โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563

มองต่างมุม "สำนึกสาธารณะ" ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน โดย..นามปากกา By Saringkharm (เด็กรุ่นใหม่)

 มองต่างมุม  "สำนึกสาธารณะ"  ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน    โดย..นามปากกา  By  Saringkharm  (เด็กรุ่นใหม่) 


มองต่างมุม  "สำนึกสาธารณะ"   ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน   ถ้าได้เห็นตั้งแต่ต้น จะดีกว่าหรือไม่กับการรอเวลา


ทุกคนรู้ เมื่อความต้องการ อยู่เหนือเหตุผล

รัก โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยา เหน็บแนมเล่ห์เหลี่ยม เสี้ยมแทง แก่งแย่งช่วงชิง

ทุกสิ่ง จึงต้องได้มา 

เพื่อความเด่นดัง เพื่ออำนาจ

เพื่อเงินตรา เพื่อเป็นที่นิยม


สิ่งเหล่านี้การศึกษาไม่มีสอน

ท่านว่าต้องระงับด้วย "จิตสำนึก"


การศึกษาระดับใด

ที่สามารถการันตีความมั่งคั่งของประเทศได้ ?

อำนาจอิทธิพลระดับใด

ที่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับประเทศได้ ?

คำพูดจากใคร ในฐานะใด

ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทุกคนได้?


ไม่ว่าจะเป็น บุคคล กลุ่มคน หมู่คณะหรือองค์กร

ความรู้สึกข้างต้นที่กล่าวไว้ ก็ไม่ได้ลดน้อย

ถอยลงจากตัวตน  ความเป็นฅน


ใช่ เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์

และใช่ ว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนมองข้าม

นี่คือปัญหาระดับประเทศ ที่เราพบเจอ

กันมาทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่งในยุคปัจจุบัน


ถึงเวลาแล้วหรือยัง!! 

ที่ท่านทั้งหลายจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ 

อย่างจริงจัง  


"สำนึกสาธารณะ" 

น่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการ ที่จะคัดสรรผู้นำ

เพื่อขึ้นมาบริหารปกครององค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ในทุกภาคส่วน

    อย่างน้อย บุคคลเหล่านั้นก็จะได้แสดงศักยภาพ ทัศนคติและความตั้งใจของตน

ในการที่จะพัฒนา และบริหารสังคม 

เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อส่วนรวม

👉 ก่อนผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือก ตามระบบต่อไป

นักบิน ต้องเก็บชั่วโมงบิน ก็เพื่อความชำนาญและความเป็นมืออาชีพ รู้จักหน้าที่ของตน

รู้รับผิดชอบในสิ่งที่ตนทำ

เป็นเหตุผลที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่ให้ความมั่นใจ

แก่ตัวนักบิน ทั้งที่เราไม่เคยรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน

ด้วยรูปแบบที่ว่านี้ จึงใคร่ขอความเห็นและการพิจารณาจากท่านทั้งหลาย


"คน คนเดียวเปลี่ยนโลกไม่ได้

หากแต่ความคิดเพื่อส่วนรวม จากทุกคน

จะเป็นพลังงานขับเคลื่อนให้โลกพัฒนาได้"

จะดีกว่าหรือไม่?

หากผู้นำหน่วยงาน,องค์กร,ข้าราชการ

ฝ่ายบริหาร จะต้องแสดงเจตนาให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชน ก่อนที่จะลงสมัครคัดเลือกเข้ารับตำแหน่งต่างๆ ในรูปแบบ

    📍"บันทึกกิจกรรมสาธารณประโยชน์" 

ตามช่วงเวลาที่ให้มีการกำหนดไว้ในกฎหมาย 

โดย สมมุติดังตัวอย่างนี้

บุคคลใดที่มีความประสงค์ เข้ารับการคัดเลือก

คัดสรร หรือเข้ารับการสมัคร เพื่อเป็นผู้นำตัวแทนของภาคประชาชนในฝ่ายบริหาร เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆของรัฐ จะต้องผ่านบันทึกกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมง

หรือไม่น้อยกว่า 500 กิจกรรมหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีผลย้อนหลังไม่เกิน 4 ปี ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วม หรือเป็นการจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ด้วยตนเอง ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ โดยจะต้องผ่านการอนุมัติ

และมีการรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัด 

ในจังหวัดที่ได้เข้าร่วมหรือจัดทำกิจกรรมนั้น


ความหมาย บันทึกกิจกรรมสาธารณประโยชน์

หมายถึง ประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม,ผลดีแก่คนทั่วไป  เช่น 

กิจกรรมเก็บขยะตามลำคลอง

กิจกรรมปลูกป่าต้นน้ำ

กิจกรรมปลูกป่าชายเลน

กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำสู่ธรรมชาติ

กิจกรรมสร้างสาธารณูปโภคให้แก่วัด,โบสถ์,มัสยิด,โรงเรียน,โรงพยาบาล ที่ขาดแคลน

กิจกรรมสร้างสวนสาธารณะ

กิจกรรมสร้างอาชีพและที่ทำกินแก่บุคคลยากไร้

กิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัย

รวมถึงการบริจาคทุน และสิ่งของต่างๆ เป็นต้น


ตามความหมายดังที่กล่าวมานี้ 

ให้นับรวมชั่วโมงที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยในหนึ่งกิจกรรมอาจกำหนดให้มีการดำเนินกิจกรรมไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และอาจกำหนดให้ดำเนินกิจกรรมไม่เกินกี่วันต่อ 1 กิจกรรม ตามเวลาและจำนวนวันที่ได้มีการกำหนดไว้ เว้นแต่การบริจาคทุนหรือสิ่งของต่างๆ ให้นับเป็น 1 กิจกรรม ต่อครั้ง ต่อสถานที่

เป็นต้น


📍ปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น


 ผู้ที่ต้องการลงสมัครในฐานะและตำแหน่งต่างๆ

ของรัฐ จะต้องบริหารช่วงเวลาของตนเอง

ทั้งในเรื่องของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

ผ่านบันทึกกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ตามที่ได้กำหนดไว้ ทั้งในเรื่องของการโฆษณาเพื่อนำเสนอความสามารถของตนเอง จึงต้องมีการ

เตรียมตัววางแผนเป็นอย่างดี ซึ่งอาจจะมีผู้ไม่พอใจกับแนวคิดนี้ เพราะดูเหมือนเป็นการยัดเยียดความรับผิดชอบให้กับคนที่ไม่ต้องการจะทำ

   แต่หากเป็นบุคคลที่ต้องการจะทำเพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อแสดงเจตนา เพื่อแสดงความรับผิดชอบ โดยไม่หวังผลกำไร หรือหวังที่จะหารายได้จากกิจกรรมทางการเมือง แนวคิดดังกล่าวนี้คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่


และไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มทำกิจกรรมหรือจะเป็นการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้ที่ต้องการลงสมัครในฐานะและตำแหน่งต่างๆของรัฐ จะเป็นผู้เสียประโยชน์มากกว่าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์

ไม่ว่าจะเป็นการเสียเวลาจากการจัดกิจกรรม หรือทุนทรัพย์ในการบริจาคตามกิจกรรมโครงการต่างๆ


แน่นอนว่า ไม่มีใครสามารถฟันธง ว่าแนวคิดนี้จะทำให้ตัวแทนที่เราเลือกขึ้นไปเป็นผู้นำของเรา 

จะมีสำนึกสาธารณะต่อสังคมมากน้อยเพียงใด  แต่อย่างน้อย สิ่งที่เขาทำมาตลอด 1500 ชั่วโมง หรือ 500 กิจกรรม ต่อคน ก็น่าจะสร้างความมั่นใจให้กับคนส่วนใหญ่ในเที่ยวบินนี้ ไป อีก 4 ปี


    อย่างไรก็ตามหากแนวคิดนี้ทำได้จริง

ภายใน 4 ปี ประเทศไทยจะมีกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างสำนึกสาธารณะ

อย่างน้อย 250,000 กิจกรรม

จากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกสมาชิกที่จะขึ้นไปดำรงตำแหน่งสภาผู้แทนราษฎรไทย 500 คนในปัจจุบัน

 และจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ไม่น้อยไปกว่า 2,000,000 คน ใน 4 ปี

และผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุด จากแนวคิดนี้

คือ ประชาชน 


"จงบริหารไทย อย่างไทย สู่สากล

ไม่ใช่ให้ไทย เหมือนใคร เพื่อใคร ในสากล"

นามปากกา  By  Saringkharm



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น