โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ประชุม คณะ สล.3 รับฟังทุกข้อเสนอแนะ ชูประเด็นลดความรุนแรง สร้างสวรรค์สันติสุขในพื้นที่

  พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ประชุม คณะ สล.3 รับฟังทุกข้อเสนอแนะ  ชูประเด็นลดความรุนแรง สร้างสวรรค์สันติสุขในพื้นที่



ประพันธ์  ฤทธิวงศ์  บก.ปลายด้ามขวาน@ /สล.3 กลุ่มงานสื่อมวลชน การสื่อสาร และเทคโนโลยี่/รายงาน

 


     เมื่อวันที่ (13 พฤศจิกายน 2565) เวลา 13.30 น. ที่ห้องน้ำพราว 1 โรงแรมซีเอส ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ เป็นประธานการประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566  พร้อมด้วย พลโท อุทิศ อนันตนานนท์ แม่ทัพน้อยที่ 4 , พลตรี ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า  , พลตรี ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า , พลตรี วรเดช เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 / ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี


     เพื่อขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เอื้อต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุข โดยการสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจกับประชาชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกภาคส่วน โดยมี ผู้นำศาสนา , ผู้ทรงคุณวุฒิ , คณะทำงานประสานงานระดับพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา , ปัตตานี , ยะลา , นราธิวาส) ตลอดจนสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุม ก่อนร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งแก่แม่ทัพภาคที่ 4 อีกด้วย

 


      พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ กล่าวว่า "คณะทำงานทุกคนเป็นคนในพื้นที่ ซึ่งเรามีคณะทำงานนี้มาตั้งแต่สมัยอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ในปีนี้คณะทำงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่การทำงานของเรายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้เรามาช่วยกันคิดเสนอแนวทางและรับทราบความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาในพื้นที่ของเราเอง กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขนั้นคือเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ฝ่ายรัฐ นำมาปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาและเป็นวิธีการที่บุคคลในพื้นที่ให้การยอมรับ เป็นความหวังของคนในพื้นที่ จุดมุ่งหมายของเราทุกคน คือ

   จะนำพาจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่สันติสุขให้ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อการดำเนินงานจะได้นำไปสู่จุดหมายปลายทางของสันติสุข ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย เป็นสิ่งที่ตั้งใจตั้งแต่แรกว่าพยายามใช้ให้น้อยที่สุด แต่จะใช้การพูดคุยให้มากขึ้น เพื่อลดความรุนแรง และความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม สำหรับการประชุมคณะประสานงานวันนี้ เราจะได้นำแนวทางการขับเคลื่อนไปสู่การพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งต่อไป

  การประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการจัดประชุมครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งเป็นการพบปะ หารือ สร้างความคุ้นเคยระหว่างคณะประสานงานระดับพื้นที่ ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2566 และฝ่ายบองเจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมทั้งการรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากพี่น้องประชาชนที่มีต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในการประชุม พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ ตลอดจนคณะทำงานที่มี พลตรี ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า , พลตรี วรเดช เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 / ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี

     ได้มอบแนวทางการขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในประเด็นการสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจต่อประเด็นสารัตถะ ทั้ง 3 เรื่อง ประกอบด้วย ประเด็นการลดความรุนแรง , ประเด็นการปรึกษาหารือกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และประเด็นการแสวงหาทางออกทางการเมือง เพื่อให้คณะประสานงานระดับพื้นที่นำไปขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังเป็นการนำข้อคิดเห็นมารวบรวมข้อมูลนำเสนอต่อคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นำไปกำหนดเป็นประเด็นการพูดคุยกับฝ่ายผู้เห็นต่างต่อไป

 

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น