โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ยะลา สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย และคณะเข้าพบประธานกรรมการอิสลามเพื่อหาข้อสรุปเสนอไปยังจังหวัดและ ศอ.บต.เพื่อแก้ปัญหากรณีนำนักศึกษาพยาบาลมุสลิมถือป้ายสลากรัฐบาลในงานสมโภชน์หลักเมือง ยะลา


 ยะลา สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย  และคณะเข้าพบประธานกรรมการอิสลามเพื่อหาข้อสรุปเสนอไปยังจังหวัดและ ศอ.บต.เพื่อแก้ปัญหากรณีนำนักศึกษาพยาบาลมุสลิมถือป้ายสลากรัฐบาลในงานสมโภชน์หลักเมือง ยะลา 

          จากกรณีที่กรณีมีการนำนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลยะลาที่คลุมศรีษะ ซึ่งเป็นนักศึกษามุสลิม ออกมาถือป้ายสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลในงานสมโภชน์หลักเมือง ซึ่งไม่เหมาะสมและมีการวิพากษ์วิจารย์อย่างกว้างขวาง ถึงความไม่เหมาะสม และมีการแชร์ภาพในโลกโซเซี่ยล ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 เวลา 13.30 น

        .นายอับดุลอาซิส  ตาเดอินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย  ในฐานะคณะทำงานของสำนักจุฬาราชมนตรี และคณะได้เดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เพื่อเข้าพบนายหะยีสะมะแอ ฮารี ประธานคณะกรรมการอิสลาม เพิ่อปรึกษาหารือถึงกรณีดังกล่าวเพื่อหาทางออกและแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต

          นายอับดุลอาซิส  ตาเดอินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่าวันนี้มาเพื่อเข้าพบนายหะยีสะมะแอ ฮารี ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เพื่อปรึกษาหารือเรื่องที่เกิดขึ้นที่งานสมโภชน์หลักเมืองและงานกาชาดยะลา ถึงกรณีที่นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลราชชนนียะลา มุสลีมะห์ที่คลุมผมแล้วไปออกสลากกาชาดซึ่งขัดกับหลักศาสนาอิสลามซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากที่ระดับผู้นำมุสลิมรับไม่ได้

           เรื่องนี้เป็นปัญหามาโดยตลอด ทุกปีเรื่องงานกาชาด เรื่องแห่หลักเมือง เพราะเป็นเรื่องของ”ซีริค”(สิ่งต้องห้าม)มุสลิมร่วมไม่ได้ จึงมาพบประธานคณะกรรมการอิสลามว่าปีนี้ผ่านไปแล้ว ปีหน้าจะทำอย่างไร เพื่อทำข้อเสนอไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ. บต)ว่างานลักษณะนี้มุสลิมร่วมไม่ได้ เพื่อปีหน้าจะไม่มีปัญหา

         

           นายอับดุลอาซิส  ยังเผยว่าเรื่องดังกล่าวไม่สามารถประณีประนอมได้ เพราะเป็นเรื่อง ไม่ใช่เป็นเรื่องการชี้แจง ในเรื่องนี้หน่วยราชการต้องยอมรับว่าถ้าเป็นหลักการศาสนาอิสลาม มุสลิมร่วมไม่ได้ ไม่มีการประณีประนอม ใส่วนของนักศึกษาเองอาจจะถูกบังคับไป ซึ่งจะต้องเข้าไปคุยกับผู้บริหารวิทยาลัยด้วย ซึ่งวันนี้จะต้องหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะต่อไปผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องรับทราบว่าปีหน้าจะต้องไม่มีเรื่องดังกล่าวอีก เสมือนข้อกำหนดของสำนักจุฬาราชมนตรีออกข้อกำหนด 27 ข้อ เพราะหากปีหน้ามีอีกทางเราจะไปจี้ตามเงื่อนไขข้อตกลงที่ตกลงกันไว้แล้ว หากไม่ทำตามก็จะต้องระดับจุฬาราชมนจรีลงมาคุยเอง

             สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย  และคณะเข้าพบประธานกรรมการอิสลามเพื่อหาข้อสรุปเสนอไปยังจังหวัดและ ศอ.บต.เพื่อแก้ปัญหากรณีนำนักศึกษาพยาบาลมุสลิมถือป้ายสลากรัฐบาลในงานสมโภชน์หลักเมือง ยะลา

           จากกรณีที่กรณีมีการนำนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลยะลาที่คลุมศรีษะ ซึ่งเป็นนักศึกษามุสลิม ออกมาถือป้ายสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลในงานสมโภชน์หลักเมือง ซึ่งไม่เหมาะสมและมีการวิพากษ์วิจารย์อย่างกว้างขวาง ถึงความไม่เหมาะสม และมีการแชร์ภาพในโลกโซเซี่ยล ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 เวลา 13.30 น.นายอับดุลอาซิส  ตาเดอินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย  ในฐานะคณะทำงานของสำนักจุฬาราชมนตรี และคณะได้เดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เพื่อเข้าพบนายหะยีสะมะแอ ฮารี ประธานคณะกรรมการอิสลาม เพิ่อปรึกษาหารือถึงกรณีดังกล่าวเพื่อหาทางออกและแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต

           นายอับดุลอาซิส  ตาเดอินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่าวันนี้มาเพื่อเข้าพบนายหะยีสะมะแอ ฮารี ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เพื่อปรึกษาหารือเรื่องที่เกิดขึ้นที่งานสมโภชน์หลักเมืองและงานกาชาดยะลา ถึงกรณีที่นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลราชชนนียะลา มุสลีมะห์ที่คลุมผมแล้วไปออกสลากกาชาดซึ่งขัดกับหลักศาสนาอิสลามซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากที่ระดับผู้นำมุสลิมรับไม่ได้  เรื่องนี้เป็นปัญหามาโดยตลอด ทุกปีเรื่องงานกาชาด เรื่องแห่หลักเมือง เพราะเป็นเรื่องของ”ซีริค”(สิ่งต้องห้าม)มุสลิมร่วมไม่ได้ จึงมาพบประธานคณะกรรมการอิสลามว่าปีนี้ผ่านไปแล้ว ปีหน้าจะทำอย่างไร เพื่อทำข้อเสนอไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา  ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ. บต)ว่างานลักษณะนี้มุสลิมร่วมไม่ได้ เพื่อปีหน้าจะไม่มีปัญหา

            นายอับดุลอาซิส  ยังเผยว่าเรื่องดังกล่าวไม่สามารถประณีประนอมได้ เพราะเป็นเรื่อง ไม่ใช่เป็นเรื่องการชี้แจง ในเรื่องนี้หน่วยราชการต้องยอมรับว่าถ้าเป็นหลักการศาสนาอิสลาม มุสลิมร่วมไม่ได้ ไม่มีการประณีประนอม ใส่วนของนักศึกษาเองอาจจะถูกบังคับไป ซึ่งจะต้องเข้าไปคุยกับผู้บริหารวิทยาลัยด้วย ซึ่งวันนี้จะต้องหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะต่อไปผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องรับทราบว่าปีหน้าจะต้องไม่มีเรื่องดังกล่าวอีก เสมือนข้อกำหนดของสำนักจุฬาราชมนตรีออกข้อกำหนด 27 ข้อ เพราะหากปีหน้ามีอีกทางเราจะไปจี้ตามเงื่อนไขข้อตกลงที่ตกลงกันไว้แล้ว หากไม่ทำตามก็จะต้องระดับจุฬาราชมนจรีลงมาคุยเอง

ขอบคุณ มูกะตา หะไร ยะลา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น