โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565

ผลการสัมภาษณ์พิเศษจากบุคคลในคณะเจรจาสันติภาพ ฝ่าย BRN และได้ทำการเผยแพร่ถ่ายทอดผ่านเพจชื่อบัญชี “THE PEN” (ชมคลิป)

 ผลการสัมภาษณ์พิเศษจากบุคคลในคณะเจรจาสันติภาพ ฝ่าย BRN และได้ทำการเผยแพร่ถ่ายทอดผ่านเพจชื่อบัญชี “THE PEN”  (ชมคลิป) 


(ชมคลิป) (สัมภาษณ์เจ๊ะมูดอ ตะมะยุง 1/7 ผู้แทน BRN)  https://shorturl.asia/Y3i65 

https://www.facebook.com/PeninsularVoice/videos/552139112921806/ (สัมภาษณ์เจ๊ะมูดอ ตะมะยุง 1/7 ผู้แทน BRN)



เมื่อ ๑๐ เม.ย.๖๕, ๒๑๓๐ – ๒๓๑๐ ด้วยภาษามลายูกลาง/ถิ่น และมีผู้สนใจเข้ารับชม ประมาณ ๔,๗๐๐ ครั้ง มีรายละเอียด ดังนี้.-



๑. รายชื่อผู้ร่วมบรรยายเสวนา จำนวน ๒ คน ประกอบด้วย  

.๑.๑ นายเจ๊ะมูดอ มะรือสะ นามแฝง เจ๊ะมูดอ เจ๊ะเต๊ะ/Chek Muda Chekteh (๓-๙๖๐๗-๐๐๐๗๐-๘๑-๔) อายุ ๖๙ ปี/๖๕ ภูมิลำเนาเดิมบ้านเลขที่ ๓๗ บ.ตะมะยูง ม.๒ ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศสวีเดน ตำแหน่ง ประธานฝ่ายแผนงานนโยบายสภาองค์กรนำ BRN และเป็นตัวแทน BRN. การให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้

         ๒.นายมาหามัด มาสีละ (๓-๙๕๐๖-๐๐๓๘๒-๙๖-๒) อายุ ๔๘ ปี/๖๕ ภูมิลำเนาเลขที่ ๒๓ ม.๕ ต.สาวอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ตำแหน่ง คณะทำงานวิทยาลัยประชาชน เป็นผู้ดำเนินรายงการ

       ๓. ประเด็น/สาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้.-

 ** นายมาหามัด ฯ กล่าวเกริ่นนำว่า ในค่ำคืนนี้เราจะมาพูดคุยกับแกนนำ BRN. ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่อยู่บนโต๊ะเจรจา นามว่า “เจะมูดอ” ซึ่งนับว่าเป็นบุคคลที่อาวุโสสุดในทีม/กลุ่ม หรือบนโต๊ะเจรจา ระหว่าง BRN. กับ ฝ่ายตัวแทนรัฐบาลไทย ครั้งล่าสุด เมื่อห้วง ๓๑ มี.ค. - ๑ เม.ย.๖๕ ที่ผ่านมา และต่อจากนี้ในอีก ๓ – ๔ วัน ทางเพจจะดำเนินการแปลสรุปเผยแพร่อีกครั้ง   

           ** นายเจ๊ะมูดอ ฯ กล่าวโดยสามารสรุป ได้ดังนี้.-

                   ๑) แนะนำตัวเอง “เจ๊ะมูดอ” มีพื้นเพบ้านเกิด ในพื้นที่ บ.ตะมะยูง ม.๒ ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร นราธิวาส และในหลายปีที่ผ่านมาในประชุมใหญ่ BRN. จะคัดเลือกตนให้เข้ามาเป็น ทีมเจรจา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทรงค่ายิ่ง

                   ๒) BRN. ต้องการเลือกวิธีการทางการเมืองเนื่องจาก เราได้ต่อสู้มา อย่างยาวนาน และโลกในยุคปัจจุบันต้องการเห็นสันติภาพในปาตานีในวิถีทางการเมือง

                   ๓) เราในฐานะตัวแทนปาตานี จะเป็นผู้ที่จะเจรจากับรัฐไทย และเผชิญหน้ากับรัฐไทยบนโต๊ะเจรจา เพราะสิ่งที่เราคาดหวังคือ “สันติภาพ” ที่จะเกิดขึ้นในปาตานีอย่างถาวร

                   ๔) พวกเราพร้อมที่จะต่อรองในสิ่งต่างๆกับรัฐไทยบนโต๊ะเจรจา แม้ว่ามัน จะยากเย็นเพียงใดก็ตาม แต่เพื่อหาประโยชน์สุขของประชาชนชาวปาตานีอย่างถาวร เราก็พร้อมที่จะพยายามอย่างต่อเนื่อง และต่อรองที่ละนิดเพื่อความสงบสุขของชนรุ่นหลังในปาตานี

                   ๕) ยุทธศาสตร์ BRN. ในครั้งนี้ คือเราต้องการให้ความขัดแย้งได้ยุติลง ด้วยความต้องการของประชาชน

                   ๖) BRN. ลงทุนสูงมากโดยการเปิดตัวบุคคลสำคัญ/ผู้อาวุโส เพื่อการเข้าร่วมเจรจาพูดคุยอย่างจริงจังจริงใจมาก เนื่องจากต้องการหาข้อยุติลง และร่วมโต๊ะเจรจาไม่ใช่เพื่อเป็นการทดสอบเรื่องใดๆ แต่เพราะมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง

                   ๗) หากไม่มีผู้เชียวชาญจากต่างประเทศเข้ามาร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ BRN.ก็ไม่พร้อมที่จะร่วมเจรจา ดังนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งบทบาทจากผู้สังเกตการ์ก็มีบทบาทสังเกตการณ์ในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้มีบทบาทนอกเหนือ เกินจากนั้น

