โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เปิดปม“กรณ์”ทิ้งหัวหน้าชาติพัฒนากล้า ขัดแย้งเกินเยียวยา ;นายหัวไทร

 เปิดปม“กรณ์”ทิ้งหัวหน้าชาติพัฒนากล้า ขัดแย้งเกินเยียวยา ;นายหัวไทร

……,


เพื่อรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้งที่พรรคชาติพัฒนากล้า ไม่สามารถนำทีมผู้สมัคร ส.ส.เข้าสภาได้ตามเป้า 10 คน ทำให้กรณ์ จาติกวณิช ลาออกจากหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า


มันเป็นเหตุผลที่พื้นฐานเกินไปในการอธิบายเหตุผลทางการเมือง ในการทิ้งพรรคที่ปลุกปั้นมากับมือ ในสถานการณ์ความพร้อมมากกว่า “พรรคกล้า” ที่กรณ์สร้างขึ้นมาเอง เพราะพรรคชาติพัฒนากล้า ก่อกำเนิดขยายความมาจากพรรคชาติพัฒนา ที่เคยยิ่งใหญ่มาก่อน มี FC มีฐานที่มั่นเป็นนครราชสีมา (โคราช) ที่ชัดเจน ผิดกับพรรคกล้า ที่ก่อร่างสร้างตัวมาจากบุคคล ไม่ว่าจะเป็นกรณ์ หรือ อรรถวิชย์ สุวรรณภักดี และอีกหลายคน ที่เกือบทั้งหมดไม่มีฐานที่มั่น หรือถึงจะมีการไม่ชัดเจน หรือมั่นคงแข็งแรงพอ ทั้งๆที่เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ

กรณ์เคยเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ได้รับการยกย่องในฝีไม้ลายมือในระดับสากล เป็นรัฐมนตรีคลังในระดับโลก อรรถวิชย์ก็มีภูมิรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในระดับที่พูดได้ว่าไม่ธรรมดา

  

แต่การนำพาพรรคกล้าไปในท่ามกลางพายุร้าย กับช่วงเวลาของ “ธนาธิปไตย” จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อบวกรวมกับรัฐธรรมนูญที่ไม่เอื้อต่อพรรคเล็ก หรือพรรคขนาดกลาง กรณ์ จึงต้องตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมออกไปร่วมสังฆกรรมกับพรรคชาติไทยพัฒนาที่มี “สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” กุมบังเหียนอยู่ และคิดว่าน่าจะเดินไปได้ มีฐานที่มั่นที่ชัดเจนในบางพื้นที่ ยิ่งถ้าได้กรณ์-อรรถวิชย์ มาช่วยชูโรงด้านเศรษฐกิจ จึงน่าจะเดินฝ่าพายุร้ายไปได้ มีเป้าหมายที่ไม่เกินจริงแค่ 10 ที่นั่ง


“ชาติพัฒนากล้า” จึงก่อกำเนิดขึ้นจากการผสมพันธุ์ของ “ชาติพัฒนา-กล้า” ภายใต้เงื่อนไข ทั้งเรื่องการจัดสรรคนลงสมัครรับเลือกตั้ง และงบประมาณในการเลือกตั้ง “กรณ์”ขอจัดสรรผู้สมัครโซนภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะเดิมพรรคชาติพัฒนาก็ไม่ได้มีฐานอะไรทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคใต้ “สุวัจน์” จึงได้โควต้าจัดสรรผู้สมัครภาคอิสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และบางเขตถ้าสายสุวัจน์ไม่มีใครพร้อม กรณ์ก็สามารถเสนอคนเข้าสู่การพิจารณาได้


ดูเหมือนทุกอย่างจะราบรื่น แต่ปัญหาใหญ่ก็เกิดขึ้นจนได้ในการจัดสรรคนลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ และการว่งตัวคาดิเดตนายกรัฐมนตรี เกิดการโต้เถียงกันรุนแรงว่า ใครจะเป็นเบอร์ 1 ของบัญชีรายชื่อ “สุวัจน์”เสียงแข็งว่าต้องเป็นคนของเขา คือ หมอวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง แต่กรณ์แย้งว่า “ผมคือหัวหน้าพรรค ควรจะได้เบอร์ 1 “ ซึ่งชัวร์ว่าจะได้เป็น ส.ส. การเจรจาเดือดพล่านมากขึ้น สุดท้าย กรณ์ต้องยอม แต่ไม่ขอลงสมัคร ส.ส.ทั้งเขต และบัญชีรายชื่อ


ผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคชาติพัฒนากล้า จึงไม่มีชื่อของ กรณ์ ปรากฏอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลก แต่ไม่มีใครตั้งข้อสังเกตเท่านั้นว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่ใช่แค่นั้นครับ ไปตรวจสอบดูว่า “คาดิเดตนายกรัฐมนตรี” ของพรรคชาติพัฒนากล้า” มีใครอยู่อันดับ 1 และ กรณ์ ในฐานะหัวหน้าพรรค อยู่ในลำดับที่เท่าไหร่ ในเวทีดีเบตจึงไม่ค่อยปรากฏชื่อของกรณ์ร่วมวงด้วย เพราะกรณ์ไม่ใช่ผู้สมัคร ส.ส.และคาดิเดตนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ใช่ลำดับแรกๆด้วย

กรณ์ และพลพรรคจากพรรคกล้า ก็ต้องหวานอมขมกลิ่นไปกับช่วงเวลาของการเลือกตั้งที่ไม่อยากให้ประชาชนเห็นถึงความขัดแย้ง-ไม่ลงรอยกัน เดินหน้าหาเสียง “กัดลิ้น-กลืนเลือด”ไป งบประมาณในการหาเสียง “เลือดก็เหือดแห้ง” ไม่มาจริงตามที่คุยไว้ หนักเข้าไปอีก หลังเสร็จศึกเลือกตั้ง “กรณ์”ไปต่างประเทศ ดีลการจัดตั้งรัฐบาลจากพรรคก้าวไกลก็มา แม้จะมีแค่ 2 เสียงก็มีความหมาย แต่ดีลไม่ได้ไปที่กรณ์ คงจำกันได้ว่า ชาติพัฒนากล้า 2 เสียง จะเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล แต่ดีลล้ม เพราะกรณ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคอยู่ต่างประเทศ ออกแถลงการณ์ข้ามน้ำข้ามทะเลมา “ชาติพัฒนากล้า” ไม่ร่วมกับพรรคก้าวไกลในการตั้งรัฐบาล

หมากเกมส์นี้ “หักเป็นหัก งอเป็นงอ” จาติกวณิช ไม่ยอมรับสังฆกรรม กับสายปฏิรูปสถานบันแน่นอน ไม่เอาด้วยกับการแก้ ม.122 เกมส์จึงจบลงด้วยกับการที่ “กรณ์” ลาออกจากหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า แต่ยังไม่พ้นจากสมาชิกพรรคนะ


บางคนตั้งคำถามว่า กรณ์จะไปไหน จะกลับประชาธิปัตย์ไหม ถ้าอภิสิทธิ์กลับมาเป็นหัวหน้าพรรค ก็เป็นปุจฉาที่น่าสนใจ ติดตามต่อไป แต่บางคนบอกว่า ถ้ามีการแข่งขันอภิสิทธิ์จะไม่ลงชิง และเปิดทางให้กรณ์สู้กับนายกฯชาย

โดยมีทีมนายหัวชวน-บัญญัติ-นิพนธ์ และอีกหลายคนเป็นตัวช่วย ดันกรณณ์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

แต่การที่กรณ์ลาออกจากประชาธิปัตย์ไปก่อนหน้า และถ้าจะกลับมาใหม่ก็ต้องสมัครสมาชิกใหม่ เท่ากับเริ่มต้นใหม่ ขาดคุณสมบัติการลงชิงหัวหน้าพรรคที่ระเบียบพรรคระบุต้องเป็นสมาชิก 5 ปี แต่มีทางออกโดยใช้เสียง 3/4 ของที่ประชุมใหญ่ยกเว้นการบังคับใช้ระเบียบพรรคข้อนี้


 #นายหัวไทร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น