สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาฯ ระดมพลังสมอง ผลักดันนโยบายป้องกันการคุกคามทางเพศในองค์กรสื่อหวังยกระดับมาตรฐานการทำงานของนักข่าวสตรีให้มีความปลอดภัยทางเพศในการทำงาน (มีคลิป)
วันที่ 4 ส.ค. 2567 มีการจัดงานเสวนานโยบายและกลไกการป้องกันการคุกคามทางเพศในองค์กรสื่อ ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา ชั้น 3 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีวิทยากรร่วมเสวนาจากภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคสื่อมวลชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจ
วิทยากรที่ร่วมเสวนา อาทิ คุณจะเด็จ เชาวน์วิไล มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล , รศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหิดล , ดร.ชเนตตี ทินนาม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ , ดร.โกสุม โอมพรนุวัฒน์ วิทยาลัยสหวิทยาการ ธรรมศาสตร์ , คุณอุษา มีชารี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และตัวแทนสื่อมวลชน
ในการเสวนาดร. ชเนตตี ทินนาม อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ปัญหาการคุกคามทางเพศในการทำงานถือเป็นปัญหาระดับโลก สิ่งที่องค์กรต้องเข้าใจคือการคุกคามทางเพศในองค์กรนั้นยังเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในหน้าที่การทำงานส่งผลให้
องค์กรได้รับผลกระทบอย่างยิ่งด้วย
ขณะที่อุปนายกสมาคมนักข่าวฯ คุณอุษา มีชารี กล่าวว่าองค์กรสื่อควรตระหนักเรื่องเพศและการคุกคามทางเพศ เพราะคนทำข่าวเรียกร้องสิทธิให้คนอื่นแต่ไม่เคยเรียกร้องสิทธิให้กับตัวเอง สื่อต้องผลักดันประเด็นนี้เพื่อคืนกลับสิทธิและเสรีภาพให้กับสื่อเอง เพื่อนักข่าวสามารถเรียกร้องสิทธิให้กับสังคมต่อไป
การจัดเสวนาประกอบด้วยความร่วมมือจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลและ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็น
"จุดเริ่มต้น"ในการเปลี่ยนแปลงสังคม สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงานของนักข่าวสตรี เพื่อป้องกันปัญหาการคุกคามทางเพศในองค์กรสื่อ
ภาพข่าว
คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น