โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) จัดประชุมคัดเลือกคณะประสานงานระดับพื้นที่ ครั้งที่ 6/2565 ขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. (ชมคลิป)

คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3)  จัดประชุมคัดเลือกคณะประสานงานระดับพื้นที่ ครั้งที่ 6/2565 ขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. (ชมคลิป)



  ประพันธ์  ฤทธิวงศ์ บก.ปลายด้ามขวาน@ชายแดนใต้/กลุ่มงานสื่อมวลชน  การสื่อสาร และเทคโนโลยี่

   เมื่อ 26 ก.ค.65 เวลา 10.00 น.ที่ผ่านมา สล.คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) จัดการประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ ครั้งที่ 6/2565 (เฉพาะ จ.นราธิวาส) โดยมี พ.อ.ชลัช ศรีวิเชียร รอง เสธ.ศสว./ผช.เลขานุการคณะประสานงานฯ เป็นประธาน ซึ่ง พ.ท.ปรีชา  รุ่งเมือง  หน.คณะประสานงานระดับพื้นที่ กล่าวต้อนรับ  ณ ห้องประชุม สนง.เขตพื้นที่ประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 อ.เมือง จ.นราธิวาส




 ทั้งนี้จัดให้มีประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) จังหวัดนราธิวาส  จังหวัดสงขลา


...โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ.สำนักงาน ฯ ชี้แจงบทบาทหน้าที่และภารกิจของคณะประสานงานระดับพื้นที่ .หารือ/รับฟังความคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระยะต่อไป พร้อมจัดให้มีการคัดเลือกระดับจังหวัด





        สำหรับผลการคัดเลือก  รายชื่อคณะทำงานระดับจังหวัดนราธิวาส จำนวน 9 คน มีดังนี้

1.นายวิจิตร  สกุลแก้ว  2.นายซูวัน เบ็ญรอฮมาน 3.นายซาการียา บิณยูซูฟ  4. นายมูฮัมหมัดวาฟี  มะดากะกุล 5.นางธิดา  วรรณลักษณ์  6.นายกรีฑา  แดงดี  7.นายตูแวดานียา  ตูแวแมแง 8.นางพารีดะ  อาลีชู   9.นายอับดุลปาตะ  ยูโซะ  10.นายตูแวดานียา  มือรีงิง







  ผลสรุปการประชุมความคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.มีความเป็นกังวล และต้องระมัดระวังการใช้คำของฝ่ายความมั่นคง เช่น คำว่า “การรักษาอำนาจรัฐ” เพราะอาจจะรุนแรงต่อความรู้สึกของพี่น้องในพื้นที่

2.อยากให้ฝ่ายความมั่นคงสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น เมื่อมีการบังคับใช้กฏหมาย (ปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม) เพราะปัจจุบันฝ่ายรัฐยังแพ้เรื่องการให้ข้อมูลข่าวสาร

3.หารือเรื่องการใช้คำ (สโลแกน) เช่น เข้าพรรษาสันติ ว่าไม่ควรใช้คำแบบนี้ เพราะห้วง รอมฎอนสันติ ภาครัฐประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม หากใช้สโลแกนคล้ายกัน เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในห้วงเข้าพรรษาจะทำให้ดูเหมือนเป็นความล้มเหลวทั้งหมด

4.กังวลกับการเกิดขึ้นใหม่ของแนวร่วม ยกตัวอย่างเคสที่ ต.สาวอ อ.เรือเสาะ เสียชีวิต 2   แต่เกิดขึ้นใหม่อีก 100 เพราะการทำความเข้าใจของฝ่ายรัฐยังไม่ดีพอ รวมทั้งมีการปลุกระดมของผู้เห็นต่างจากรัฐ

5.มองว่าการทำงานของ สล.3 ในพื้นที่ ปัจจุบันขับเคลื่อนได้ดีพอสมควร และควรใช้เครือข่ายที่มีอยู่ในพื้นที่ในพื้นที่ เป็นตัวเชื่อมโยงประชาชนในพื้นที่กับ สล.3

6.ต้องการให้ผู้นำศาสนาออกมาสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง แท้จริง โดยด่วนในเรื่องของการ ชะฮีด ,ดารุลฮารบี และ ญีฮาด

