โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

เสวนา สิทธิและหน้าที่สื่อมวลชนกับความรับผิดชอบในบทบาทการร่วมสร้างสันติสุข ‘อดีต บก.อิศรา’ ชี้สื่อเปรียบฐานันดร 5 สามารถช่วยลดขยายความขัดแย้งคลี่คลายไฟใต้

เสวนา สิทธิและหน้าที่สื่อมวลชนกับความรับผิดชอบในบทบาทการร่วมสร้างสันติสุข ‘อดีต บก.อิศรา’ ชี้สื่อเปรียบฐานันดร 5 สามารถช่วยลดขยายความขัดแย้งคลี่คลายไฟใต้ 


โดย ระพี มามะ รายงาน

ที่ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีการจัดเสวนาเรื่อง สิทธิและหน้าที่สื่อมวลชนกับความรับผิดชอบในบทบาทการร่วมสร้างสันติสุข โดย สมาคมสื่อมวลชนชายแดนใต้ ร่วมกับ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายในงานได้รับเกียรติจากนายสามารถ วราดิศัย นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นผู้สรุปการเสวนา


พร้อมทั้ง รศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ กล่าวเปิดการเสวนา , นายภูวสิษฏ์ สุขใส นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (STMA)ร่วมเสวนาโดย นายตูแวดานียา มือรีงิง นักข่าวท้องถิ่นและผู้สื่อข่าวสำนักข่าว BERNAMA และ TV3 , นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส สถานีโทรทัศน์ดิจิตอล นิวส์ทีวี และอดีตบ.ก.ศูนย์ข่าวอิศรา, นายรพี มามะ ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ pptv , ข่าวสด นางมุจรินทร์ ทองนวล ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา


นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส สถานีโทรทัศน์ดิจิตอล นิวส์ทีวี และอดีตบ.ก.ศูนย์ข่าวอิศรา กล่าวว่า สิ่งสำคัญของการทำข่าวในพื้นที่ชายแดนใต้ คือความน่าเชื่อถือของที่มาของข่าวตอนทำงานในศูนย์ข่าวอิศรา คำถามที่ตนได้ยินตลอดคือ



 การเกิดความไม่สงบเป็นเจ้าหน้าที่ทำ หรือ กระบวนการ หรือ เป็นพวกที่แอบอ้าง เหมือนอดีตแม่ทัพท่านหนึ่งพูดว่า มีนักการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล ไปจ้างวัยรุ่นมาก่อเหตุ ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นอย่างนั้นหรือไม่ แต่นี่คือคนในกองทัพ คนที่มีความเข้าใจแบบนี้แล้วมาพูดชี้แจงกับสื่อ ตนมองว่าเกิดอะไรขึ้น ในขณะที่คนทำงานสื่อการใฝ่หาข้อมูล ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

กรณีหนึ่งนายมุคตาร์ กีละ หัวหน้าพรรคประชาธรรม ท่านเป็นนักการเมืองที่ยึดมั่นในแนวทางสันติ สิ่งที่ท่านพูดคือท่านไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงที่นำไปสู่เป้าหมายทางการเมือง โดนยิงเสียชีวิตที่บ้าน โดยคนร้าย 4 คนได้มาดักรอซุ่มยิง ด้วยอาวุธสงคราม

หลังยิงเสร็จได้ขี่จักรยานยนต์หลบหนี แต่เจอ ชรบ. และอส. ตั้งด่าน จนเกิดการต่อสู้คนร้ายถูกยิงตาย 2 ศพ ตนได้คุยกับรองหัวหน้าพรรค เลขาธิการของท่าน เขาพูดว่าถ้าไม่เจอศพ เชื่อ 100% ว่าเป็นเจ้าที่ภาครัฐเป็นคนทำ

เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่คนในสังคมภาคใต้รับรู้ แต่แปลกในสังคมมลายู บางครั้งจะปกปิดไม่พูดในสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนสัมผัสมาจากเพื่อน ๆ มลายู แต่ในสื่อของมลายู เรื่องอะไรที่เป็นชาวมลายูทำจะไม่ถูกพูดถึง แต่เหตุการณ์แบบนี้เป็นข้อเท็จจริง เกิดขึ้นจริง กรณียะโก๊บ หร่ายมณี 5 สิงหาคม 2556 ที่ไม่ทราบว่าใครเป็นคนยิง

นายเสริมสุข กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นคนทำงาน ทำข่าวมาโดยตลอด เวลามีเรื่องอะไร หรือพูดอะไรต้องมีความมั่นใจในสิ่งที่ต้องการนำเสนอมีความน่าเชื่อถือ ที่บอกว่าบทบาทสื่อมีส่วนในเรื่องของการสร้างสันติสุข ตนคิดว่าการสร้างความเข้าใจในสังคม ในพื้นที่ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก พุทธและมลายูอยู่มาด้วยกันด้วยความรัก ตนเห็นภาพงดงามมากมาย

 ทุกคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ไม่ได้เป็นคนเหี้ยมโหด หรือเห็นด้วยกับความรุนแรง คนทำสื่อทั้งพุทธ มลายูจะทำอย่างไรให้สังคมโดยรวมมองเห็น

ตนคิดว่าเรื่องทั้งหมด บทบาทของสื่อ สื่อออนไลน์ ซึ่งก็คือฐานันดรที่ 5 ถ้ามีเป้าหมายเพื่อสันติสุขในพื้นที่ตรงนี้แล้วทำให้ไปสู้เป้าหมายตรงนั้น อย่างน้อยได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง บทบาทของสื่อต้องไม่ขยายความขัดแย้ง ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิด แต่ปัจจุบันตนเห็นผู้ใหญ่และผู้นำศาสนาทั้งสองฝั่งหลายท่านพยายามปรับความเข้าใจ แต่มีพวกสุดโต้งทั้งพุทธและมุสลิมที่พยายามใช้ตรงนี้และขยายความขัดแย้ง ซึ่งตนมองว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก

ด้านนายตูแว ดานียา มือรีงิง  ปัญหาในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวข้องด้วยความหลากหลาย มีเรื่องราวทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของพื้นที่ และปัญหาที่ฝังรากมายาวนาน ในประวัติศาสตร์ เป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทีมีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น ใครเป็นผู้กระทำความรุนแรง เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ที่ต้องปฎิบัติในการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย ตามประจักษ์พยานหลักฐาน ตามข้อเท็จจริง ซึ่งปัญหาในพื้นที่ ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา แต่อย่างใด เป็นเรื่องของบุคคล

 ด้านนายรพี มามะ กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 15 ปี สร้างความสูญเสียและความบอบช้ำ กับคนและพื้นที่ไปมาก ครอบครัว เศรษฐกิจ และอื่นล้วนได้รับผลกระทบ ที่ผ่านมาสื่อมวลชน ไดนำเสนอข่าวสถานการณ์ไฟใต้ บนพื้นฐานมีข้อเท็จจริง

แต่ในส่วนตัว ผู้สื่อข่าวในฐานะผู้ส่งสาร หรือข่าวสาร ไม่ควรใส่ความรู้สึก และนำเสนอคือสิทธิหน้าที่สื่อมวลชน แต่ไม่ควรซ้ำเติม ควรเป็นรายงานตามข้อเท็จจริง และสื่อควรจะมีบทบาทนำเสนอข่าวเชิงบวกมากขึ้น ไม่ใช้แก่ข่าว แต่เป็นข่าวในลักษณะสร้างความเข้าใจ และไม่สร้างความแตกแยก

 ในยุคดิจิตอล หรือยุคโซเชี่ยน อีกทั้งทุกฝ่าย ต้องหันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน ปัญหาการสื่อสารสู่สาธารณชน จะได้เกิดความเข้าใจ นำสู่การแก้พัฒนาและการแก้ไขปัญหา เพื่อนำความสันติ หรือสันติภาพกลับคืนพื้นที่ได้   
งานวันที่ 27 มกราคม 2562 เขียนวันที่ 29 มกราคม 2562

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น