โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เปอร์โพล เผยผลสำรวจ ประชาชน พอใจความสำเร็จ นายกฯ จัดเอแปค คู่จุรินทร์ฯนำทัพเจรจาธุรกิจ

 เปอร์โพล เผยผลสำรวจ ประชาชน พอใจความสำเร็จ นายกฯ จัดเอแปค คู่จุรินทร์ฯนำทัพเจรจาธุรกิจ

……


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ประเมิน เอเปค กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถามผู้ตอบและเครื่องมือวัด จำนวน 1,156 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา

เมื่อสอบถามถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยและประชาชนได้รับจากการจัดประชุม เอเปค ในประเทศไทยต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังวิกฤตโควิด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.6 ระบุเกิดประโยชน์มาก ถึง มากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 10.3 ระบุปานกลาง และร้อยละ 4.1 ระบุน้อยถึงไม่เกิดประโยชน์เลย

ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.5 พอใจมากถึงมากที่สุดต่อ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีผลงานจัดประชุม เอเปคในประเทศไทย ดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังวิกฤตโควิด ในขณะที่ ร้อยละ 11.4 พอใจปานกลาง และร้อยละ 6.1 พอใจน้อยถึงไม่พอใจเลย

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 พอใจมากถึงมากที่สุดต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ทำหน้าที่หารือกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น และอื่น ๆ ในการค้าระหว่างประเทศกับสินค้าไทย เช่น ข้าว กล้วยไม้ และอื่น ๆ และเมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนในอีก 6 เดือนข้างหน้าต่อเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นกว่านี้ที่เป็นผลพวงจากการประชุมเอเปค ครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.8 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 22.7 เชื่อมั่นปานกลาง และร้อยละ 11.5 เชื่อมั่นน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่พอใจต่อการจัดประชุมเอเปคในประเทศไทยและพอใจต่อ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาและนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจในการทำหน้าที่หารือกับต่างประเทศในด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตรด้วยการเปิดกว้างในทุกโอกาสสร้างความสมดุลในการเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤตโควิด โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นกระแสตื่นตัวไปทั่วโลกด้วยโมเดลเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่มุ่งเน้นไปยังการสร้างความสมดุลและเปิดทุกโอกาสในการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า บทบาทสำคัญของการค้าการลงทุนและการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนในเวลานี้ การลดความเหลื่อมล้ำ การขจัดความยากจน ยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น การปฏิรูปการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่หลังวิกฤตโควิดที่มุ่งเน้นการจัดสภาพแวดล้อมเงื่อนไขทางการค้าและการลงทุนที่เสรี เปิดกว้าง เป็นธรรม ไม่แทรกแซง ไม่เลือกปฏิบัติ มีความโปร่งใสใช้ข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ถูกต้องครอบคลุมและพยากรณ์อนาคตของการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างแม่นยำ เพื่อรักษาความสมดุลของการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจจากการประชุมเอเปคครั้งนี้ที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพกับรัฐบาลจัดงานประชุมเอเปคครั้งนี้ได้สำเร็จเป็นที่พึงพอใจและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนทั้งประเทศตามผลโพลที่ค้นพบครั้งนี้

 

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดประชุม เอเปค ในประเทศไทยต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังวิกฤตโควิด

ลำดับ

การประเมิน ของประชาชน

ร้อยละ

1

เกิดประโยชน์มาก ถึง มากที่สุด

85.6

2

ปานกลาง

10.3

3

น้อย ถึง ไม่เกิดประโยชน์เลย

4.1

 

รวมทั้งสิ้น

100.0

 

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีผลงานจัดประชุม เอเปคในประเทศไทย ดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังวิกฤตโควิด

ลำดับ

ความพอใจ ของประชาชน

ร้อยละ

1

พอใจ มาก ถึง มากที่สุด

82.5

2

ปานกลาง

11.4

3

น้อย ถึง ไม่พอใจเลย

6.1

 

รวมทั้งสิ้น

100.0

 

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ทำหน้าที่หารือกับ ประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น และอื่น ๆ ในการค้าระหว่างประเทศกับสินค้าไทย เช่น ข้าว กล้วยไม้ และอื่น ๆ

ลำดับ

ความพอใจ ของประชาชน

ร้อยละ

1

พอใจ มาก ถึง มากที่สุด

81.9

2

ปานกลาง

12.7

3

น้อย ถึง ไม่พอใจเลย

5.4

 

รวมทั้งสิ้น

100.0

 

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นกว่านี้ ที่เป็นผลพวงจากการประชุม เอเปค ครั้งนี้

ลำดับ

ความเชื่อมั่น ของประชาชน

ร้อยละ

1

เชื่อมั่น มาก ถึง มากที่สุด

65.8

2

ปานกลาง

22.7

3

น้อย ถึง ไม่เชื่อมั่นเลย

11.5

 

รวมทั้งสิ้น

100.0

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น