โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

(ชมคลิป) สรุปผลการดำเนินงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดย ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล

 

 (ชมคลิป) สรุปผลการดำเนินงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดย ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล






  ตามที่ได้ประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๖๑-๒๕๘๐ เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรก      ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ในปี พุทธศักราช ๒๕๘๐ คือประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 


การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มุ่งไปสู่เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติประเด็นความมั่นคงมีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุขพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องได้รับการแก้ไขจนเกิดความสงบและสันติสุขอย่างยั่งยืน ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม และได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกับภาคอื่น ๆ

 


นายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอำนาจหน้าที่ในการประสานงานระหว่าง คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ราชการส่วนกลาง และ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้คำแนะนำการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

 ตลอดจนรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อนายกรัฐมนตรี เป็นระยะ รวมทั้งกำหนดให้ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นกลไกระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ การดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลได้การขับเคลื่อนงานออกเป็น ๒ มิติ  ประกอบด้วย

 


       มิติด้านความมั่นคง มี พล.อ.ปราการ ชลยุทธ รับผิดชอบ กลุ่มงานยุติเหตุการณ์รุนแรง นายฉัตรพงศ์ ฉัตราคม รับผิดชอบ กลุ่มงานด้านการข่าว พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล รับผิดชอบ กลุ่มงานพัฒนาด้านการศึกษาในพื้นที่ จชต. พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ รับผิดชอบ กลุ่มงานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี และ พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ รับผิดชอบ กลุ่มงานเสริมสร้างความร่วมมือ ส่วนมิติด้านการพัฒนา ประกอบด้วย พล.อ.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ รับผิดชอบ กลุ่มงานเสริมสร้างพหุวัฒนธรรม นายจำนัล เหมือนดำ รับผิดชอบ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพพื้นที่ พล.อ.จำลอง คุณสงค์ รับผิดชอบ กลุ่มงานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ

         ในขณะที่ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล กำกับ ดูแล บูรณาการขับเคลื่อนงานในภาพรวมของคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และการประสานงานกับคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด  ซึ่งการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีผลดำเนินงานที่สำคัญสรุป ดังนี้

 


มิติด้านความมั่นคง

 กลุ่มงานยุติเหตุการณ์รุนแรง และกลุ่มงานประชาชนกลุ่มเป้าหมายสนับสนุนภาครัฐ

 ขับเคลื่อนและประสานงานหน่วยในพื้นที่ ให้คำแนะนำ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ในการป้องกันชุมชน เยี่ยมเยียนปลอบขวัญให้กำลังใจประชาชน และรับทราบปัญหาข้อขัดข้องด้านต่าง ๆ ในชุมชน ขับเคลื่อนโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยใช้เทคโนโยลีที่ทันสมัยตรวจสอบและสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติด เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด โดยประชาชนมีส่วนร่วม ตลอดจนผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่ล้าสมัยเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เพื่อให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ประสานงานกับองค์กรภาคีเครือข่ายและภาคประชาสังคม ผลักดันให้เกิดความร่วมมือ ทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า กับ ๘  สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ เพื่อสร้างชุดความรู้ และนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ สร้างสังคมพหุวัฒนธรรมเปลี่ยนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากความขัดแย้งทางความคิด ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขปราศจากความรุนแรง  

 


กลุ่มงานด้านการข่าว

                 จัดประชุมประชาคมข่าวกรองที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนกลาง และศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ เพื่อบูรณาการด้านการข่าวและรับทราบปัญหาข้อขัดข้อง รวมทั้งให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรายงานต่อหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบาย สนับสนุนข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลกลุ่มงานอื่น นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา

 ตามแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพงานข่าวกรอง ที่ผ่านมาได้ประสานกับ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สนับสนุนงบประมาณจัดฝึกอบรมการปฏิบัติการพิเศษด้านการข่าว เพื่อเพิ่มทักษะการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ก่อให้เกิดการบูรณาการ สามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจสถานการณ์ ด้านการข่าวในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี จนสามารถลดการก่อเหตุรุนแรง ลดความสูญเสีย ของเจ้าหน้าที่รัฐลงได้มาก นอกจากนี้ยังช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงและการพัฒนาในพื้นที่ ให้คำแนะนำข้อบกพร่องเกี่ยวกับนโยบายบางด้าน ที่เป็นประโยชน์ ต่อการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

กลุ่มงานพัฒนาด้านการศึกษา ติดตาม กำกับ งานพัฒนาการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล อาทิ โครงการโรงเรียนประชารัฐและอาชีวศึกษาประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งโรงเรียนในโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ให้มีผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ ติดตามช่วยเหลือเยาวชนวัยเรียน ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย ถูกทอดทิ้งหรือไม่มีผู้อุปการะ และนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เข้าสู่ระบบการศึกษา 

ส่งเสริมการเรียนและใช้ภาษาไทยของประชาชนทุกช่วงวัยอย่างจริงจัง  เพื่อใช้สื่อสารในสังคม ต่อยอดการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ส่งเสริมให้เรียนในสาขาอาชีพที่มีงานรองรับและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ อาทิ โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”, และการค้าออนไลน์  รวมทั้งปลูกฝังให้เรียนรู้ถึงความหลากหลายของอัตลักษณ์ในสังคม พร้อมส่งเสริมชุมชนจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนโดยใช้จุดเด่นของพื้นที่