7.ควรจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจ ใน สล.3 เพื่อสร้างความรับรู้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อปรากฏประเด็นความไม่เข้าใจของพี่น้องในพื้นที่ เช่น พื้นที่ไหนมีประเด็นก็ให้ทีมงานชุดนี้เข้าไปดำเนินการได้ทันที

8.ปรากฏภาพข่าวการกลับมาอีกครั้งของกลุ่มสตรีในพื้นที่ อ.รือเสาะ ซึ่งเป็นข้อกังวลของพี่น้องในพื้นที่เป็นอย่างมาก

9.สล.3 เป็นภาคประชาสังคมที่ดีที่สุดในพื้นที่ ณ เวลานี้

10.ศูนย์หลักประกันสุขภาพนราธิวาส ขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์

11.”สันติสุข” ยังไม่ถึงเป้าหมาย เพราะอะไร? จะมีวิธีการอย่างไร? มีข้อเสนอที่เป็นทางออกอย่างไรข้อเสนอ 1)เน้นกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่นมัสยิด-วัด สีเขียว หรือ กิจกรรมอาซูรอสัมพันธ์ ระดับอำเภอ-จังหวัด 2) การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีสภาประชาธิปไตย 3)สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆฝ่าย

12.นโยบาย 4 ข้อของท่าน พล.ท.ธิราฯ คือ 1.ลดเหตุการณ์ 2.การเสริมสร้างความเข้าใจ 3.การบังคับใช้กฏหมาย และ 4.การพัฒนา

13.มีการคัดเลือกคณะทำงานระดับจังหวัด จำนวน 9 คน ซึ่งมี 2 คนจะถูกคัดเลือกเป็น      ผช.เลขานุการ เพื่อการขับเคลื่อนงานในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

   ในส่วนการประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่จ.สงขลา เมื่อวันที่ 25 ก.ค.65ที่ผ่านมา  ณ ศาลาการเปรียญวัดนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา

   สำหรับผลการคัดเลือก  รายชื่อคณะทำงานระดับจังหวัดสงขลา  จำนวน 9 คน มีดังนี้

  1.พระครูสุวัฒนาภรณ์  2.ดร.ดุลยรัตน์  บูยูโส๊ะ  3.ร.ต.อ.เจษฏาวุธ เพ็งลาย  4.นายจรัญ     รองสวัสดิ์  5.นายนพรุจน์  แก้วรุ่งเรือง  6.นายธนิศร์  ทองสุข  7.นายสุรศักดิ์  อะหวัง  8.อับดุลสุโกร  ดินอะ 9.นายมังโสด  หมะเตะ

     ผลสรุปการประชุมความคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.ท่านประธาน พลโทธิราฯ บอกเล่าสถานการณ์การสร้างสันติสุขในพื้นที่ตั้งแต่รอมฎอนสันติสู่ฮัจญ์สันติมุ่งสู่เข้าพรรษาสันติ โดยขอให้ทางคณะมุ่งเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการพูดคุยฯ ในพื้นที่

2.สร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนโดยอาศัยการประชุมสภาประชาธิปไตยชุมชนเป็นเครื่องมือ(หนุนเสริม) เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมให้มากที่สุด

3.สร้างพรรคพวกเข้ามามีส่วนร่วมโดยเน้นปริมาณนำคุณภาพ โดยผู้กองชมฯ เสนอให้มีการเฟ้นหาตัวแทนให้ครบทุกตำบล อาจจะมีการเสนอมาจากเวทีประชุมของสภาประชาธิปไตยตำบลก็ได้

4.ท่าน สส.นณัชนนท์ ศรีก่อเกื้อ เสนอให้คณะประสานงานระดับพื้นที่ ต้องเร่งสร้างความรับรู้ให้กับประชาชนหรือหน่วยงานราชการรู้จัก สล.3 ให้มากกว่านี้ โดยท่านจะเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์และนำเรื่อง สล.3 ไปเล่าต่อ อาจจะมีการคุยที่สภาผู้แทนฯ เป็นต้น

5.ตั้งคณะทำงานระดับจังหวัดโดยให้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มงานเพื่อเป็นการเชื่อมงานกับผู้ช่วยเลขาฯ

 






