูรณการร่วมหลายๆ วิธี- ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ใดเพียงอย่างเดียว ที่สามารถใช้ป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดได้ ต้องใช้ร่วมกันทั้งชนิดเมล็ดพันธุ์ ผลิตภัณฑ์สำหรับคลุกเมล็ด

การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชฉีดพ่นทางใบ และขั้นตอนการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (รวมถึงการปลูกพืชหมุนเวียน) เพื่อการแก้ปัญหา เบื้องต้นเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเบตง ได้แนะนำเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ลักษณะการเข้าทำลาย ตลอดจนการป้องกันกำจัดที่ถูกต้องเหมาะสม

ขอบคุณ โยธิน  ประชามติรัฐ  อ.เบตง จ.ยะลา รายงาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น