โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ (ชมคลิป)

 

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ (ชมคลิป) 

 


สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชการธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ลงห้องประชุม วังสระปทุม กรุงเทพมหานคร





 เพื่อทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ เฝ้ารับเสด็จฯ ณ ห้องประชุม วังสระปทุม

 โดยมีนายเจษฎา  จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นางสายหยุด เพ็ชรสุข ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ  ตลอดจนเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้ารับเสด็จฯ ณ พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส





 ในการนี้ นางสายหยุด เพ็ชรสุข ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ กราบบังคมทูลถวายรายงาน เรื่อง ผลการปฏิบัติงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรง โดยจังหวัดได้จัดทำคำสั่งเรื่องมาตรการ

เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2564 เป็นต้นมา รวม 10 ฉบับ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จึงได้มีการจัดประชุมคณะทำงานด้านการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

โดยได้กำหนดแผนการดำเนินงานเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านบริหารจัดการ 2. ด้านวิชาการ และ 3. ด้านขยายผล ดังนี้

1. ด้านบริหารจัดการ : กำหนดมาตรการป้องกัน เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

2019 ให้เป็นไปตามประกาศของสาธารณะสุขอย่างเคร่งครัด

2. ด้านวิชาการ ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลในระบบเว๊บไซต์ของศูนย์ฯ ให้เป็นปัจจุบันและสะดวก

ในการเข้าถึง

3. ด้านขยายผล ปีงบประมาณ 2564 ศูนย์ฯ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่





ด้านต่างๆ สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ฯ จำนวน 18 โครงการ เป้าหมายเกษตรกรรวม 4,183 ราย ขณะเดียวกันมีการจัดทำหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ หลักสูตรสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ฯ และหลักสูตรสำหรับเกษตรกรทั่วไป รวมทั้งสิ้น 32 หลักสูตร โดยมีการฝึกอบรมใน 3 รูปแบบ คือ อบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ของเกษตรกร ด้วยการแบ่งการอบรมเป็นรุ่นๆ ละไม่เกิน 10 ราย และอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอพพลิเคชั่น ซูม (ZOOM)  รวมทั้ง จัดทำไลน์กลุ่มของเกษตรกร เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรึกษาปัญหาต่างๆ ได้





        ต่อจากนั้น นายอนันต์  แสงชาตรี พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส กราบบังคมทูลถวายรายงาน เรื่องผลการประกวดหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการ 9 : 10 ปฏิบัติบูชา

สืบสาน รักษา ต่อยอดซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของกรมการพัฒนาชุมชน จังหวัดนราธิวาส  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการน้อมนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้  โดยผลการคัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้

- ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ บ้านพิกุลทอง ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

 - ด้านสังคม ได้แก่ บ้านโคกสยา ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

 - ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ บ้านคีรี ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

 




 ต่อจากนั้น นายปฏิวุฒิ บุญเรือง หัวหน้างานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯกราบบังคมทูลถวายรายงาน เรื่อง ความก้าวหน้าโครงการรวบรวมพันธุ์กล้วยพื้นเมืองตามพระราชดำริแปลงรวบรวมพันธุ์กล้วยพื้นเมืองตามพระราชดำริ มีพื้นที่ 2.2 ไร่ มีการดำเนินการ ดังนี้

 1) ได้ดำเนินการสำรวจและปลูกพันธ์กล้วยเพิ่มเติม เป็นพันธุ์กล้วยซึ่งตรงกับชื่อที่มีในสถาบัน จำนวน

3 สายพันธุ์ คือ กล้วยนิ้วจระเข้ (ปีแซ ยะรี บอยอ) กล้วยขนม (ปีแซ ตาปง) จำ และ กล้วยเล็บม้าหรือกล้วยตานีกีบม้า  และยังสำรวจไม่พบและไม่ได้ปลูกอีกจำนวน 2 พันธุ์ คือ กล้วยพันธุ์อะไร และกล้วยพันธุ์ลูกไก่

 2) ดำเนินการส่งตัวอย่างเนื้อเยื่อพันธุ์กล้วย จำนวน 12 พันธุ์ เพื่อส่งวิเคราะห์ และจัดทำแผนที่ DNA ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร

