ตัวเลขส่งออกโต ;วิกฤติโลกกับตัวเลขที่ไม่น่าเกลียด ส่งออกโตตลอด
….
น่าสนใจยิ่งสำหรับตัวเลขการส่งออกสินค้าของไทยในภาวะวิกฤติ
ทั้งวิกฤติเศรษฐกิจโลก วิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน วิกฤติราคาน้ำมัน และวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด
19 แต่ตัวเลขการส่งออกของไทยปี 2565 กลับโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มาชะลอตัวบ้างก็ในช่วงปลายปี อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ภาวะเงินเฟ้อ
และอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางทั่วโลกประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
ย้อนกลับไปดูตัวเลขการส่งออก
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออกเดือนพฤษภาคมปี 2565 มีมูลค่า 23,057.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น
714,885.27 ล้านบาท ขยายตัว 41.59% ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 11 ปี
สินค้าเกษตร-อาหาร ดีต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลสำคัญมี 2 ข้อ คือ 1. เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น และ 2. เพราะแผนการส่งออกและภาคปฏิบัติจริงที่กระทรวงพาณิชย์ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนมาโดยต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาในรูป กรอ.พาณิชย์ ทำให้สามารถแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้รวดเร็ว และมีการจัดทำแผนเชิงรุกร่วมกันในปี 2564 ที่มีเป้าหมายและรายละเอียดชัดเจนแต่ต้น ทำให้ตัวเลขการส่งออกปีนี้ค่อยๆ เป็นบวกตามลำดับ
สำหรับตลาดสำคัญนั้นประกอบด้วย จีน
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน เอเชียใต้ อาเซียน เป็นต้น
สินค้าที่สำคัญประกอบด้วย สินค้าเกษตรและอาหาร
สำหรับอาหารเฉพาะผักผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง
ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เร่งรัดแก้ไขปัญหาอุปสรรคบริเวณด่านชายแดนและด่านข้ามแดนเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกผักผลไม้แช่เย็นแช่แข็งเป็นบวกถึง 31.9% โดยเฉพาะ ทุเรียน
บวกถึง 95% และสินค้า Work From Home ผลิตภัณฑ์ป้องกันโควิด เคมีภัณฑ์
เม็ดพลาสติก อาหารสัตว์เลี้ยง และรถยนต์ เป็นต้น
กระทรวงพาณิชย์ยังเดินหน้าตามแผน
เร่งรัดเปิดตลาดใหม่ให้มีผลทางภาคปฏิบัติเป็นรูปธรรม
รุกการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดนต่อเนื่องต่อไป
เร่งส่งเสริมการส่งออกและการเจรจาการค้า
รวมทั้งการทำสัญญาส่งสินค้าออกด้วยระบบออนไลน์
เร่งรัดดำเนินการ MINI-FTA ทั้งกับไห่หนาน
หรือมณฑลไหหลำของจีน รัฐเตลังคานาของอินเดีย เมืองคยองกีของเกาหลี
หรือโคฟุของญี่ปุ่น
เร่งสร้างแม่ทัพการค้าและแม่ทัพการส่งออกรุ่นใหม่ของไทยเพื่อเป็นอนาคตสำหรับการนำเงินเข้าประเทศต่อไปในเรื่องโครงการปั้น
Gen Z เป็น CEO ซึ่งปีนี้มั่นใจว่าสร้างได้ครบ
12,000 คนทั่วประเทศแน่นอน
ความพยายามของกระทรวงพาณิชย์ ภายใต้การกำกับของจุรินทร์
ปรากฏผลชัดขึ้นในไตรมาสต่อมา เมื่อวันที่ 26 กันยายน นายจุรินทร์ เปิดเผยว่า
เดือนสิงหาคม 2565 ไทยส่งออกมีมูลค่า 23,632 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวอยู่ที่ 7.5%
คิดเป็นเงินไทย 861,169 ล้านบาท ขยายตัว 20.4% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
หรือขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ
และยุทธปัจจัย ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 27,848 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 21.3%
คิดเป็นเงินไทย 1,026,654 ล้านบาท ขยายตัว 35.5% ทำให้ไทยขาดดุลการค้า 4,215
ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 165,485 ล้านบาท ดังนั้น 8 เดือนแรกปี 2565
(มกราคม-สิงหาคม) ไทยส่งออกรวม 196,446 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 11%
คิดเป็นเงินไทย 6.63 ล้านล้านบาท ขยายตัว 21.9% นำเข้ารวม 210,578 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขยายตัว 21.4% คิดเป็นเงินไทย 7.21 ล้านล้านบาท บวก 33.4% และขาดดุลสะสม 14,131
ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 583,424 ล้านบาท
สินค้าส่งออกในเดือนสิงหาคม 2565 ที่ขยายตัวได้ดีจากสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวอยู่ที่ 27.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย 8 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวกว่า 29.1% คิดเป็นมูลค่ากว่า 16,015 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 541,555 ล้านบาท โดยกลุ่มอาหารแปรรูปที่มีความต้องการสูงในเดือนสิงหาคม 2565 เช่น ข้าว น้ำตาล อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไก่สด อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องดื่ม และไอศครีม เป็นต้น
ขณะที่ สินค้าอุตสาหกรรม
กลับมาขยายตัวสูงอีกครั้งหลังชะลอตัวในเดือนก่อน อยู่ที่ 9.2%
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย 8 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวกว่า 9%
คิดเป็นมูลค่ากว่า 153,044 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 5.16 ล้านล้านบาท
ซึ่งสินค้าที่มีความต้องการสูงในเดือนสิงหาคม 2565 เช่น การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) และผงวงจร เป็นต้น
ส่วนกลุ่มสินค้าที่ยังติดลบอยู่ ได้แก่ สินค้าเกษตร ในเดือนสิงหาคม 2565 ติดลบ
10.3% เนื่องจากยังติดปัญหาเรื่องผลไม้สด และการส่งออกยางพารา
แต่พอเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2565
การส่งออกชะลอตัวเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น และการปรับอัตราดอกเบี้ย
นายจุรินทร์ เปิดเผยว่า
การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า 22,308.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว
6.0% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 2.0%
ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 23,650.3
ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5.6% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1,342.3 เหรียญสหรัฐ
ส่วนการส่งออกภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2565
(มกราคม-พฤศจิกายน) การส่งออก มีมูลค่า 265,349.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 7.6%
การนำเข้า มีมูลค่า 280,438.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวะ 16.3%
ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 15,088.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
ถ้าพิจารณากันในเชิงลึกกันตัวเลขที่ปรากฏ ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับบางประเด็นกับนายจุรินทร์
โดยเฉพาะการส่งออก ที่เป็น 1 ใน 4
ของเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ตัวเลขไม่น่าเกลียดอะไรกับภาวะวิกฤติของโลก
#นายหัวไทร
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น