โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ภูเก็ต....เลขาธิการ สรส.ภูเก็ตพร้อมคณะกรรมเดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนผ่าน ผวจ.ถึงนายกรัฐมนตรี..



ภูเก็ต....เลขาธิการ สรส.ภูเก็ตพร้อมคณะกรรมเดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนผ่าน ผวจ.ถึงนายกรัฐมนตรี..
.

       เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา นายปริทรรศน์ รุ่งมี เลขาธิการ สรส. สาขาภูเก็ตพร้อมคณะกรรมการเดินทางเข้ายื่นข้อเรียกร้องฯผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อส่งต่อไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชาโดยมีทางนายธนพงศ์  อรชร ผช. สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ตทำหน้าที่รับมอบหนังสือฯเพื่อดำเนินการต่อ(หมายเหตุ ในวันแรงงานสากลปีนี้ ทางผู้จัดงานไม่ได้บรรจุวาระการยื่นข้อเรียกร้องเข้าไป จึงต้องมายื่นภายหลัง)
ซึ่งมีข้อเรียกร้องจำนวน 10 ข้อ ดังนี้


       1.รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฎิบัติ อาทิ ด้านสาธารณสุข ประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่าย
       2.รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน อาทิ กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้างและปรับค่าจ้างทุกปี
       3.รัฐต้องให้สัตยาอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่87ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัินและอนุสัญญาฯฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฎิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองเพื่อสร้างหลักประกันในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองและอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา(ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 มาตรา 48)
        4.รัฐต้องปฎิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพรัฐวิสาหกิจ ในการให้บริการที่ดีมีคุณภาพเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน อาทิ จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ
        5.รัฐต้องยกเลิกนโยบายที่ว่าด้วยการลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว
        6.รัฐต้องปฎิรูประบบประกันสังคม เช่น จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐนายจ้าง ลูกจ้างตามหลักการของพรบ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 และ นำเงินส่งสมทบที่รัฐบาลค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวน เพิ่มสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้เท่ากับมาตรา 33 เป็นต้น
       7.รัฐต้องดูแลให้มีการปฎิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย เช่น การปิดกิจการ หรือยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ(ตามรัฐธรรมหมวด 5 มาตรา 53)
8.รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุนโดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงานเมื่อมีการยกเลิกหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
      9.รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิการบังคับใช้พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวคล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 อย่างจริงจัง
     10.รัฐต้องจัดสรรเงินงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯเพื่อใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ
โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีจะนำเอกสารที่ทางกลุ่มผู้ใช้แรงงานยื่นเสนอมาส่งต่อท่านนายกรัฐมนตรีต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กิตติศักดิ์ ประดับศรี

ทศพร ก้อนแก้ว   รายงาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น