โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2567

พุทธศาสนิกชน ชายแดนใต้ อำเภอรือเสาะ ศรีสาคร เปี่ยมศรัทธา ประเพณีชักพระ เพื่อพระพุทธศาสนา จังหวัดชายแดนใต้ .สู่..ศูนย์รวมจิตใจศูนย์เยาวชนยะลา (มีคลิป)

พุทธศาสนิกชน  ชายแดนใต้  อำเภอรือเสาะ ศรีสาคร เปี่ยมศรัทธา ประเพณีชักพระ  เพื่อพระพุทธศาสนา จังหวัดชายแดนใต้ .สู่..ศูนย์รวมจิตใจศูนย์เยาวชนยะลา (มีคลิป)


   เมื่อเช้าวันที่ 18 ตุลาคม  2567  บรรดาพี่น้องชาวไทยพุทธจากวัดในพื้นที่ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร จังหวัด นราธิวาส





 แม้เสียงโพน เสียงกลอง ของดินแดนด้ามขวานในวันนี้จะไม่ดังกระหึ่มดั่งวันวาน แต่สำหรับงาน “ประเพณีชักพระ” ยังคงยืนหยัด และเป็นดั่งศูนย์กลางการจัดกิจกรรมเนื่องในวันออกพรรษาของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นเดิมไม่เคยเปลี่ยน


    ปลายด้ามขวาน @ชายแดนใต้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวประเพณีงานบุญใหญ่วันออกพรรษากับ “ขบวนแห่งชักพระอำเภอรือเสาะ- ศรีสาคร สืบสานประเพณี เพื่อพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่..ศูนย์เยาวชน ซึ่งทางเทศบาลเมืองยะลาได้จัดขึ้น


      ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งจัดพิธีเปิดโดยเทศบาลตำบลรือเสาะ ณ วัดราษสโมสร อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส





     บรรยากาศสร้างสีสันเป็นไปอย่างคึกคัก มีขบวนเรือแห่เรือพระจากวัดต่างๆอำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร  เคลื่อนไปตามถนนสายต่างๆโดยมีทั้งชาวบ้าน ที่เป็นผู้ใหญ๋ ผู้สูงอายุ ชายหญิง  รวมถึงเด็กๆ ร่วมแรงร่วมใจกันชักลาก แสดงให้เห็นถึงความรักความสามัคคีของคนในพื้นที่ ก็จะมีการฟ้อนรำ การตีตะโพน อย่างสนุกสนาน ตลอดเส้นท่างการเคลื่อนขบวนเรือพระ  ท่ามกลางรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร





      เพื่อนำขบวนประเพณีชักพระ  สู่ ศูนย์รวมจิตใจ สืบสานประเพณี   ที่ทางเทศบาลนครยะลา  จัดขึ้น เป็นประจำทุกปี

      โดยได้กำหนดจัดงานประเพณีชักพระ ระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม  2567 ณ สนามศูนย์เยาวชน เทศบาลนครยะลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชน ประชาชนชาวยะลาและชาวจังหวัดพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมกันอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีท้องถิ่นภาคใต้ให้คงอยู่สืบไป







       ทั้งนี้ทางเทศบาลนครยะลได้จัดให้มีการประกวดเรือพระ  และให้ประชาชนได้ร่วมกันทำบุญเพื่อส่งเสริมสืบสาน และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น นับเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของของภาคใต้ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธมากยิ่งขึ้น

   ประพันธ์  ฤทธิวงศ์ บก.ปลายด้ามขวาน@ชายแดนใต้/ภาพข่าว/รายงาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น