โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ทีมสำรวจได้ยินเสียงแล้ว นกแร้วแล้วท้องดำ เชื่อยังไม่สูญพันธุ์จากเมืองไทย ยังคงอาศัยเขตที่ราบต่ำเขานอจูจี้ใน 2 จุดใหญ่

ทีมสำรวจได้ยินเสียงแล้ว นกแร้วแล้วท้องดำ เชื่อยังไม่สูญพันธุ์จากเมืองไทย ยังคงอาศัยเขตที่ราบต่ำเขานอจูจี้ใน 2 จุดใหญ่


วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ซึ่งหลังจากการดำเนินการกิจกรรมสำรวจประชากรนกแต้วแล้วท้องดำ โดยมีแผนการสำรวจนกแต้วแล้วท้องดำในพื้นที่ป่าที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ โดยการระดมเจ้าหน้าที่สำรวจในพื้นที่พร้อมกัน จำนวน ๕๔ คน ตั้งแต่วันที่ 2226 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ได้คุยกับสำนักวิจัยสัตว์ป่าตั้งแต่ต้นปี 2560 ว่าต้องหานกแต้วแล้วท้องดำในป่าให้เจอ เพราะจากข้อมูลที่ได้รับมาเชื่อมั่นว่านกแร้วแล้วท้องดำยังคงอยู่ในป่าเขาประ-บางคราม ไม่หายไปไหนและยังไม่สูญพันธ์อย่างแน่นอน นอกจากจะหานกแร้วแล้ว ต้องทำทุกอย่างที่เป็นบ้านของนกให้กลับคืนมาคือพื้นที่ป่าสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพื่อเพื่อให้นกกลับมาให้มากที่สุด


นส.สมหญิง ทัฬหิกรณ์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าทีมวิจัยและสำรวจประชากรนกแร้วแล้วท้องดำ กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า ซึ่งพยายามติดตามประชากรนกแต้วแล้วท้องดำซึ่งถือเป็นสัตว์มีปีกตัวน้อยที่มีลักษณะซึ่งมิที่มีสถานะใกล้สูญพันธุ์เต็มทีในประเทศไทย

โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีใครได้พบเห็นนกชนิดนี้เลยแต่ก็ไม่มีใครหมดหวังทุกคนยังคงมีความเชื่อว่าประเทศไทยยังมีนกชนิดนี้อาศัยอยู่โดยเฉพาะพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม แหล่งดั้งเดิมที่นกชนิดนี้อาศัยอยู่ ซึ่งทางเราได้แบ่งทีมสำรวจออกเป็น 24 ทีมปรากฏว่าทีมที่เดินไปบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่า 100 ชั้นพันวัง สามารถบันทึกเสียงนกแต้วแล้วตัวผู้ได้ ที่ในใจมากกว่าเป็นเสียงนกแร้วแล้วท้องดำตัวผู้ 

เพราะเราใช้วิธีเปิดเสียงนกแต้วแล้วท้องดำตัวเมีย ตัวผู้ได้ยินมันก็จะส่งเสียงร้องกลับมา คนที่ได้ยินเสียงคนแรกนั้นตื่นเต้นมากและพวกเราก็ดีใจกันเป็นที่สุดแม้ไม่ได้เจอตัว แต่อย่างน้อยเราก็ได้ยินเสียงแล้วนกแต้วแล้วท้องดำยังคงมีที่อยู่ในป่าประเทศไทย

นส.สมหญิง ทัฬหิกรณ์ กล่าวต่ออีกว่า เมื่อวันที่ 22 - 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่าได้อบรมเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติจำนวน 54 คน สำหรับใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูล เพื่อตามหานกแร้วแล้วท้องดำ และจะออกสำรวจแบบสแกนพื้นที่ทุกตารางนิ้วภายในเขตป่าที่ราบต่ำรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม

 โดยโฟกัสพื้นที่ 32 ตารางกิโลเมตร และนอกเหนือจากนกแร้วแล้วท้องดำแล้ว ทีมสำรวจยังได้ยินเสียงนกแร้วแล้วลาย ในพื้นที่เดียวกันถึง 6 จุด ซึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่งที่หาค่อนข้างยากพอกับนกแร้วแล้วท้องดำ แต่นกแร้วแล้วลายนั้นสามารถปรับตัวได้เก่งกว่านกแร้วแล้วท้องดำ จึงหาง่ายกว่า โดยขณะนี้ทีมสำรวจออกจากพื้นที่ไปแล้วยังเหลืออีก 6 คน ยังคงเก็บข้อมูลเข้มข้นในป่าต่อไป ทั้งนี้นกจะมีการจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม จะสร้างรัง และวางไข่ต่อไป

-ขอบคุณข้อมูลข่าว / ภาพ

มโนธรรม ใจหาญ จ.กระบี่ รายงาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น