โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ยะลา ปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติด คืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตอน “คืนคนดีสู่ครอบครัว”


   ยะลา  ปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติด คืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตอน คืนคนดีสู่ครอบครัว




วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา     ตั้งแต่วันประกาศนโยบายเร่งด่วนคือการควบคุมพื้นที่ไม่ให้เกิดเหตุและการแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นทุกข์ของชาวบ้าน โดยได้เปิดแผนปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นมาถือเป็นภารกิจที่มีความท้าทายเพื่อสนองตอบต่อความคาดหวังของพี่น้องประชาชน ผ่านมาแล้ว 3 เดือนกว่า ของแผนปฏิบัติการภายใต้การขับเคลื่อนของศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ(ศปร.อ.) เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการทุกกลไก อำนาจรัฐ และประชาชน
     สรุปผลการปฏิบัติในภาพรวมในห้วงที่ผ่านมา ดังนี้




1. ด้านการควบคุมพื้นที่ให้ปลอดภัย
- ภายใต้แนวคิดยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วม ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพกำลังประจำถิ่นในนามของชุดคุ้มครองตำบล (ชคต.) ทั้ง 164 ตำบล การจัดตั้งด่านตรวจร่วม 3 ฝ่าย ครบทั้ง 1,988 หมู่บ้าน การใช้กำลังภาคประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการดูแลหมู่บ้าน และชุมชน เฉลี่ยวันละ 35,000 คน
- การบังคับใช้กฎหมายด้วยการติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ทำให้ปะทะกับผู้ก่อเหตุรุนแรง เป็นผลให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิต7คน สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ จำนวน 136 คน ตรวจยึดอาวุธปืนได้ จำนวน 12กระบอกและฐานที่พักพิงพร้อมอุปกรณ์    ยังชีพจำนวนหนึ่ง

2. ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 
- ด้านการป้องกัน  มุ่งเน้นสร้างภูมิคุ้มกัน โดยใช้แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยจิตอาสา ญาลันนันบารูเข้าดำเนินการ ปัจจุบันสามารถขับเคลื่อน กลุ่มพลังจิตอาสาได้แล้วกว่า 10,000 คน ครอบคลุมพื้นที่  37 อำเภอ 200 ตำบล และ 1,500 หมู่บ้าน
- ด้านการบังคับใช้กฎหมาย มุ่งสลายโครงสร้างเครือข่ายการค้ายาเสพติดด้วยการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ค้า




     โดยให้ความเร่งด่วนกับผู้ค้ารายย่อย เน้นการแก้ปัญหาตามแนวทางสันติวิธีจากเบาไปหาหนักใช้มาตรการทางสังคมกับผู้เสพ สำหรับผู้ค้ารายใหญ่ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดผลการปฏิบัติในห้วงที่ผ่านมา สามารถจับกุมผู้ต้องหา ได้ 2,920 คนเป็นผู้ค้ารายใหญ่ 125 คน ผู้ค้ารายย่อย 2,150 คน และผู้เสพ 13,290 คน และสามารถตรวจยึดของกลางยาบ้าจำนวน 1,333,890 เม็ด, ไอซ์ จำนวน 15 กิโลกรัม, เฮโรอีน จำนวน 37 กิโลกรัม, พืชกระท่อม จำนวน 9,389 กิโลกรัม นอกจากนั้น ยังมีคดีที่มีคำสั่งให้ตรวจสอบทรัพย์สิน จำนวน 66 ราย มูลค่าทรัพย์สิน กว่า 49 ล้านบาท และศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์แล้วกว่า 22 ล้านบาทเศษ


- ด้านการบำบัดรักษา  มุ่งเน้นใช้มาตรการทางสังคมภายใต้การมีส่วนร่วมของเวทีสภาสันติสุขตำบล เพื่อนำผู้เสพเข้าบำบัดรักษา ณ สถานที่บำบัดรักษา ฟื้นฟู ที่มีกระจายอยู่ทุกพื้นที่ และยังมีสถานบำบัดฟื้นฟูด้วยหลักศาสนาอิสลาม ที่ปอเนาะ ญาลันนันบารูบ้านเกาะแลหนัง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ารายงานตัวบำบัดรักษากว่า 11,400 คน เข้าสู่กระบวนการบำบัดแล้ว 9,166 คน ติดตามผู้ที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟู จำนวน 2,263 คน สำหรับค่ายพักพิงเพื่อการบำบัดหลักสูตร 35 วัน หรือ แคมป์ 35 ( CAMP 35 ) เป็นโมเดลที่ใช้กระบวนการบำบัด ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ชุมชนบำบัด และใช้เทคแคร์ทีม (Take care team) ประจำตำบล เข้าไปติดตามดูแล ตามห้วงเวลาอย่างใกล้ชิด

- ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  มุ่งดำเนินการต่อผู้ผ่านการบำบัดที่หายขาดจากการติดยาเสพติด ด้วยการฝึกอบรมอาชีพ ตามต้องการ และสมัครใจ เพื่อให้มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข ดำเนินการโดย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต และคืนคนดี สู่สังคม ได้แล้วกว่า 1,890 คน

จากการติดตามประเมินผล การปฏิบัติตามนโยบายเร่งด่วน ทั้งการควบคุมพื้นที่ และการแก้ไขปัญหายาเสพติด            ในห้วงที่ผ่านมา มีผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมที่น่าพอใจเกิดกระแสตอบรับจากทุกภาคส่วนในการเข้ามามีส่วนร่วม               ในการแก้ไขปัญหา
3. การสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เป้าหมายเพื่อให้การยอมรับและเคารพในอัตลักษณ์ที่แตกต่าง และมีพื้นที่กลางทางวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ เปิดเวทีเสวนา และเข้าค่ายพหุวัฒนธรรมในหมู่บ้านนำร่อง 185 ชุมชน และขยายผลให้ครอบคลุมมากขึ้น

4. นโยบายสำคัญที่ดำเนินการในห้วงต่อไป
4.1 การควบคุมพื้นที่
1. ยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วม เน้น 3 เรื่อง
- ฝึกเพิ่มประสิทธิภาพกำลังประจำถิ่นทั้ง 146 ชุดคุ้มครองตำบล
- ฝึกทบทวนแผนประจำตำบลทั้ง 3 แผน ให้มีประสิทธิภาพ
- เพิ่มประสิทธิภาพด่านตรวจร่วม 3 ฝ่าย ทั้ง 1,988 หมู่บ้าน เพื่อสกัดกั้นยาเสพติด สิ่งผิดกฎหมาย และผู้ก่อเหตุรุนแรงที่อาจเข้ามาหลบซ่อนในหมู่บ้าน

2. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลพื้นที่ ชุมชน จึงต้องทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ ไม่ส่งเสริมและสนับสนุน หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ให้ที่พักพิงให้การสนับสนุนผู้ก่อเหตุรุนแรง ผู้ค้ายาเสพติด หากมีการตรวจพบก็จะให้พ้นจากหน้าที่และดำเนินคดีทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด

3. การรักษาความปลอดภัยเป้าหมายอ่อนแอ ชุมชนล่อแหลม  
4.2 การบังคับใช้กฎหมาย เน้นปฏิบัติการเชิงรุกด้วยการจรยุทธ์นอนนอกฐาน เพื่อกดดันและจำกัดเสรีผู้ก่อเหตุรุนแรง ทั้งในหมู่บ้าน หมู่บ้านเชิงเขา และพื้นที่ป่าเขาโดยไม่ยอมให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงมาหลบซ่อนพักพิงในหมู่บ้านอย่างเด็ดขาด
4.3 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
1. ใช้มาตรการทางกฎหมายกับผู้ค้ายาเสพติด เน้นผู้ค้ารายย่อยในหมู่บ้าน เพื่อตัดวงจรยาเสพติดในหมู่บ้าน ชุมชนให้หมดสิ้นไป
2. ใช้มาตรการทางสังคม เพื่อนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยขยายค่ายพักพิงเพื่อบำบัดหลักสูตร 35 วัน ( CAMP 35 ) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

3. พัฒนาและปรับปรุงสถานบำบัดที่ปอเนาะญาลันนันบารูบ้านเกาะหม้อแกง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้อย่างน้อย 1,000 คน
4.4 การสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม ให้เกิดการยอมรับในอัตลักษณ์ที่แตกต่างให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้ความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรม

4.5 ยุทธศาสตร์คนดี  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง โดยไม่สร้างเงื่อนไข และเข้าไปยุ่งเกี่ยว หรือสนับสนุนผู้ก่อเหตุรุนแรง ยาเสพติด และสิ่งผิดกฎหมายทั้งปวง หากพบเบาะแสก็จะมีมาตรการลงโทษสถานหนักทั้งทางวินัยและอาญา โดยไม่ละเว้น พบเบาแสการกระทำความผิด หรือสิ่งผิดปกติ โทร.1341 หรือ ส่งเอกสาร ตู้ ปณ.41 ปณจ.ยะลา 95000 
ทั้งนี้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ยังคงดำรงความมุ่งหมาย

 ในการดูแลพื้นที่ไม่ให้เกิดเหตุ ผู้คนปลอดภัยและการแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นทุกข์ของชาวบ้าน และเป็นภัยต่อความมั่นคงให้บังเกิดผลสำเร็จ อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด กับผู้ค้ายาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ค้ารายย่อยเพื่อตัดวงจรยาเสพติดในหมู่บ้าน และชุมชนให้หมดสิ้นไป สำหรับผู้เสพจะนำเข้ารับ  การบำบัดรักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับ การส่งคืนคนดี สู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของครอบครัว เพื่อร่วมกันสร้างความสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

ขอบคุณ ภาพ/ข่าว อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น