รมว.ยุติธรรมเตือนกลุ่มลูกหนี้ กยศ.ให้ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ตกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐ หากมาใช้หนี้ กยศ.ไม่ผิดแต่ผิดวัตถุประสงค์ ส่วนกรณีจำเลยตากใบ โดยเฉพาะที่เป็น ส.ส.หนีไม่พ้นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องติดตาม(มีคลิป)
ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน Tel.0824154474
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 14 ก.ย.67 ที่ห้องประชุมโรงแรมอิมพีเรียล อ.เมือง จ.นราธิวาส พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะประกอบด้วยนายกูเฮง ยาวอหะซัน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พล.ต.ท.พัฒนวุธ อังคะนาวิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ โฆษกพรรคประชาชาติและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นราธิวาส เขต 5 นายซูการ์โน มะทา ส.ส จ.ยะลา
ได้ร่วมเดินทางมาเปิดมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและหนี้ครัวเรือน โดยมีนายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี นายวีรพัฒน์ บุณฑริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และนายวินัย หมวกมณี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งประชาชนกว่า 1,000 คน คอยให้การต้อนรับ
ซึ่งมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือหนี้ กยศ.และหนี้ครัวเรือน ในครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในพื้นที่ จ.นราธิวาส โดยในวันนี้มีลูกหนี้ กยศ.ได้เดินทางมาไกล่เกลี่ยหนี้เข้าระบบ จำนวน 1,753 คน รวมจัดงาน 3 ครั้ง มีลูกหนี้มาไกล่เกลี่ยเข้าระบบ รวมทั้งสิ้น 12,776 คน
จากยอดรวมประชาชนที่เป็นลูกหนี้เข้าหลักเกณฑ์ในการปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. จำนวน 57,313 คน ซึ่งลูกหนี้ทุกคนที่เข้าการปรับโครงสร้างหนี้ สามารถจ่ายหนี้ได้ยาวนานถึง 15 ปี โดยที่ผู้ค้ำได้หลุดหนี้จากโครงสร้างทุกราย
ด้าน พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ในส่วนของเงินดิจิตอลวอลเล็ตก้อนแรกจะให้ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือกลุ่มเปราะบาง ซึ่งลูกหนี้ กยศ.จะอยู่ในกลุ่มนี้หรือเปล่านั้นไม่ทราบ ซึ่งเงินดิจิตอลวอลเล็ตเรามีเจตจำนงว่าเงินก้อนนี้ยังไม่อยากให้ไปใช้หนี้ กยศ. แต่ต้องการให้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล เศรษฐกิจจะได้ฟื้นกลับมาดั่งเดิม
นอกจากนี้ พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม ยังได้กล่าวถึงกรณีศาล จ.นราธิวาส ออกหมายจับจำเลย 6 คน และหมายเรียกอีก 1 คน ซึ่งเป็น ส.ส. ในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2560 แบ่งอำนาจโดยชัดเจนโดยอำนาจตุลาการกับอำนาจนิติบัญญัติก็เป็นการเปลี่ยนโครงสร้าง ซึ่งใครก็ตามที่เป็นผู้ต้องหาของตำรวจ แต่ถ้าเป็นจำเลยถ้าศาลรับฟ้องแล้วก็เป็นอำนาจศาลที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ แต่ก็มีข้อแม้เรื่องการประสานงานเขียนระบุว่าไม่ควรจะขัดขวาง
คือจะไปดำเนินคดีในวันประชุมสภา อย่างจำเลยที่ 1 เป็นอำนาจศาล 100 % ที่จะจับในกรณีที่ไม่มาศาลเป็นการออกหมายจับหรือการประสานงานกับศาลเดี่ยวอาจจะกลายเป็นการเข้าใจผิด เพราะในวันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่เคยมีมาก่อน มีเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 2560 เราได้เขียนมาตรา 225 วรรคสุดท้ายว่ากรณีที่ประชาชนไปฟ้อง สส.หรือ สว. ถ้าศาลไต่สวนว่ามีมวลจับเป็นจำเลยแล้ว ซึ่งในมาตรานั้นที่จะไปประสานสภาต้องเป็นแค่ผู้ต้องหาคือระหว่างสอบสวนยังไม่มีการฟ้องศาล ซึ่งเมื่อฟ้องศาลแล้วก็เป็นอำนาจศาล ศาลก็สามารถดำเนินคดีได้ แต่เรามีข้อแม้ในรัฐธรรมนูญว่าไม่ให้ขัดขวางการประชุมของสมาชิกนั้นๆ ดังนั้นทางฝ่ายที่เกี่ยวข้องคงจะประสานศาลเพราะในข้อบังคับของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งไม่เกี่ยวกับประธานสภา
“ โดยในส่วนของรัฐบาลนั้นถ้ามีคำสั่งของเจ้าพนักงานที่มีอำนาจออกหมายถือคำสั่งศาลมา เช่นให้มีหมายจับ หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยก็จะต้องเอาตัวมาให้ได้ซึ่งเป็นหน้าที่ ซึ่งตอนนี้จำเลยมี 6 คน ที่ศาลมีหมายเราก็ต้องจัดการตามหมาย ซึ่งในหลักการเขาจะส่งไปที่ตำรวจ แต่ก็หนีไม่พ้นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องติดตาม ซึ่งก็จะมีการประสานงานโดยที่ศาลจะนัดวันอยู่แล้ว “ พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม กล่าว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น