 3) ได้มีการบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และจัดทำฐานข้อมูลทางสัณฐานวิทยา

           ๔) การขยายผลแปลงรวบรวมพันธุ์สำรองและแปลงเรียนรู้พันธุ์กล้วย จำนวน 3 แปลง

 ๕) การพัฒนาและต่อยอดพันธุ์กล้วย จากการศึกษาข้อมูลพันธุ์กล้วยภายในแปลง จำนวน 39 พันธุ์ พบว่า มีกล้วยพันธุ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจซึ่งสามารถนำมาต่อยอดและขยายผลได้จำนวน 6 พันธุ์ แบ่งได้ดังนี้

     1) พันธุ์กล้วยเศรษฐกิจมีจำนวน 4 พันธุ์

      2) พันธุ์กล้วยหายาก เป็นพันธุ์กล้วยที่มีราคาเป็นที่ต้องการของตลาดนักสะสมอีก จำนวน 2 พันธุ์

 

 จากนั้น นางสายใจ  มณีรัตน์ หัวหน้างานวิชาการและประสานงาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ กราบบังคมทูลถวายรายงาน เรื่อง ผลการดำเนินงานโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์สำรองเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

ในยามวิกฤต ดังนี้  การผลิตและแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ ปี ปี 2564 ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ดังนี้

 1) เมล็ดพันธุ์พืชผัก จำนวน 7 ชนิด คือ พริกหยวก ผลิตได้ 6 กิโลกรัม กระเจี๊ยบเขียว ผลิตได้ 30 กิโลกรัม มะเขือเปราะ ผลิตได้ 4 กิโลกรัม ถั่วฝักยาว ผลิตได้ 1 กิโลกรัม พริกชี ผลิตได้ 3.5 กิโลกรัม ถั่วพู ผลิตได้ 22.8 กิโลกรัม และฟักแฟง ผลิตได้ 0.5 กิโลกรัม

 2) เมล็ดพันธุ์พืชไร่ คือ เมล็ดพันธุ์ถั่วหรั่ง ผลิตได้ 6.5 กิโลกรัม

 3) เมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ซีบูกันตัง ผลิตได้ 2,520 กิโลกรัม และพันธุ์หอมกระดังงา ผลิตได้ 1,350 กิโลกรัม

 



สำหรับผลการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ในปี 2564 เป็นการแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรที่เข้ารับการอบรบหลักสูตรต่างๆ ของศูนย์ฯ เกษตรกรในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ศึกษาฯ และเกษตรกรทั่วไป จำนวน 263 ราย

 

        จากการติดตามการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างเพื่อติดตามทั้งสิ้น 289 ราย จากผู้ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ทั้งสิ้น 1,093 ราย

 

 ต่อจากนั้น นายวิโรจน์  ปิ่นพรม นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กราบบังคมทูลถวายรายงาน เรื่อง ความก้าวหน้าโครงการทดสอบการปลูกกระจับในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่ผ่านการปรับปรุง

 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้สนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการศึกษาการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของกระจับที่ปลูกในพื้นที่

ดินเปรี้ยวจัดที่ผ่านการปรับปรุง และนำผลการทดสอบที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ต่อไป กระจับ ที่นิยมปลูกในภาคกลาง คือ พันธุ์กระจับเขาแหลม ใบสามารถเจริญเติบโตเป็นกอลอยน้ำและเป็นเส้นยาวใต้น้ำ ผลมีสีดำคล้ายเขาควาย ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 800 - 1,200 กิโลกรัม/ไร่ และเป็นที่นิยมบริโภค โดยมีแผนการดำเนินงานต่อไป ได้แก่ 1. การเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตทางด้านการแตกเถาและน้ำหนักผลผลิต 2. วิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 3. สรุปผลการทดสอบ 4. ประเมินความเหมาะสมในการส่งเสริมการปลูกกระจับแก่เกษตรกรในพื้นที่

 

จากนั้น นางสายหยุด เพ็ชรสุข ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ นำเสด็จฯ ไปยัง งานปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ พร้อมทั้ง กราบบังคมทูลถวายรายงานการดำเนินงานระหว่างเส้นทางฯ จากงานวิชาการเกษตรไปยังงานปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

