โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปัตตานีจัด มหกรรม spark U สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยสายใย ด้วยหัวใจมลายู รวมพลังปลุกใจเมืองใต้ สร้างพื้นที่สุขภาวะให้หัวใจเป็นหนึ่งเดียว


 ปัตตานี จัดมหกรรม spark  U สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยสายใย ด้วยหัวใจมลายู  รวมพลังปลุกใจเมืองใต้ สร้างพื้นที่สุขภาวะให้หัวใจเป็นหนึ่งเดียว 

   วันที่ 17 ธันวาคม 2561 บริเวณกำแพงข้างประตูวังยะหริ่ง  จ.ปัตตานี ชาวบ้านจำนวนมาก เข้าร่วมงาน  มหกรรม spark  U สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยสายใย ด้วยหัวใจมลายู  รวมพลังปลุกใจเมืองใต้ สร้างพื้นที่สุขภาวะให้หัวใจเป็นหนึ่งเดียว  โดย  แผนงานการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนหรือ สสย.  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. สกลุ่มดอกไม้ยิ้มยะลาจัดงานมหกรรม  spark U  3 จังหวัดชายแดนใต้  ร้อยสายใย ด้วยหัวใจมลายู

      เพื่อเป้าหมายสานสายใย หัวใจชาวใต้ให้ได้ไหวเต้น จุดประกาย spark พลังเยาวชน พลเมืองคนรุ่นใหม่ลุกขึ้น มาขยับ ปีกฝันสร้างสรรค์ชีวิตสุขภาวะ โดยมี นายยูกิฟลี  กาเร็ง ปลัดอำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี นายมานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิสสส. และประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก เข้าร่วม

     นายมานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิสสส.กล่าวว่า  กิจกรรมนี้เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนทำงานด้านเด็กและเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการเปิดพื้นที่ชุมชนเป็น 4 ห้องเรียนแห่งการเรียนรู้ ห้องเรียนที่ 1. บ้านมะรวด ต.บ้านกลางอ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ห้องเรียนที่ 2. บ้านป่าหลวง ต. ยามู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ห้องเรียนที่ 3. บ้านปูยู ต. ปูยุด อ.เมืองจ.ปัตตานี และห้องเรียนที่ 4. บ้านท่าแร่ ต.ป่าไร่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี นอกจากนี้ มีภาคีเครือข่ายที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีจาก  พัทลุงยิ้ม จ.พัทลุง  สงขลา ฟอรั่ม  จะนะ สวนกรง  สุราษฎร์ธานี  ขอนแก่น  เลย และ  ร้อยเอ็ด ทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย มาร่วมลงพื้นที่เรียนรู้ห้องเรียนทั้ง 4 ที่ปัตตานี

      ภาคีเครือข่ายยังได้นำวัฒนธรรมมาร่วมแสดงในเวทีเพื่อมาแลกเปลี่ยนอีกด้วย  มีทั้ง  โนราห์ จาก จ.พัทลุง  คณะหมอลำหุ่น สินไซโมเดล จาก จ.ขอนแก่น กลุ่มหน่อไม้หวาน จาก จ.เลย


      ในแต่ละห้องเรียนจะนำสิ่งดีๆในชุมชนมาเป็นเครื่องมือจุดพลัง spark  ให้เกิดแรงบันดาลใจยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างพลังมิตรภาพอันดีงามและ พัฒนา สุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ร่วมลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเรียนรู้จักพื้นที่ประวัติพื้นที่ปฏิบัติ จริง ทั้ง 4 ห้องเรียน 4 ชุมชน ก่อนที่แต่ละชุมชนจะยกห้องเรียนมาจัดแสดงร่วมกันที่อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี เนรมิตถนนหน้าวังเจ้าเมืองยะหริ่งเป็นถนนสายวัฒนธรรม ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชมการแสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและร่วมทำกิจกรรมหลากหลาย  เช่นการทำผ้ามัดย้อม ประดิษฐ์งานหัตถกรรม ท้องถิ่น เรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้าน โบราณและอื่นๆอีกมากมาย

      กิจกรรมในแต่ละพื้นที่เป็นเครื่องมือในการปลูกพลัง แรงบันดาลใจ ร้อยสายใย ด้วยหัวใจมลายู บนความงดงามของอัตลักษณ์ที่หลากหลายของดินแดนใต้ ที่จะขับเคลื่อนพลังของเยาวชนในการสร้างสรรค์สังคมและสันติภาพ

