โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

จับตา…พิลึกคดีฮั้วงาน อบจ.สงขลา กับคำสั่งลับ “เด็ดปีกแกนนำ ปชป.

 จับตา…พิลึกคดีฮั้วงาน อบจ.สงขลา กับคำสั่งลับ “เด็ดปีกแกนนำ ปชป.



น่าแปลกใจ และฉงนมากๆ กับการทำคดีสมยอม (ฮั้ว) เสนอราคา และทำเอกสารปลอม เพื่อยื่นประมูลงานจัดซื้อจัดหารถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.สงขลา)

      เหตุการณ์เกิดตั้งแต่ปี 2555 สมัยอุทิศ ชูช่วย เป็นนายกฯอบจ.สงขลา มีการเปิดประมูลราคา 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 1 คัน ครั้งที่ 2 จำนวน 1 คัน และครั้งที่ 3 จำนวน 2 คัน รวมเป็น 4 คัน ราคาประมูลตัวเลขกลมๆ 100 ล้านบาท

      หลังมีการประมูล และประกาศผล มีบริษัทคู่แข่งร้องเรียนว่า มีการฮั้วประมูล โดยร้องไปหลายองค์กร เช่น จังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา สตง. และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)ด้วย

        การบริหาร อบจ.สงขลาเปลี่ยนมือจากอุทิศ มาเป็นนิพนธ์ บุญญามณี จังหวัดสงขลาสั่งให้ อบจ.สงขลาสอบสวนหาข้อเท็จจริงและระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนตามที่มีผู้ร้อง นิพนธ์ สั่งตั้งกรรมการสอบฮั้ว ตามคำสั่งของจังหวัด ผลสอบสรุปว่า มีการฮั้วจริง และได้รายงานต่อสตง.และผู้ว่าราชการจังหวัดๆสั่งชะลอการเบิกเงิน ตามหนังสือสั่งการของกระทรวง ผลสอบสวนยังพบว่าการประมูลครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก็มีการฮั้วประมูลเช่นกัน โดยบริษัท พลวิศว์ เทคพลัส จำกัด และนิติบุคคลกลุ่มเดียวกันทั้งสามครั้ง ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันอบจ.สงขลาก็แจ้งต่อบริษัทผู้ชนะการประมูลว่า “สัญญาเป็นโมฆะ” ซึ่งตีความได้ว่า ไม่มีผลผูกพันมาตั้งแต่ต้น ไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญา

      นิพนธ์ยังให้เจ้าหน้าที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคล และนิติบุคคลที่ร่วมกันฮั้ว และปลอมแปลงเอกสาร ตำรวจเรียกผู้ถูกกล่าวหามาสอบปากคำหลายครั้ง บางคนมาบางคนไม่มา บางคนมาให้ปากคำ ระหว่างสอบสวนมีโทรศัพท์เข้ามาก็รีบเผ่นออกไป ทั้งๆที่การสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ สุดท้ายพนักงานสอบสวนก็ต้องขอออกหมายจับ และศาลก็อนุมัติออกหมายจับให้หมดทุกคน

       ข้อมูลเชิงลึกพบว่า คดีนี้มีผู้มากบารมีเข้ามาวิ่งช่วยผู้ต้องหา พยายามยื้อเวลา ประวิงเวลา เช่น การยื้อไม่มาพบพนักงานสอบสวน การขอให้สำนังงานตำรวจแห่งชาติสั่งโอนคดีไปให้กองปราบปราบเข้ามารับผิดชอบทำคดี ทั้งๆที่พนักงานสอบสวนสภ.เมืองสงขลาทำสำนวนในการซื้อครังที่3จำานวนสองคันเสร็จสิ้นหมดแล้ว นัดเรียกผู้ต้องหาส่งฟ้องศาลจนตร.สงขลาต้องส่งสำนวนคดีให้ ตร.กองปราบๆพิจารณาสำนวนแล้วสรุปว่ามีการกระทำความผิดตามที่ตร.สงขลาสรุปจริงแต่คดีฮั้วมีระเบียบต้องส่งให้ปปช.ตรวจว่ามีข้าราชการทำผิดด้วยหรือไม ซึ่งคดีดังกล่าวยังอยู่ที่ปปช. และบางคดีสรุปสำนวนส่งฟ้องอัยการไปแล้ว

       ทำไมต้องยื้อ ทำไมต้องประวิงเวลา เพราะคดีกำลังจะหมดอายุความ คดีแรกจะหมดอายุความในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้แล้ว ยังดีว่า พนักงานงานสอบสวนสรุปสำนวนฟ้องไปแล้ว และตามจับกุมผู้ต้องหาได้แล้ว 1 คน ที่เหลืออีก 3 คนยังหลบหนี ข้อมูลยืนยันว่าหนีออกนอกประเทศไปแล้ว

      ส่วนสำนวนคดีที่สองจะหมดอายุความในเดือนสิงหาคมนี้ พนักงานสอบสวนทำสำนวนเกือบจะสมบูรณ์แล้ว ก็มีคำสั่งจากมือที่เข้ามาล้วง ให้โอนสำนวนคดีจากตร  สงขลาไปให้กองปราบปรามรับผิดชอบต่อ อีกสำนวนเป็นคดีสำนวนที่ 2 ถูกส่งให้กองปราบปรามเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมานี่เอง

