โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

(มีคลิป)รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2563“ ประมวลภาพภาระกิจของกองทัพภาคที่ 2 ““ โครงการหยุดภัยแล้งด้วยแสงพระอาทิตย์ ( โซล่าเซลล์ ) “


(มีคลิป )รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2563“ ประมวลภาพภาระกิจของกองทัพภาคที่ 2 ““ โครงการหยุดภัยแล้งด้วยแสงพระอาทิตย์ ( โซล่าเซลล์ ) 



รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2563
เวลา 13.40-14.00 น.


ประมวลภาพภาระกิจของกองทัพภาคที่ 2 “

โครงการหยุดภัยแล้งด้วยแสงพระอาทิตย์ ( โซล่าเซลล์ )


         ตามที่ผู้บัญชาการทหารบกได้มีนโยบายในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยแล้งซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุกปี
ในการนี้
พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค2




-พันเอก ปฏิภาณ พนาพิศาล ผู้บังคับศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่21

- พลตรี เกียรติศักดิ์ วิเวก ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่21

- พลตรี สุรชิน กาญจนจิตติ ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่2

-พันเอก ไชยนคร กิจคณะ ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่2

- พันโท สนิท หอมหวล ผู้บังคับกองพันทหารสื่อสารที่กองพลทหารราบที่3


จึงได้มีนโยบายและหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ประสบภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยสั่งการให้หน่วยทหารที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำทางการเกษตร ตามโครงการหยุดภัยแล้งด้วยแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวิธีบริหารจัดการระบบสูบน้ำจากแผงโซล่าเซลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ตามทฤษฎีน้ำทองคำ ของศูนย์การเรียนรู้พลังงานเพื่อชีวิตที่พอเพียง สามารถนำไปใช้ระบบประปาชุมชนหรือเกษตรกรรมที่ใช้น้ำน้อยได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน
โครงการหยุดภัยแล้งด้วยแสงอาทิตย์ ( โซล่าเซลล์ ) โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค2 ร่วมกับกระทรวงพลังงาน ติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้สำหรับสูบน้ำใต้ดิน ให้กับประชาชนเพื่อนำไปเป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคในครัวเรือนและการเกษตรกรรมปลูกพืชใช้น้ำน้อยได้ตลอดปี


 จุดประสงค์ของโครงการหยุดภัยแล้งด้วยแสงอาทิตย์

- เพื่อจัดหาน้ำสะอาดมากเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการอุปโภคได้ตลอดทั้งปี

- เพื่อลดค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนให้กับประชาชนด้วยการใช้น้ำราคาถูก

- เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ดัวยเกษตรกรรมหลังครัวเรือน หรือการปลูกพืชใช้น้ำน้อย

- เพื่อให้เกิดการบรูณาการหน่วยงานภาครัฐในการช่วยเหลือประชาชน

ดั่งวลีของโครงการที่กล่าวว่า แดดออก น้ำไหล โอ่งเต็ม ทุกวัน



.................................

 ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส

จังหวัดอุบลราชธานีได้รับผลกระทบรุนแรงจากอุทกภัยน้ำท่วมจากพายุโพดุล และ พายุคาจิกิ ตั้งแต่เดือนกันยายน พุทธศักราช 2562
ที่ผ่านมา
ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีได้รับความเดือดร้อน ๔๒,๓๘๓ ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ๖๓๙,๕๕๖ ไร่
หลังจากสถานะการณ์หลังน้ำลดจากประสบอุทกภัยจังหวัดอุบลราชธานี

โดยได้มีการฟื้นฟูบูรณะการซ่อมสร้างบ้านให้กับประชาชน ,วัด , โบสถ์ , โรงเรียนและ
จัดกิจกรรม BIG CLEANING ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี


โดยกองทัพภาคที่ พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่ ๒ ผอ.รมน.ภาค ๒

ได้มอบหมายให้หน่วย งานของมณฑลทหารบกที่ 22 พลตรี รณกร ปานกุล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22


กรมทหารราบที่ 6  กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่6

กองพันทหารราบที่2 กรมทหารราบที่6

กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 6

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 6 กรมทหารปืนใหญ่ที่6



กรมทหารพรานที่ 23

กองพันทหารช่างที่ ๖
กองพลทหารราบที่๖

และ แพทย์เดินเท้าให้บริการทางการแพทย์

   ที่รับผิดชอบพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากอุทกภัยน้ำท่วมที่ผ่านมาและดูแลพี่น้องประชาชนที่ป่วยติดเตียงพร้อมจัดโรงครัวพระราชทานการดำเนินการนั้นเริ่มตั้งแต่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมจนถึงหลังน้ำลดโดยประกอบอาหารปรุงสุกให้กับประชาชนผู้ประสบภัยและกำลังพลที่ปฎิบัติหน้าที่ในขณะนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พี่น้องทหารหาญเรา ที่ตั้งมั่นในอุดมการณ์ เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์และประชาชน พร้อมที่ช่วยเหลือและเคียงข้างประชาชนตลอดไป
ดังปณิธานว่า ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส

 ................................



          ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส

การรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดนของกองทัพภาคที่ ๒
กองกำลังสุรนารี จังหวัดสุรินทร์
กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดอุดรธานี

กองทัพภาคที่ ๒
ก่อกำเนิดตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2435 สมัยรัชกาลที่ ๕ รับผิดชอบพื้นที่ ๒๐ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ ๑๗๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑ ใน ๓ ของประเทศ มีพรมแดนติดกับ ๒ ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ราชอาณาจักรกัมพูชา
มีภารกิจหลัก ๕ ประการ คือ
1.การป้องกันประเทศ,
2 การรักษาความมั่นคงภายใน
3.การรักษาความสงบเรียบร้อย
4. การช่วยพัฒนาประเทศ
5 การปฏิบัติทางทหารนอกเหนือการสงคราม

​สำหรับการรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน มี ๒ กองกำลังป้องกันชายแดน คือ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดอุดรธานี
และกองกำลังสุรนารี จังหวัดสุรินทร์
ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ ๑๐ จังหวัดชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเส้นเขตแดน รวมทั้งสิ้น ๑,๕๖๙ กิโลเมตร
ภารกิจหลัก คือการวางกำลังป้องกันชายแดน /ป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย /การป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด /ผู้หลบหนีเข้าเมือง /การค้ามนุษย์ /การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า /การค้าอาวุธ /สินค้าหนีภาษี /และอาชญากรรมตามแนวชายแดน /
การประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดนด้วยสันติวิธี และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

 อย่าพลาดติดตามชมรายการคืนคุณให้แผ่นดิน วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2563 เวลา 13.40-14.00 น.
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

CR..ศิริพร จงศิริ
ผู้อำนวยการใหญ่ผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น