 จุดที่ 1 ผ่านแปลงปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษแปลงปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ เป็นแปลงสาธิตการปลูกพืชโดยไม่มีการใช้สารเคมี ในแต่ละปีจะมีการปลูกสลับชนิดพืช ทั้งพืชผักและพืชไร่ เช่น บล็อกโคลี่ คะน้า สลับกับการปลูกข้าวโพดหวาน มะเขือเปราะ ถั่วพู และ พริกชี มีการปรับปรุงดินโดยใช้พืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) ปีละ 1 ครั้ง

จุดที่ 2 โรงเปิดดอกเห็ดนางรมภูฏาน และเห็ดนางฟ้า สำหรับเป็นโรงเรือนสาธิตการเปิดดอกเห็ดนางรมภูฏานและเห็ดนางฟ้า ให้กับเกษตรกรที่สนใจ เห็ดทั้งสองชนิดนี้ศูนย์สามารถผลิตก้อนเชื้อเอง 

 จุดที่ 3 ห้องเก็บเมล็ดพันธุ์ เป็นห้องควบคุมอุณหภูมิสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในโครงการผลิตเมล็ดพันธ์พืชยามวิกฤต

จุดที่ 4 แปลงพริกไทยค้างยอป่า เป็นแปลงทดสอบพริกไทยในค้างเป็น ปลูกเปรียบเทียบกับแปลงทดสอบที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส เป็นพริกไทยพันธุ์ซาราวัค ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อโรค

 จุดที่ 5 การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย และเห็ดฟางในตะกร้าแปลงสาธิตการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย และเห็ดฟางในตะกร้า เป็นการนำวัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการใช้ผักตบชวามาเป็นอาหารของ

เชื้อเห็ดฟาง

 จุดที่ 6 แปลงสาธิตการปลูกพืชแซมร่วมกับยางพารา มีพื้นที่ทั้งหมด 4 ไร่ ยางพารามีอายุ 38 ปี โดยได้มีการปลูกพืชแซมระหว่างแถวยาง จำนวน2 ชนิด คือ ระกำหวาน และ หวาย (หวายใหญ่ และหวายตะคร้าทอง)

 

จากนั้น นางกนกรส แสงสุวรรณ หัวหน้างานปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ กราบบังคมทูลถวายรายงาน เรื่อง ผลการดำเนินงานโครงการผลิตและส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดไข่พระราชทาน

สำหรับแผนการดำเนินงานปี 2565 งานปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีแผนการผลิตเป็ดไข่พระราชทาน จำนวน 1,500 ตัว เพื่อสนับสนุนให้แก่ โรงเรียนเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำนวน 15  โรงเรียน โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี  จำนวน 5 โรงเรียน โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 5 โรงเรียน รวมทั้ง เกษตรกร จำนวน 25 ครัวเรือนๆ ละ 10 ตัว 

 

ต่อจากนั้น น.สพ.สามารถ อ่อนสองชั้น ปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส กราบบังคมทูลถวายรายงาน เรื่อง       ผลการดำเนินงานโครงการผลิตและส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่พระราชทาน

 แผนการดำเนินงานในปี 2565 งานปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีแผนการขอรับการสนับสนุนพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ จากศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย จังหวัดเลย เพื่อนำมาผลิตไก่สาว

อายุ 20 สัปดาห์ จำนวน 3,000 ตัว และมีเป้าหมายการแจกจ่ายให้แก่โร งเรียนเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 29 โรงเรียน


       


ต่อจากนั้น นางสายหยุด เพ็ชรสุข ผอ.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าเฝ้าฯ ขอพระราชทานพระราโชวาท เพื่อเป็นสิริมงคลและแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง จากนั้น นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายพระพรชัย มงคล ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพัฒนาพิกุลทองฯ

       โอกาสนี้ มีพระราชดำรัสแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในโอกาสเดินทางไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ขอให้ปฏิบัติหน้าทีอย่างเต็มความสามารถ เพื่อประชาชนต่อไป และสืบสานงานพระราชดำริ เป็นต้นแบบการพัฒนา ที่พึ่งให้กับประชาชน สร้างความกินดีอยู่ดี ด้วยวิถีพอเพียง

ภาพข่าว/รายงาน: นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น