       ก็ยังไม่รู้ว่า เวลาที่เหลืออยู่เดือนกว่าก่อนคดีจะหมดอายุความในเดือนสิงหาคม พนักงานสอบสวนของกองปราบปรามจะอ่านสำนวนสอบสวน และสอบสวน หาหลักฐานเพิ่มเติมให้สำนวนสมบูรณ์ได้ทันเวลาหรือไม่

       ถ้าพนักงานสอบสวนของกองปราบปรามสรุปสำนวนไม่ทันฟ้องในเดือนสิงหาคมนี้ คดีก็จะหมดอายุความ

       นี้คือเหตุผลของความพยายามในการยื้อคดี ประวิงเวลา ก็เพื่อให้คดีหมดอายุความนั้นเอง และความพยายามนี้เฉพาะในกลุ่มผู้ต้องหา คงไม่มีอำนาจ-บารมีมากพอที่จะดำเนินการได้ ต้องมีมือที่มีอำนาจมากพอ สั่งการอยู่เบื้องหลัง

      มือที่มีอำนาจมากพอ สั่งการได้แม้กระทั่งผู้ใหญ่คนโตในสำนักงานอำนวยความยุติธรรม สั่งได้แม้กระทั่งองค์กรอิสระบางองค์กร

      อย่างลืมว่าคดีนี้ผู้ชนะการประมูล อย่างบริษัท พลวิศว์ เทคพลัส จำกัด โดยอิทธิพล ดวงเดือน ยังร้องเรียนไปยัง ปปช.กล่าวหานิพนธ์ว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ (157) ที่ไม่เบิกจ่ายเงินให้ผู้ชนะการประมูล ปปช.ก็รับลูกชี้มูลความผิดนิพนธ์ สอบสวนสรุปสำนวนส่งสำนวนให้อัยการ แต่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องนิพนธ์ เพราะพบว่าสำนวนมีจุดอ่อน ไม่สมบูรณ์ถึง 16 จุด

       เมื่อความเห็นไม่ตรงกันก็ตั้งกรรมการร่วมระหว่างอัยการกับ ปปช. ซึ่งในการประชุมร่วมกัน ปปช.ก็ไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาอุดช่องโหว่ จุดอ่อน 16 จุดได้      อัยการส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาตามระเบียบ อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง และส่งสำนวนคืนให้ ปปช.

      ปปช.รับสำนวนคืนมาพิจารณาลงมติว่า มั่นใจในพยานหลักฐานของ ปปช.ลงมติว่าจะฟ้องเอง ทั้งๆที อัยการสูงสุดก็สั่งไม่ฟ้อง

      แต่ที่ดูแปลกพิลึก คือมติ ปปช.เดินหน้าฟ้องนิพนธ์เอง แต่อีกมุมหนึ่ง กลับส่งเจ้าหน้าที่ ปปช.ไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคล และกลุ่มบริษัทที่ร่วมฮั้วประมูล ปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม อันเป็นการยอมรับว่า มีการฮั้วประมูลจริง เรื่องนี้แม้แต่คนใน ปปช.เองก็พากันงงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น


แม้ตำรวจจะติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9 ได้ออกหมายจับเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ในความผิดฐานร่วมกันปลอม และใช้เอกสารปลอม (ฮั้ว) ประมูลงานจัดหารถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ ของ อบจ.สงขลา ได้แล้ว 1 คน คือ นางชวลี เทียนงามสัจ กรรมการผู้จัดการบริษัท ครีเอทอินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9  ออกหมายจับในความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอมในการเสนอราคา ตกลงร่วมกันเสนอราคา (ฮั้วประมูล) เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาได้รับความเสียหาย เหตุเกิดเมื่อปี 2555 


แต่ยังมีผู้ต้องหาเหลืออีก 3 คน ที่อยู่ระหว่างการหลบหนี ได้แก่ 

1.นายอิทธิพล ดวงเดือน กรรมการผู้จัดการบริษัท พลวิศว์ เทค จำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เพลิโอนี 

2.นายสุรพงษ์ ตรียานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็กซ์ ทู ที อินดัสตรี จำกัด 

3.นางสาวญาณี ลิ้มสถิรานันท์ หรือนางญาณี อารยะทรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท อะมีลัม จำกัด และมีรายงานว่าผู้ต้องหาตามหมายจับทั้ง 3 คน หลบหนีออกนอกประเทศหมดแล้ว

      นั่งอ่านติดตามมหากาพย์ฮั้วประมูลงาน อบจ.สงขลา และพินิจพิเคราะห์แล้ว มีอะไรแปลกๆ ที่ไม่น่าจะเป็นไปตามขบวนการปกติกับเวลาร่วมสิบปีที่เกิดเหตุขึ้น คดีมาเร่งรัดตอนใกล้จะหมดอายุความ และมีเงาทะมึนของชายในวัยเกษียณ ไปเดินป้วนเปี้ยนอยู่นครศรีธรรมราช-สงขลา บ่อยครั้งในช่วงสอง-สามเดือนที่ผ่านมา

      อย่ากระพริบตา งานนี้กับคำสั่งลับ “เด็ดปีกแกนนำ ปชป.” ก่อนการเลือกตั้งปี 2566

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น