       มหกรรม spark  U  สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยสายใยด้วยหัวใจมลายู เป็นหนึ่ง ใน กิจกรรมภายใต้โครงการ spark  U ใช่เลย ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 จากโครงการ spark  U  ปลุกใจเมืองใต้ ในระยะที่ 1 ปี 2559 ถึง 2560 โดยในปีนี้โครงการได้ดำเนินกิจกรรมปลูกใจ เมืองใน 7 จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่ จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ จังหวัดปัตตานี

      พ.ต.ต.ไซด์ยิดอันวา อันดิสรุส นายกเทศมนตรีเทศบาลยะหริ่ง จ.ปัตตานี กล่าวว่า  มหกรรม spark  U  สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยสายใยด้วยหัวใจมลายู  เยาว์ในชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำร่วมกันกับ 4 ภาคเป็นภาคีเครือข่าย โดยการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน

      ทั้งหมดนี้เป็นการระลึกถึงประวัติศาสตร์ ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วัฒนธรรมและการละเล่น มีปรากฏอยู่ใน 7 หัวเมือง ในอดีต และ ในอดีต พื้นที่ 3 จังหวัด มีการปกครอง โดย 7 หัวเมือง หนึ่งใน 7 หัวเมืองนี้ คือ ยะหริ่งเป็นเมืองเก่า วัฒนธรรมทั้งหมด เรายังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันเดิมจากอดีตทั้งหมดอยู่ถึงปัจจุบัน
     กิจกรรมทั้งหมดก็ได้ปรากฏ บนเวที ให้พี่น้องที่มาร่วมงานได้ชม ทั้ง มโนราห์ ปัจจะสีละ ขับร้องเพลงอานาซีด การจัดงานครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก

      นายริสมี ยีดารอมา นำภูมิปัญญาการสลักลายไม้ จากบ้านปาเระ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี กล่าวว่า การแกะสลักไม้ นับเป็นแหล่งเดียวที่มีในจังหวัดชายแดนภาคใต้  เราจะแกะสลักไม้ เป็นเครื่องใช้โบราณ ทั้ง กระต่ายขูดมะพร้าว โต๊ะวางพระคัมภีร์อัลกุรอาน (ฆาฮา) ภาชนะใส่กับข้าวของชาวประมงเวลานั่งเรือออกทะเล (จือปู)

     ส่วนราคา เช่น กระต่ายขูดมะพร้าวอยู่ที่  2,000-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับเนื้องาน และขนาดจะขายได้เรื่อยๆจากการนำไปจัดแสดงโชว์สิ้นค้าในงานต่างๆ วันนี้ก็ได้นำมาจัดแสดงให้พี่น้องภาคีเครือข่ายที่มาจาก 4ภาคได้เห็นเขาก็ตกใจกับสิ่งที่ได้นำมาโชว์ ซึ่ง ปัจจุบันงานฝีมือในลักษณะนี้ไม่ค่อยมีคนรุ่นหลังทำได้แม้กระทั่งจะหาผู้ที่มาเรียนและฝึกฝนที่จะสอนให้คนรุ่นหลังปัจจุบันเรายังหาไม้ได้เลย
   ผมเองยังแกะสลักไม่เป็น แต่จะทำหน้าที่ บรรยายให้ความรู้ได้ และหาไม้มาตามที่มีการสั่งงานเข้ามา ราคาจะสูงตามเนื้อไม้และขนาด ก็อยากให้คนรุนหลังได้สืบสานสิ่งดีๆจากโบราณนี้แม้จะหาคนที่มาฝึกทำยากแต่ก็ยังหาเรื่อยๆคิดว่าน่าจะเจอคนที่มีฝีมือและที่สนใจสักวัน 

   นายปริพนธ์ วัฒนขำ กลุ่มหน่อไม้หวาน และเป็น  เครือข่าย spark  U  จ.เลย กล่าวว่า   อยู่ภาคอีสาน วันนี้มาให้กำลังใจพี่น้อง พิราบขาว และ เครือข่าย spark  U ใต้ ซึ่งได้นำ วัฒนธรรม ที่เป็นเพลงอีสาน และ มีการแต่ง เพลง Spark มลายู มาร้องด้วย เราแต่
งกันที่นี้และร้องที่นี้ 

    ได้เห็นวิถีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวใต้ รู้สึกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องราวเดียวกันจากทุกๆภาค กลุ่มพี่น้องชาวใต้มีความเข้มแข็ง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่บอบบางก็ตาม คนที่ทำงานในด้านนี้  แล้วสภาพของความเป็นพื้นที่บางสิ่งบางอย่าง ก็ต้องเอาบริบท ของพื้นที่เป็นตัวตั้งมาเห็นก็ประทับใจ
ขอบคุณภาพ/ข่าวอับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น