                   ๘) การลดปฏิบัติการทางทหารชั่วคราวเราต้องการให้มีผลทั้งสองฝ่าย แต่รัฐไทยยังไม่ปฏิบัติตาม และเราขอเรียกร้องให้รัฐไทยลดการปฏิบัติการณ์ทางทหารด้วย เพราะเราไม่ต้องการพยายามเพียงฝ่ายเเราฝ่ายเดียว

                   ๙) รัฐไทยได้เปิดตัวผู้ประสานงานแล้วบนโต๊ะเจรจา ส่วนทางฝ่าย BRN. ก็ได้แต่งตั้งให้ นายมูฮัมหมัด ซัมซู เป็นผู้ประสานงาน (อยู่ระหว่างตรวจสอบเพิ่มเติม)

                   ๑๐) BRN. ได้ขอความร่วมมือภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่อยากเห็นสันติภาพ ให้อาสาเป็นผู้สังเกตการณ์ สถานการณ์ในพื้นที่ตลอดช่วงเวลาที่ได้ตกลงไว้

                   ๑๑) กรณี “อุซตาส” ถูกลอบสังหารในไม่กี่วันที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่เราควรสอบสวนอย่างเร่งด่วน จากทีมสังเกตการณ์ในพื้นที่ BRN. และ รัฐไทย / คาดว่าน่าจะเป็นเคสคนร้ายลอบยิง นายอามัดสุกรี ลาเต๊ะ ได้รับบาดเจ็บขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ในพื้นที่ บ.ฆอลี (บ้านย่อย บ.บุดีอิเลย์) ม.๘ ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา (เมื่อ ๓๑ มี.ค.๖๕) และเป็นน้องชายของ นายอำหมัดมูริส ลาเต๊ะ หรือ มูริ สาวอ แกนนำ BRN. ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งในคณะพูดคุยสันติสุข (เมื่อ ๒๐ ม.ค.๖๓)

                   ๑๒) นายมูฮัมหมัด ซัมซู ผู้ประสานงานฝ่าย BRN. ได้ทำความรู้จักกับ ผู้ประสานงานฝ่ายไทยแล้ว และมีช่องทางการติดต่อแล้ว และเราคิดว่าทีมสังเกตการณ์ในพื้นที่ก็จะมีแล้วรายละเอียดการติดต่อ เช่น ใช้โทรศัพท์เพื่อประสานงาน (ในส่วนเบอร์โทรไม่สามารถแจ้งได้)

                   ๑๓) BRN. จะแต่งตั้งทีมสังเกตการณ์ในพื้นที่อย่างเป็นทางการยังไม่ได้ เนื่องจากไม่เป็นที่ยอมรับจากอีกฝ่าย แต่หากผลการสังเกตการณ์ครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมาก เราจะขอให้อีกฝ่ายยอมรับทีมสังเกตการณ์ในพื้นที่อย่างเป็นทางการ ในรอบการเจรจารอบถัดไป

                   ๑๔) หากการเจรจารอบนี้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เราเองก็มีความต้องการที่จะให้ตัวแสดงอื่นๆ เช่นปาร์ตี้ (กลุ่ม)อื่นๆ เข้าร่วมการเจรจาด้วย และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

                   ๑๕) เรื่อง อิมมูนิตี้ หรือ Immunity “ภูมิคุ้มกันหมู่” น่าจะเป็นไปได้ ในอนาคตที่จะให้ผู้ใหญ่ใน BRN. กลับมาในพื้นที่ แต่เราต้องสร้างความไว้วางใจ แสดงความจริงจัง จากทั้งสองฝ่ายก่อน

                    ๑๖) ในประเด็น “เอกราช” บนโต๊ะเจรจาตอนนี้ยังจะไม่พูดถึง เรื่องนี้ขอให้ประชาชนปาตานี ร่วมกันกำหนดชะตากรรมของตนเอง

                    ๑๗) BRN. ร่วมโต๊ะเจรจาครั้งนี้ ด้วยความจริงจังมาก ดังนั้นการปรากฏตัวของ นายเด็ง อาแวจิ นามแฝง เปาะวอเด็ง/สุเด็ง โต๊ะนาคอ/Hanafi Bin wakajik ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ตำแหน่ง ประธานฝ่ายการทหาร สภาองค์กรนำ BRN หรือ ผู้นำทางทหาร BRN. เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย เพราะต้องการให้เห็นถึงความจริงจังจริงใจ และอยากให้สังคมปาตานีเห็นว่าเราเคารพกฎ DHL.(ดีเอชแอล)

                     ๑๘) สิ่งที่ BRN. พอใจในการเจรจาครั้งที่ ๔ (ล่าสุดนี้) และทางฝ่ายไทยไม่ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องให้ลดปฏิบัติการณ์ทางทหาร

                     ๑๙) ขอให้สังคมปาตานีร่วมมือกันเป็นเสียงเดียวกันที่จะสนับสนุนการเจรจาสันติภาพอย่างต่อเนื่อง

                      ๒๐) การปรากฏตัวของ นายเด็ง อาแวจิ ในครั้งนี้ เพราะเรามีความจริงใจ และในการเจรจาพูดคุยไม่จำเป็นต้องรอหรือคอยใคร ทั้งนี้การปรากฎตัวของนายเด็ง ฯ นั้นเพียงแค่การประจวบเหมาะกับการพูดคุยเจรจาในครั้งนี้เท่านั้นเอง

                      ๒๑) การสัมภาษณ์จบด้วย นายเจ๊ะมูดอ ฯ ได้นำดุอาร์เพื่อขอพรให้เกิด ความสงบสุข สันติภาพ ในปาตานี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น