ญีวอยังซามอ ❤️เพื่อนรักหัวใจเดียวกัน พื้นที่เล็กๆในบ้านต้นกล้า
❤️เพื่อนรักหัวใจเดียวกัน พื้นที่เล็กๆในบ้านต้นกล้า ชวนคุณทวด คุณปู่ คุณย่า นำเรื่องราวสนุกสนานจากประสบการณ์ชีวิต และนิทานปรัมปราเก่าแก่มาเล่าให้เด็กๆ ฟัง เพื่อส่งเสริมการอ่าน การเขียน และเป็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณี วิถีชุมชน
การเล่าเรื่องแบบมุขปาฐะ เพราะพวกเราเชื่อว่าประสบการณ์ชีวิตของ "ผู้สูงอายุ" คือ “บทเรียน” ที่มีประโยชน์สำหรับลูกหลานและเด็กรุ่นใหม่ บ้านต้นกล้าพยายาม ขับเคลื่อนงาน สร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยสร้างให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะชุมชนเป็นของทุกคน จึงเกิดไอเดีย “ปู่ย่าตายายเล่าเรื่อง” (Grandparents Storytelling) เชิญชวน “ผู้สูงอายุ” ที่อยากบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาให้เด็กๆ ในพื้นที่ได้ฟัง มาเป็นอาสาสมัคร พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมการอ่าน การเขียน การสื่อสารเรื่องราวของมนุษย์ ทั้งความรู้ ศิลปะ แนวคิด และวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น ผ่านการเล่าเรื่องราว ให้กับกลุ่มเยาวชนที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเกิดในอนาคต
#ปู่ย่าจ๋าเล่านิทานตาชีให้ฟังหน่อย คณะทำงานต้นกล้าอ่อนเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการส่งเสริมการอ่าน การเขียน เรื่องราววัฒนธรรมและประเพณี วิถีชุมขน ที่ส่งต่อเรื่องเล่ากันมารุ่นต่อรุ่น ให้เกิดเป็นกลุ่มชุมชน ณ ที่แห่งนี้ พวกเราได้เดินทางตามจินตนาการไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น เขาหินล้านงาม เขากะทะ เขาโสม แก่งนางรำ วัดและโรงเรียน ตามเรื่องเล่าที่ได้ฟัง ร่วมกันทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน การเขียน และการเล่าเรื่อง
หลายคนโชคดีที่ปู่ย่า ตายาย ยังไม่เสียชีวิต ก็จะเข้าใจดีว่ามันมีความสุขขนาดไหนที่ได้ฟังเล่าเรื่องราวในอดีตหรือนิทานปรัมปราสนุกๆ ที่ปู่ย่าตายายเคยประสบหรือเคยได้ยินมา ความรู้สึกนั้นแหละ คือหัวใจของงานนี้”
น้องๆกลุ่มต้นกล้าอ่อนที่เข้าร่วมโปรเจ็กต์ได้ผ่านการฝึกอบรมให้สามารถเล่าเรื่องและจัดเวิร์กช็อปเพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับกลุ่มคนทุกวัย เช่น เด็กปฐมวัย เด็กโต คนหนุ่มสาว และผู้สูงอายุ
สมาชิกปู่ย่าตายายเล่าเรื่อง ที่เข้ามาเล่าเรื่องให้ลูกหลานฟังในวันนี้ เล่าความสุข หลังจากเกษียณอายุจากการเป็นครู สาธารณสุข เกษตรกรและรู้สึกว่าตัวเองยังสามารถที่จะทำประโยชน์ให้กับชุมชนได้อีกมาก ด้วยห้วใจรักษ์บ้านเกิด
เยาวชนที่เข้ามาเรียนรู้ มีทั้งพุทธและมุสลิม สิ่งที่ปู่ย่า ตายาย เล่าให้เด็กๆ ฟัง ใช้เทคนิคการละคร เล่าแบบมีความรู้สึกร่วม ช่วยทำให้การเล่าเรื่องน่าสนใจและจดจำได้มากขึ้น
พอเด็กๆ ได้ฟังก็รู้สึกว่าอยากเขียนเรื่องราวของตัวเอง ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของศูนย์ญีวอยังซามอ พวกเราเชื่อว่าเมื่อเด็กๆ เริ่มเขียนเรื่องราวของพวกเขา พวกเขาก็จะกระตือรือร้นในด้านการอ่านด้วย เพราะไม่มีนักเขียนคนไหนที่ไม่เคยอ่านวรรณกรรมที่มีคุณค่า
ประสบการณ์จากการจัดกิจกรรมในวันนี้ เป็นที่พึงพอใจทั้งปู่ย่าและลูกหลานเป็นอย่างมาก อยอวลไปด้วยรอยยิ้มและความสุข
เรื่องเล่ามุขปาฐะ คือ รากฐานของการสื่อสารในอดีต เรื่องราวต่างๆ จะถูกส่งต่อกันมาผ่านการบอกเล่าเรื่องราว และนักเล่าเรื่องอาจจะเดินทางจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เพื่อเล่าเรื่องราวที่พวกเขาได้พบเจอหรือได้รับฟังมา ซึ่งเป็นการเปิดโลกให้กับผู้คนที่เข้ามารับฟังเรื่องราวของพวกเขา
#ปู่ย่าจ๋าเล่านิทานตาชีให้ฟังหน่อย ต้องการที่จะนำเอาประเพณีการเล่าเรื่องแบบนี้กลับมาอีกครั้ง โดยผ่านการเล่าเรื่องของผู้สูงอายุในพื้นที่ เพราะไม่มีอะไรจะสนุกไปกว่าการเล่าเรื่องของปู่ย่าตายายอีกแล้ว
เรื่องราวที่นำมาเล่า สามารถเป็นได้ทั้งประสบการณ์จริงที่พวกเขาเคยพบเจอมาด้วยตัวเอง เรื่องราวในวรรณกรรมเด็กที่โด่งดัง หรือเป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้นมาเองก็ได้ พวกเราไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นวรรณกรรมเท่านั้น แต่เราเชื่อว่าทุกเรื่องราวที่ดีก็สมควรได้รับการบอกเล่า”
#งานที่ยังไม่ถูกมองเห็น
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.ธรรมศาสตร์
#เพื่อนรักต่างศาสนา
#สสมส.
Interfaith Buddy For Peace
ศูนย์ต้นกล้าเพื่อสิทธิมนุษชนและการพัฒนา
#บ้านต้นกล้าสัมมาชีพ
Tonkla Cafe’
ต้นกล้าอ่อน🪴
ต้นกล้าพันธุ์ใหม่-องค์กรเยาวชนจิตสาธารณะ ระดับตำบลชายแดนใต้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น