โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นราธิวาส บริษัทประชารัฐรักสามัคคีนราธิวาส (วิสาหกิจเพื่อสังคม)จัดตั้ง "ธนาคารกระจูด"สืบสานแนวพระราชดำริ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 (ชมคลิป)

  นราธิวาส บริษัทประชารัฐรักสามัคคีนราธิวาส (วิสาหกิจเพื่อสังคม)จัดตั้ง "ธนาคารกระจูด"สืบสานแนวพระราชดำริ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 (ชมคลิป)

         วันนี้ (10 ส.ค. 60) เวลา 09.00 น. ที่กรมทหารราบที่ 151 ค่ายกัลยาณิวัฒนา อำเภอเมือง จ.นราธิวาส นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดกิจกรรมสานพลังเกี่ยวกระจูดสืบสานแนวพระราชดำริ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ซึ่งบริษัทประชารัฐรักสามัคคีนราธิวาส (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดขึ้น พร้อมจัดตั้ง "ธนาคารกระจูด" สำหรับเป็นแหล่งรวบรวมวัตถุดิบสำคัญให้ชุมชนในอนาคต  โดยในครั้งนี้มีชมรมแม่บ้านจากกรมทหารราบที่ 151 ทดลองจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสานกระจูดกับกลุ่มกระจูดที่อยู่ในความดูแล 10 กลุ่ม

        สำหรับการเปิด ธนาคารกระจูดในครั้งนี้ เป็นการอนุญาตให้ประชาชนที่เป็นเป็นที่สมาชิกกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์กระจูดทั้ง 16 ชุมชน สมาชิกกว่า 400 คน ซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ สามารถมาเก็บเกี่ยวกระจูดที่มีการจัดตั้งเป็นรูปแบบของธนาคารกระจูดขึ้นบนเนื้อที่กว่า 1,200 ไร่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มสมาชิกมีผลิตภัณฑ์เพียงพอกับความต้องการของท้องตลาด โดยในช่วงที่ผ่านมานั้นกลุ่มสมาชิกจักสานงานกระจูด ไม่สามารถที่จะผลิตสินค้าต่างๆตามความต้องการของท้องตลาดได้และไม่เพียงพอ


      เนื่องมาจากขาดแหล่งวัตถุดิบ ซึ่งหลังจากนี้เมื่อมีธนาคารกระจูดแล้ว คาดว่าสินค้าผลิตภัณฑ์อันเกี่ยวเนื่องกับการจักสานกระจูด จะมีปริมาณเพียงในการที่จัดส่งได้ตามความต้องการ ซึ่งจะทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีรายได้ต่อหัวต่อคนเดือนละ ประมาณ 3,000 บาท เป็นต่อหัวต่อคนจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 9,000 -10,000 บาท



        อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  กล่าวเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐของรัฐบาล โดยใช้กลไกประชารัฐในพื้นที่  ในการบูรณาการร่วมกัน ยึดความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก พร้อมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ขอบคุณ ปทิตตา  หนูสันทัด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น