โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สตูล ทุเรียนพันธุ์ “บินหลาดง” คว้ารางวัลชนะเลิศ ในการประกวดทุเรียนพื้นบ้านของดีจังหวัดสตูล(ชมคลิป)



 สตูล ทุเรียนพันธุ์ บินหลาดงคว้ารางวัลชนะเลิศ ในการประกวดทุเรียนพื้นบ้านของดีจังหวัดสตูล(ชมคลิป)


       เมื่อวันที่9สิงหาคม2560ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บริเวณอาคารอเนกประสงค์บ้านหัวควน หมู่ที่ 8 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล เกษตรกรจากอำเภอควนโดนต่างนำทุเรียนพื้นบ้านเข้าร่วมในกิจกรรมการประกวดทุเรียนพื้นบ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมย่อยของงานวันจำปาดะที่อ.ควนโดนจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อประกวดสุดยอดทุเรียนพื้นบ้านชั้นเยี่ยม จากสวนทุเรียนทั่วทั้งอำเภอมาประชันรสชาติและคุณภาพ เป็นการอนุรักษ์ทุเรียนพื้นบ้านกำลังจะสูญหายไปจากอ.ควนโดนทั้งที่ในอดีตเคยมีประชาชนนิยมปลูกกันมาก โดยมีนายจรัญ จันทรปาน นายอำเภอควนโดน พร้อมนายสุทิน นพชำนาญ เกษตรอำเภอควนโดน นายมูสา นาฮัมผล ประธานชมรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผล อำเภอควนโดน ร่วมเป็นสักขีพยาน



        สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ มีผู้ส่งทุเรียนเข้าร่วมประกวด จำนวน 24 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ต่างมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ทำให้คณะกรรมการฯ ถึงกับลำบากใจในการตัดสิน และทุเรียนที่คว้ารางวัลชนะเลิศ คือ ทุเรียนพื้นบ้านพันธุ์ บินหลาดงซึ่งนายสาและ หมาดปันจอร์ เกษตรกรชาวสวนผลไม้ หมู่ที่ 2 ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล ส่งเข้าประกวด เนื่องจากมีสีทองสวย รสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอม หวานนุ่ม อร่อยละมุนลิ้น ได้อรรถรสของทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนพันธุ์อื่นๆ คือ เนื้อหนา เมล็ดลีบ และแต่ละซีกมีทุเรียนเพียง 1 เม็ดเท่านั้น ที่วางเรียงกันดูแล้วสีสันสวยงามสะดุดตา



        ส่วนผู้ที่ชนะเลิศอันดับที่ 2 และ 3 คือ นายเสรี ปาละวัน เกษตรกร หมู่ที่ 6 ตำบลควนสตอ ทุเรียนพันธุ์ บาหวังและพันธุ์ ขาวเหลืองสำหรับรางวัลชมเชย 2 รางวัล คือ นายนเรศ จอหวัง เกษตรกร หมู่ที่ 4 ต.ย่านซื่อ ทุเรียนพันธุ์ เหนียวเหลืองและนายดาโหด หมันเส็น เกษตรกร หมู่ที่ 2 ต.วังประจัน ทุเรียนพันธุ์ การันตัน

   ทั้งนี้ทางอำเภอควนโดน จะนำทุเรียนที่ชนะการประกวดไปโชว์ในงานจำปาดะ ผลไม้และของดีจังหวัดสตูล ประจำปี 2560 ในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ณ บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้าเทคสโก้โลตัสสตูล และทางอำเภอจะให้เจ้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาส่งเสริมขยายสายพันธุ์ เพื่อให้ผลักดันให้เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่จะกลายเป็นของดีของจังหวัดสตูล ในอนาคตต่อไป

ขอบคุณนิตยา แสงมณี // สตูล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น