โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

พัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ดำเนินกิจกรรม“ประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาผู้ประกอบการชุมชน (champ)” โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาผู้ประกอบการชุมชน (champ) และทดสอบโปรแกรม


พัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส  ดำเนินกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาผู้ประกอบการชุมชน (champ)” โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาผู้ประกอบการชุมชน (champ) และทดสอบโปรแกรม

     วันที่  26  กรกฎาคม  2563 นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ  พัฒนาการอำเภอรือเสาะ พร้อมด้วย นางสาวพาอีซ๊ะ  สาเม๊าะ  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลเรียง และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาผู้ประกอบการชุมชน (champ) และทดสอบโปรแกรม  กิจกรรมที่ 1 “ประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาผู้ประกอบการชุมชน (champ)”    ณ อาคารอเนกประสงค์  บ้านซือเลาะ  หมู่ที่ 4  ตำบลเรียง  อำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส  โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการดังนี้


    กิจกรรมวันที่ 1  : วิทยากรชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการชุมชน โดยใช้แนวทางการจัดนิทรรศการแบบกระจาย ให้ผู้ร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติ ดีโฮป  (D-HOPE : Decentralized Hand – On Program Exhibition) เชื่อมโยงสู่หมู่บ้านท่องเที่ยวนวัตวิถี

 กิจกรรมวันที่ 2  : ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการจัดทำโปรแกรมของผู้ประกอบการชุมชน  (Champ), การเขียนคำเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าที่สนใจ, การเขียนเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ (product   Story) , เทคนิคการเล่าเรื่องและนำเสนอเพื่อขายโปรแกรม โดยทีมงานนักวิชาการพัฒนาชุมชน   สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส   และทีมวิทยากรสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ 

 กิจกรรมวันที่ 3  : ผู้เข้าประชุมได้นำเสนอผลการปฏิบัติฯ และร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น  ปรับปรุงการนำเสนอโปรแกรมให้น่าสนใจและเหมาะสมกับระยะเวลาที่จัดกิจกรรมของผู้ประกอบการชุมชน (Champ)  และออกแบบ/วางแผนการจัดกิจกรรมทดสอบโปรแกรม โดยทีมงานนักวิชาการพัฒนาชุมชน   สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส   และทีมวิทยากรสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ 


     ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มีกรอบแนวคิดด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ เกิดความยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิต และมีรายได้ที่ดีขึ้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีแนวทางเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในเชิงธุรกิจของภาคบริการ

 และพันธกิจกระทรวงมหาดไทย ข้อ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนภารกิจอำนาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน


     กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินงานโครงการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชน (Project for Community-Based Entrepreneurship Promotion) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่โครงการฯ ได้รับการกระตุ้นด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในชุมชน และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการในชุมชนได้รับการพัฒนาตามแนวทางการจัดนิทรรศการแบบกระจายที่ผู้บริโภคได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Decentralized Hands – On Program Exhibition : D – HOPE

    ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 
     กรอบความคิดของ D-HOPE :  D-HOPE งานอีเวนต์ที่ใช้ระยะการดำเนินการเพียงไม่กี่เดือน โดยนำเสนอกิจกรรมในท้องถิ่นที่คนส่วนใหญ่มองข้าม ผ่านโครงการที่ผู้เข้าร่วมสามารถลงมือปฏิบัติได้เองที่จัดดำเนินการโดยแชมป์ประจำชุมชนที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่น (ภูปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และอื่นๆ)

 ณ สถานที่ที่พวกเขากำหนดเองต่อสาธารณะชน ดังนั้น D-HOPE เป็นกิจกรรมแบบรวมที่จะทำให้ความสามารถพิเศษของแชมป์เปียนประจำชุมชนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนผ่านการโฆษณาในแคตตาล็อก D-HOPE ที่บรรจุข้อมูลโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติได้ทั้งหมดที่ผ่านการเตรียมการโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดแล้ว

     ดังนั้น D-HOPE จึงเสริมสร้างความสามารถของแชมป์เปียนประจำชุมชนผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จะถูกจัดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งรวมถึงการสนทนากลุ่มและการทดลองจัดโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติได้จริงเพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรมดังกล่าว และการดำเนินการที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมในงานอีเวนต์จริง อีเวนต์ D-HOPE ช่วยให้แชมป์เปียนมีความเป็นผู้ประกอบการ และมีแนวคิดสร้างนวัตกรรม ผ่านการเปิดเผยผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีอยู่หรือมีแนวโน้มที่จะพัฒนาผ่านการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้มาเยือน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น