 

กลุ่มงานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี นอกจากเข้าร่วมประชุมในระดับนโยบาย เพื่อรับทราบเจตนารมณ์ของรัฐบาล และสถานการณ์ในพื้นกับคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนพิเศษของรัฐบาล แล้ว ยังได้เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำกับดูแล ให้คำแนะนำในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

 นอกจากนี้ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพบปะหารือกับแม่ทัพภาคที่ ๔ รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพูดคุยสันติสุขฯ จากประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน นักวิชาการ ตลอดจนเครือข่ายภาคประชาสังคมและประชาชนในสภาตำบลสันติสุข เพื่อนำไปวิเคราะห์ประมวลผลเป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ที่จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางสันติวิธี 

 

 กลุ่มงานเสริมสร้างความร่วมมือ พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับองค์การระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ของรัฐบาล และความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ที่ผ่านมามีองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมพบปะหารือ กว่า ๑๔ องค์กร สามารถพัฒนาสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ในระดับที่ดี ร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้าให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศแก่กำลังพลที่ปฏิบัติงาน ทำให้กำลังพลที่ผ่านการอบรม มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ไม่ปรากฏเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่มีประเด็นที่จะถูกนำไปบิดเบือนขยายผล  สร้างความเกลียดชังต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดจนติดตามดูแลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยเฉพาะชุมชนไทยพุทธ, พระ, วัดและสำนักสงฆ์ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เข้าดำเนินการจนมีความก้าวหน้าและพัฒนาในเชิงบวกทุกมิติ ทำให้ราษฎรมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ต่างมีความพอใจและเชื่อมั่น พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับ หน่วยงานในพื้นที่และเครือข่ายชาวไทยพุทธ ฟื้นฟูวัดร้าง ๙ แห่ง, จัดตั้งสำนักสงฆ์ ๔ แห่ง, จัดซื้อที่ดินถวายเป็นที่ธรณีสงฆ์ ๕ แปลง รวม ๑๑๕ ไร่ ตลอดจนช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านชาวพุทธที่ยากไร้ ๑๒๗ หลัง เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พุทธศาสนิกชน และ พระสงฆ์ในพื้นที่ ให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข ภายใต้พหุสังคมวัฒนธรรม

 


มิติด้านการพัฒนา

 กลุ่มงานเสริมสร้างพหุวัฒนธรรม

 ติดตามขับเคลื่อนงานตามแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบด้วย งานตามโครงการส่งเสริมกิจกรรมศาสนาเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการนำไทยกลับสู่ถิ่นฐานเดิม โครงการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางกายและจิตใจตามหลักศาสนา และโครงการอำนวยความยุติธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งติดตามขับเคลื่อน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ตามข้อสั่งการของหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล

 กลุ่มงานกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพพื้นที่

การดำเนินการที่ผ่านมาขับเคลื่อน กิจกรรมชุมชน ตำบล เข้มแข็ง ผ่านสภาสันติสุขตำบล  และขยายผลวิสาหกิจสถานศึกษา สู่ครอบครัว ชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจตามแนวทางชุมชน ส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พัฒนาธุรกิจฮาลาล  สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง โดยส่งเสริมอาชีพครัวเรือนและวิสาหกิจชุมชนแนวทางเกษตรผสมผสาน ขับเคลื่อนโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และติดตามแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่ป่าไม้ทับที่ทำกินในเขตอำเภอสุไหงปาดี และอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส การดำเนินงานตามข้อสั่งการที่สำคัญ ร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการร่วมกันตามข้อบังคับการประชุม ข้อ ๘๐ วรรคสอง

 เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต รวมทั้งการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหา เช่นปัญหาที่ดิน การขยายเขตไฟฟ้า ประปา และระบบโทรคมนาคม รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ 25 ไร่ ในเขตอำเภอสุไหงโกลก  นอกจากนี้ยังจัดตั้งศูนย์ประสานการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาผลกระทบในช่วงสถานการณ์การระบาดโรคโควิด ๑๙ ศอ.บต. พร้อมสร้างความเข้าใจ กับประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาล และประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรีในการปฏิบัติศาสนกิจ

 กลุ่มงานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ

 ขับเคลื่อนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ประกอบด้วยกิจกรรมเสริมสร้างประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน ๑๙ รุ่นๆละ ๑๐๐ คน และ ขยายผลการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบันมีหมู่บ้าน เข้าร่วมโครงการแล้ว ๒๐๐ หมู่บ้าน  งานตามนโยบายและสั่งการ  ขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ชุมชนศรัทธา(กำปงตักวา) จนสามารถยกระดับชุมชนศรัทธาเป็นสภาสันติสุขตำบล รวม ๒๖๐ ตำบล งานตามความริเริ่ม  ๔ งานประกอบด้วย โครงการทำความร่วมมือมอบทุนเปิดศูนย์วิจัยพัฒนาอัจฉริยะภาพสากล โดยความร่วมมือของมูลนิธิพัฒนามนุษย์นานาชาติโฟกัสและภาคีสถาบันโฟกัสอะคาเดมี่ โครงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ ที่มีปัญหาไฟฟ้าตกดับบ่อย โ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น