โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อธิบดี พช. เยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเมืองคอน ชูแกนนำคนรุ่นใหม่ หัวใจนักพัฒนา

 

อธิบดี พช. เยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเมืองคอน ชูแกนนำคนรุ่นใหม่ หัวใจนักพัฒนา

 




วันที่ 9 ตุลาคม 2564   นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานชมรมแม่บ้านกรมการพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายชัยวัฒน์ แสงศรี ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง







 เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บ้านควนเนียง หมู่ที่ 12 ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายเอกวิทย์ มีเพียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นางกนกพร เดชเดโช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าที่ร้อยตรีกิตติภพ รอดดอน นายอำเภอทุ่งสง ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ





 ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (Community Lab Model For Quality Of Life : CLM) ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช



          นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดดำเนินโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565





 โดยจัดตั้งศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชนระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาในพื้นที่ทั้ง 7 ภาคส่วน โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการส่งเสริมผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร เครือข่ายงานพัฒนาชุมชน ที่เป็นทุนทางสังคม


 ใช้พลังภูมิปัญญาให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชน ส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำ สร้างเสริมอุดมการณ์ทำงานเพื่อสาธารณะในรูปแบบผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน จุดนำร่องของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (Community Lab Model For Quality Of Life : CLM) 


โดยมีการดำเนินกิจกรรมฐานเรียนรู้ด้านอาชีพ การดำเนินงานตามหลักทฤษฎีใหม่ รูปแบบ โคก หนอง นา พช.การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักกสิกรรมธรรมชาติ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเป้าหมายของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ที่ต้องการให้ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษา พัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถเป็นศูนย์รวมของเครือข่ายผู้นำจิตอาสาในงานพัฒนาชุมชน

       การตรวจเยี่ยมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ในครั้งนี้ นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และคณะ ได้พบปะคณะกรรมการศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน โดยมี นายณรงค์ศักดิ์ รักบ้าน ประธานศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บรรยายสรุปผลการดำเนินงานฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนได้ให้เกียรติร่วมกิจกรรมปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปล่อยปลา และเยี่ยมชมฐานเรียนรู้คนเอาถ่าน


           นายณรงค์ศักดิ์ รักบ้าน เป็นคนรุ่นใหม่ ผู้มีแนวคิดที่ว่า ความขาดแคลนไม่เป็นปัญหา หากมีปัญญาและความอดทนหลังเรียนจบ ได้ค้นหาตัวเองและตัดสินใจจะก่อร่างสร้างตัวด้วยการทำการเกษตร เพราะเชื่อในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงได้น้อมนำทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คำว่า พอ


  โดยมีหลักคิดง่ายๆที่ว่า งานที่ทำต้องเลี้ยงดูตนเองพร้อมทั้งสร้างรายได้ไปในตัว มิใช่เป็นการไปหาเงินมาแล้วต้องซื้อกินให้เงินหมดไป อันเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถพึ่งตนเองได้ สร้างภูมิคุ้มแม้ต้องตกอยู่ภายใต้วิกฤตการณ์ใด ๆ ก็ตาม ซึ่งในอนาคตวาดฝันไว้ว่าอยากจะพัฒนาศูนย์เรียนรู้นี้ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ดึงชาวบ้านในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วม ให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน ทุกคนจะพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน และทิ้งท้ายถึงคนรุ่นใหม่ ค้นตัวเองให้เจอ หาคำตอบให้ได้ แล้วลงมือทำในคำตอบอย่างเต็มที คงบอกไม่ได้ว่าอยากให้ทุกคนมาทำการเกษตรเหมือนตนเอง เพราะแต่ละคนมีความถนัดต่างกัน แต่ถ้าเป็นไปได้ เกษตรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างความมั่นคง และความยั่งยืนให้ทั้งตัวเราเองและชุมชน นั่นแหละคือความสุขที่ตนเองวาดฝันจะเจอ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น