โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา ร่วมเครือข่ายไทยพุทธเกือบ 200 คน เดินทางยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯยะลา ส่งต่อ รมว.ยุติธรรม กรณีไม่เห็นด้วยกับยกเลิก พรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ จชต.(มีคลิป)

 ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา ร่วมเครือข่ายไทยพุทธเกือบ 200 คน เดินทางยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯยะลา ส่งต่อ รมว.ยุติธรรม กรณีไม่เห็นด้วยกับยกเลิก พรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ จชต.(มีคลิป) 





จากกรณีสภาเครือข่ายปัญญาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 6 ต.ค.66 ขอให้รัฐบาลยุติการบังคับใช้พระราชกำหนดหารบริหารราชการฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) พ.ศ.2548 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีผลหมดการบังคับใช้ในวันที่ 20 ตุลาคม 2566 นี้  




เมื่อวันที่ 8 ต.ค.66 ร.ต.อ.หิรัญย์เศรษฐ แสงเทียน ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา/อดีตข้าราชการตำรวจ ร่วมกับเครือข่ายไทยพุทธในพื้นที่จังหวัดยะลา เครือข่ายไทยพุทธบ้านสันติ 1-2 เครือข่ายไทยพุทธบ้านจุฬาภรณ์ 7 ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา กลุ่มเครือข่ายไทยพุทธตำบลหน้าถ้ำ กลุ่มชาวไทยพุทธคนรักในหลวงจังหวัดยะลา กว่า 200 คน  ได้เดินขบวนมายังบริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดยะลา อ.เมือง จ.ยะลา พร้อมด้วยการถือป้ายเขียนข้อความ เพื่อยื่นหนังสือปิดผนึก ให้กับนายอำพล พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เพื่อส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ขอให้พิจารณาในเรื่องดังกล่าว 


ร.ต.อ.หิรัญย์เศรษฐ แสงเทียน ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธ จ.ยะลา กล่าวว่า การเดินทางมายื่น จดหมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผ่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเพื่อต้องการ ให้ยังคง มี พ.รก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ว่า สถานการณ์ในขณะนี้จะเบาบางลง แต่เหตุการณ์ก็ยังไม่สงบ เพื่อคนไทยพุทธที่อยู่ในพื้นที่ เพราะที่ผ่าน คนไทยพุทธ 


คือเหยื่อของเหตุการณ์ที่ถูกกระทำจากผู้ก่อเหตุรุนแรง การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าเป็นคนดีไม่เดือดร้อน คนทีเดือดร้อน คือ ผู้ก่อเหตุที่กระทำความรุนแรง เครือข่ายไทยพุทธ จึงอยากให้คง พ.ร.ก ฉบับนี้ไว้ก่อน เพราะเหตุรายวันยังเกิดขึ้นตลอดเวลา สำหรับที่มีบางกลุ่ม เสนอให้ยกเลิกนั้น ก็ยากให้มาถามทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ อย่างชาวไทยพุทธ ที่ทุกวันนี้ รู้สึกเหมือนเป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่อยู่แล้ว ว่าเขาอยากให้ยกเลิก หรือไม่ยกเลิก ที่มารวมตัวเรียกร้องในวันนี้ อยากให้เห็นว่าเรายังต้องการความปลอดภัยในพื้นที่ 





และมี พ.ร.ก.ฉบับนี้ที่สามารถใช้ควบคุมสถานการณ์ สร้างความปลอดภัยให้ประชาชนได้ ทั้งนี้ ตนเอง เป็นข้าราชการตำรวจที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมาเคยประสบเหตุการณ์ปะทะมาแล้ว ทราบในสถานการณ์ดี ถึงแม้จะเกษียณมาแล้ว แต่ก็ยังทำหน้าที่ขับเคลื่อนเพื่อให้คนไทยพุทธอยู่ในพื้นที่ได้ เพราะจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่ไม่ว่าเชื้อชาติใด ศาสนาไหน ก็สามารถอยู่ร่วมกัน 


ทั้งนี้ ในหนังสือ ได้ขอให้มีการทบทวน พิจารณา มาตรการปกป้อง คุ้มครองชาวพุทธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียน เรียนท่านรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ตามที่สภาเครือข่ายปัญญาชนจังหวัดชายแดนภาดใต้ ออกแถลงการณ์ลงวันที่ ต.ค.66  ขอให้รัฐบาลยุติการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) พ.ศ.2548 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้นกลุ่มชาวไทยพุทธตามที่ปรากฎรายชื่อในท้ายจดหมาย ฉบับนี้ เห็นว่าการเรียกร้องของสภาเครือข่ายฯ ดังกล่าว พิจารณาเพียงแค่การบั่นทอนเสรีภาพ และไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่สภาเครือข่ายฯ ไม่เคยถามชาวพุทธที่เป็นคนกลุ่มเล็กๆ 

ในพื้นที่ เลยว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อความพยายามยกเลิก พ.ร.ก.นั้น หรือไม่ อย่างไร และเรายังมองไม่เห็น ว่าการยกเลิก พ.ร.ก.ดังกล่าว จะช่วยให้เรามีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้นอย่างไร เรายังคง เห็นการถูกข่มขู่ไม่ให้ชาวพุทธเข้าบางพื้นที่ เรายังเห็นการลอบทำร้ายประชาชนชาวพุทธมากขึ้นในระยะ หลายเตือนที่ผ่านมา เรายังคงถูกองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ละเลย เพิกเฉยต่อโศกนาฏกรรมที่ชาวพุทธ ได้รับจากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงตลอดมา การเรียกร้องของสภาเครือข่ายฯ จึงถือเป็นการปิดบังเสียงจากกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในพื้นที่ เดียวกัน ซึ่งเราอยากตั้งคำถามว่า

 หากเกิดเหตุชาวพุทธถูกลอบทำร้ายจากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง สวนยาง สวนผลไม้ถูกฟัน ทำลาย สภาเครือข่ายฯ จะออกมารับผิดชอบหรือไม่ หรือ จะมี สส.ในพื้นที่คนใดยืดอก ยกมือเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำนี้บ้าง สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี บีบคั้นให้ชาวพุทธ ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนของตนออกนอกพื้นที่มาโดยตลอด เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของตนและ ครอบครัว จนสัดส่วนการเหลืออยู่ของชาวพุทธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลงเรื่อยๆ 

อย่างไรก็ตาม ครอบครัวชาวพุทธที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ ก็ยังมีความหวังถึงความปลอดภัยด้วยกฎหมายพิเศษที่ทางการ นำมาใช้ในพื้นที่ การเรียกร้องขอยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ของสภาเครือข่ายฯ จึงเสมือนการละเลย ไม่อินังขังขอบ ต่อความปลอดภัยของชาวพุทธ และคำนึงถึงแต่ประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งแม้แต่ สส.ใน พื้นที่ ที่อ้างตนว่าเป็นผู้แทนของประชาชน และจะดูแลสารทุกข์สุขดิบของประชาชน ก็ดูเหมือนจะเฟิกเฉย ต่อความเป็นอยู่และความปลอดภัยของชาวพุทธ ยิ่งไปกว่านั้นยังออกมาแสดงตนสนับสนุนการยกเลิก พ.ร.ก.ดังกล่าวอย่างชัดเจน



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น