โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ยะลา จัดโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทุเรียนและไม้ผลพื้นบ้านจังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ 2560 ภายในงานมีการประกวดส้มแขก เงาะ ทุเรียน

ยะลา จัดโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทุเรียนและไม้ผลพื้นบ้านจังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ 2560 ภายในงานมีการประกวดส้มแขก เงาะ ทุเรียน


            วันที่ 6 กันยายน 2560  ที่บริเวณสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เป็นประธานพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทุเรียนและไม้ผลพื้นบ้านจังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ 2560   


          โดยมีนายมุขตาร์ มะทา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา กล่าวรายงาน นักธุรกิจ หัวหน้าส่วน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน เข้าร่วมจำนวนมาก ภายในงานมีการจัดประกวดแข่งขันไม้ผลพื้นบ้านด้วย งานมี 2 วัน คือวันที่ 6-7 กันยายน 2560

            นายมุขตาร์ มะทา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา กล่าวว่าจังหวัดยะลา ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร นอกจากยางพาราที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักในพื้นที่และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมากแล้ว

         ไม้ผลเป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดยะลาเป็นจำนวนมากเช่นกัน ไม้ผลที่ขึ้นชื่ออันดับหนึ่งของจังหวัดยะลา คือ ทุเรียน จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีการปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก พันธุ์ทุเรียนที่ปลูก ได้แก่ หมอนทอง ก้านยาว ชะนี ซึ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองได้ชื่อว่า เป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุด นอกจากทุเรียนพันธุ์ดังกล่าวแล้ว

        จังหวัดยะลา  ยังมีการปลูกทุเรียนพื้นบ้าน ซึ่งมีความแตกต่างกับทุเรียนพันธุ์ในเรื่องของรสชาดที่อร่อยและเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ปัจจุบันพื้นที่ปลูกทุเรียนบ้านค่อนข้างน้อยและมีโอกาสที่จะลดลงต่อไปในอนาคต และอาจทำให้ทุเรียนบ้านและไม้ผลพื้นบ้าน เช่น เงาะ ขนุน ส้มแขก และไม้ผลอื่นๆ สูญพันธุ์ได้ ในส่วนคุณภาพของผลิตผลไม้ผลดังกล่าว

      ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่สามารถผลิตให้ได้คุณภาพเนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลบำรุงรักษา แนวทางหนึ่งในการยกระดับคุณภาพของไม้ผลดังกล่าว คือ การดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรกรที่ต้องคำนึงถึงระบบนิเวศน์ หรือเกษตรนิเวศน์ ซึ่งเป็นระบบที่เกษตรกรเข้าไปปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร ตั้งแต่พื้นที่ในลักษณะต่าง ๆ การบำรุงรักษา และการเก็บเกี่ยว เป็นการนำภูมิปัญญาในชุมชนมาทำการเกษตรกรรม

นายมุขตาร์ ยังกล่าวว่าที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยพึ่งพาความหลากหลายของสายพันธุ์พืช  การเพาะปลูกพืชด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลายหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามฤดูกาลที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดศักยภาพในการผลิตที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ทำลายฐานทรัพยากรและสอดคล้องกับกรอบแนวคิดเกษตรยั่งยืน ได้แก่ พึ่งตนเองได้ รักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และเกิดประโยชน์ต่อสังคม สร้างความยั่งยืนในการทำเกษตรกรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ประกอบกับเป็นภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพให้กับประชาชน

นายมุขตาร์ กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียนและไม้ผลพื้นบ้านจังหวัดยะลา สร้างนวัตกรรม แนวคิด และเรื่องราวของทุเรียนและไม้ผลพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดยะลา และบริหารจัดการห่วงโซ่มูลค่าทั้งระบบของทุเรียนพื้นบ้าน เพื่อการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงในอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และขยายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านสู่เกษตรกร

                                กิจกรรมภายใต้โครงการ ประกอบด้วย การเสวนาและบรรยายให้ความรู้
การประกวดทุเรียนและไม้ผลพื้นบ้าน การแข่งขันกินและปอกทุเรียนพื้นบ้าน ประกวดทุเรียนกวนและส้มแขกแห้ง การจัดนิทรรศการด้านการเกษตร กิจกรรมออกร้านเกษตรกร การจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด สินค้า OTOP สินค้าผู้พิการ การจัดสวนดูซง

 ขอบคุณ มูกะตา  หะไร ยะลา
                       



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น