  สำหรับจังหวัดปัตตานี ได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 27 ก.ค.65 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม รร.ซี เอส อ.เมือง จ.ปัตตานี

รายชื่อคณะทำงานระดับจังหวัดปัตตานี จำนวน 9 คน มีดังนี้

1.พระครูโฆสิตสุตาภรณ์  2.นายมาหามะปอไซ  ลันจา 3.นายอนาวิน  เปาะซู 4.นายแวรอมลี  แวบูละ 5.นางคำนึง  ชำนาญกิจ  6.นางสุมาลี  ขุนพิทักษ์ 7.นางสาวกันตพัฒน์ ทวีผลทรัพย์  8.นาย มูฮัมหมัดนาเซร์  สุหลง  9.ดร.ไฟซ็อล  หะยีอาวัง















       ผลสรุปการประชุมความคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.กำหนดพื้นที่ “เวทีประชาธิปไตยตำบลต้นแบบ” ขั้นต้นเลือกพื้นที่ ต.หนองแรด อ.ยะหริ่ง เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อม โดยกำหนดไปดูงานเพื่อนำมาต่อยอดให้เกิดเป็น “สภาชุมชน” หนองแรดโมเดล ซึ่งในที่ประชุมเห็นด้วย

2.ยังมีบางพื้นที่ที่ยังไม่สามารถเข้าร่วมประชุม สภาประชาธิปไตยตำบล ได้ ทั้งที่มีหนังสือประสานขอเข้าร่วมประชุมฯ แล้วก็ตาม

3.ประสิทธิภาพหรือศักยภาพของคณะประสานงานระดับพื้นที่ อาจจะทำงานได้ไม่ดีมากนัก เพราะเกิดความสับสนในความรู้สึกของคนในชุมชนต่อบทบาท หน้าที่ของคณะประสานงาน

4.เสนอให้ สล.3 แสดงตัวตนที่ชัดเจน เด่นชัด เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่นกับพี่น้องในพื้นที่

5.BRN รู้สึกว่ารัฐไทยไม่มีความจริงใจ ไม่ยอมลงนามในข้อตกลง

6.การยุติของ รอมฎอนสันติ เพราะ BRN รู้สึกเสียเปรียบทางการเมือง

7.การเรียกร้อง “เข้าพรรษาสันติ” ไม่ใช่เพื่อพี่น้องชาวพุทธเท่านั้น แต่เพื่อทุกคนในพื้นที่

8.จะมีวิธีไหนให้สัดส่วนของ สภาประชาธิปไตยตำบล มีเด็กและสตรีมากขึ้น

9.บรรยายกาศ 1-2 เดือนที่ผ่านมาเริ่มมีการขึ้นป้ายหมายจับตามด่านตรวจในพื้นที่ อ.เมือง อีกครั้ง รวมถึงเริ่มมีการถ่ายบัตรประชาชน และการลาดเวนของฝ่ายความมั่นคงมากขึ้น รวมถึงมีการปะทะและติดตามจับกุมคดีความมั่นคง ซึ่งจะทำอย่างไรเมื่อมีการปิดล้อมจะไม่มีผู้สูญเสีย

10.หารือเรื่องด่านตรวจที่ไม่มี จนท.ประจำด่าน และด่านที่มีระยะห่างจากกันไม่มาก สามารถยุบได้หรือไม่

11.เรื่องงบประมาณสนับสนุนเยาวชนหัวละ 20 บาท ของตาดีกา บางพื้นที่มีการหัก 5 บาท

12.ปัจจุบันมีการ IO ข่าวสารของทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายผู้เห็นต่าง ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะประสานงาน ที่จะต้องเข้าไปสร้างความรับรู้ และสร้างความเข้าใจ

13.สล.3 เป็นภาคประชาสังคมที่ดีที่สุดในพื้นที่ ณ เวลานี้

14.นโยบาย 4 ข้อของท่าน พล.ท.ธิราฯ คือ 1.ลดเหตุการณ์ 2.การเสริมสร้างความเข้าใจ 3.การบังคับใช้กฏหมาย และ 4.การพัฒนา

15.การคัดเลือกคณะทำงานระดับจังหวัด จำนวน 10 คน ซึ่งมี 2 คนจะถูกคัดเลือกเป็น     ผช.เลขานุการ เพื่อการขับเคลื่อนงานในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น