โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

สตูล สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน "ทิ่มเม่า" รวมญาติ เผยแพร่ของดี สร้างรายได้ให้ชุมชน (ชมคลิป)

สตูล สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน "ทิ่มเม่า" รวมญาติ เผยแพร่ของดี สร้างรายได้ให้ชุมชน (ชมคลิป)


       วันนี้ 15ม.ค.2561ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายธานี หะยีมะสาและ นายอำเภอละงู จ.สตูล เป็นประธานร่วมกิจกรรมทิ่มเม่ารวมญาติสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ม.5 บ้านดาหลำ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล ซึ่งประเพณีการทิ่มเม่าหรือตำข้าวเม่า ถือเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวบ้านเมื่อข้าวเริ่มจะมีน้ำนมข้าวใกล้ เป็นข้าวที่ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวออกน้ำตาล เมื่อเก็บมาแล้วมาแช่น้ำ จากนั้นนำมาคั่ว ตำ แล้วนำไปรับประทานได้เลย ถ้าทำสุกใหม่ ๆ ก็จะนิ่ม 

        หรือบางคนก็จะนำไปคลุกเคล้าด้วยน้ำตาลทราย มะพร้าวและเกลือ เรียกว่าข้าวเม่าคลุก รับประทานแทนขนม แต่สำหรับหมู่บ้านแห่งนี้นิยมกินคู่กับฟักทองแกงบวชโดยจะบวชฝักทอง เผือกมันแล้วนำข้าวเม่าที่ตำเสร็จแล้วมาใส่กินด้วยกัน และอีกชนิดหนึ่งคือกินคู่กับมะพร้าวอ่อนพร้อมน้ำมะพร้าว

       ปัจจุบัน การตำข้าวเม่ากำลังจะสูญหายเนื่องจากสังคมเกษตรกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงไป ชาวบ้านซึ่งเป็นญาติพี่น้องกันจึงรวมตัวเพื่อสร้างสัมพันธุ์กันในเครือญาติ และเพื่อนบ้านซึ่งประเพณีทิ่มเม่าของหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงยึดถือเอาไว้เนื่องจากยังคงมีพื้นที่ทำนา และมีความผูกพันธ์กับนาข้าว การทิ่มเม่าถือเป็นการสานสัมพันธ์ได้อย่างดีโดยเฉพาะเวลาทิ่มเม่า หรือตำข้าวเม่า ต้องอาศัยความชำนาญ เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่เคยต่างสนุกสนานที่ได้ร่วมกิจกรรมดังกล่าว

       เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรีรมการทำข้าวเม่าไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้สืบทอดและระลึกถึงวัฒนธรรมโบราณที่มีค่าได้ปฏิบัติสืบไป อีกทั้งยังส่งเสริมความสามัคคีของคนในท้องถิ่น ส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นหลังได้อนุรักษ์ประเพณีการทิ่มเม่าเอาไว้

        นางสุวรรณ แคยิหวา อายุ 65 ปีชาวบ้านม.7 ต.เขาขาว อ.ละงู กล่าวว่าคนรุ่นก่อนที่ถ่ายถอดมาด้วยการสร้างต้นแบบวิธีคิดที่ดีให้กับพวกเราได้รำลึกถึงความรักความสัมพันธ์การช่วยเหลือเอื้ออาทรกันระหว่างญาติพี่น้องให้เหนียวแน่นเหมือนคนสมัยก่อน ปัจจุบันกิจกรรมแบบนี้หาดูได้ยาก 

         การจัดประเพณีทิ่มเม่ารวมญาติฯในครั้งนี้ถือเป็นการรวมญาติพี่น้องซึ่งบางคนอยู่ต่างหมู่บ้านได้มารวมตัวกัน สืบสานประเพณีที่ดีงามให้คนรุ่นหลังได้เห็นพลังความสามัคคีของคนรุ่นเก่า และสืบสานประเพณีดังกล่าวให้คงอยู่สืบไป

        ซึ่งนอกจากเป็นการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้วยังเป็นการเผยแพร่ของดีของชาวบ้าน โดยข้าวเม่าที่ชาวบ้านได้ตำขายนั้นอยู่ก.ก.ละ 200 บาท ถือเป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้านที่ปลูกข้าวไร่ในช่วงนี้ด้วย


ขอบคุณนิตยา แสงมณี // สตูล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น