โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

(ชมคลิป)สตูล // หัวครกเคลือบน้ำตาลอาหารท้องถิ่นบ้านๆขายทางออนไลน์ลูกค้าตรึม


(ชมคลิป)สตูล //  หัวครกเคลือบน้ำตาลอาหารท้องถิ่นบ้านๆขายทางออนไลน์ลูกค้าตรึม

          เมื่อวันที่ 5ธ.ค.61ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่าน.ส.ยลพรรล  วงศ์สวัสดิ์   อายุ 27 ปีอยู่บ้านเลขที่425 ม.6 ต.คลองขุด  อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง หลังเลิกงานหันมาทำอาชีพเสริมโดยรื้อฟื้นขนมที่เคยกินในอดีตมาขายทางออนไลน์ด้วยรสชาติที่อร่อยถูกใจและหารับประทานค่อนข้างยากทำให้เพียง 1 เดือนมีออเดอร์ลูกค้าเข้ามาจนทำแทบไม่ทัน 


โดยน.ส.ยลพรรล หรือน้องนุช กล่าวว่าหัวครกเคลือบน้ำตาลเป็นของกินเล่นที่สมัยเด็กๆยายและแม่ทำให้กินบ่อย  เมื่อก่อนที่บ้านทำขาย และเลิกทำไปนานแล้ว เมื่อตนกลับมาอยู่บ้านและทำงานบริษัททัวร์ช่วงเย็นจะว่างก็อยากมีรายได้เสริม จึงคุยกับแม่ต้องการทำอะไรที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และเป็นของโบราณที่จะต้องนำมาประยุกต์ให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก เพราะจะนำมาขายทางออนไลน์ทำการตลาดใหม่ๆ ให้คนต่างจังหวัดได้ลองรับประทานและได้รู้จักอาหารใต้ด้วย 

จึงหันมาทำหัวครกเคลือบน้ำตาลแทน โดยสูตรของที่บ้านจะใช้น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอ้อย แบะแซและเกลือเล็กน้อยเคี่ยวน้ำตาลให้เดือดเหนียวหนืด จากนั้นนำเม็ดหัวครกผ่าซีกมาใส่และเคี่ยวต่อให้งวด นำใบหัวครกมาล้างให้สะอาดตัดให้สวยงาม และหยอดหัวครกที่เคลือบน้ำตาลแล้วลงในใบและต้องรีบหยอดให้เสร็จโดยเร็วเพราะหากช้าน้ำตาลจะแข็งตัว  หัวครกเคลือบน้ำตาลจะมีรสชาติหอมมันหวานเล็กน้อยผู้ที่รักสุขภาพสามารถรับประทานได้เพราะไม่หวานมาก

 โดยจะขายชิ้นละ 10 บาท และใส่ขวดโหลๆให้สวยงามขายราคาขวดละ200-500 บาท ไม่ใส่สารกันบูด สำหรับใบหัวครกเมื่อนำมาใส่ในขวดก็จะมีความหอมไปอีกแบบหนึ่ง โดยทำขายทางออนไลน์ใช้แบรนด์ว่า มาดามนุชลูกค้ามีทั้งภาคใต้ กรุงเทพ และภาคเหนือ  โดยมีตัวแทนขายตอนนี้ออเดอร์แต่ละวันวันละ 400-500 ชิ้น


 ซึ่งกระแสตอบรับดีเกินคาด รู้สึกภูมิใจที่ได้เผยแพร่อาหารบ้านๆของคนใต้ในอดีต ถือเป็นการนำของเก่ามาประยุกต์เพราะหัวครกเคลือบน้ำตาลปัจจุบันหารับประทานค่อนข้างยากมาก  ตอนนี้กำลังเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าโดยทำเป็นหัวครกเคลือบคาราเมล เคลือกช็อกโกแลด  และแบบอบแห้ง ถือเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่นำเอกลักษณ์ท้องถิ่นมาประยุกต์และต่อยอดทำให้สร้างรายได้อย่างงามเลยทีเดียว

ขอบคุณนิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น