พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ลงพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ใน ๒๘ และ ๒๙ มีนาคม นี้ เพื่อร่วมหาแนวทางพัฒนาพื้นที่ท่าเทียบเรือ และสนับสนุนอุตสาหกรรมประมงพื้นบ้าน และเร่งผลักดันโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยตรวจเยี่ยม สำนักงาน คปต. ส่วนหน้า ณ บก.พล.ร.๑๕ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย จากนั้น เดินทางไปดูความก้าวหน้าในการปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ซึ่งเป็นจุดสำคัญของเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรือประมงต่างนำสัตว์น้ำทั้งหมดเข้าที่ท่าเทียบเรือปัตตานี และกระจายสู่จังหวัดต่างๆ จำเป็นต้องจัดระเบียบเรื่องของสภาพสุขาภิบาลในท่าเทียบเรือ และปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ท่าเทียบเรือ อีกทั้งต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอาคารคลังสินค้า การทำตลาด รวมไปถึงอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ขณะนี้ทางจังหวัดกำลังรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากผู้ประกอบการต่างพื้นที่ที่ประสงค์เข้ามาลงทุนต้องการสิทธิพิเศษบางอย่างเพื่อเป็นการจูงใจในการลงทุน ซึ่งจะนำเข้าสู่พิจารณาที่ประชุมคณะผู้แทนพิเศษอีกครั้งหนึ่ง และเยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องจากการทำประมงพื้นบ้าน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ และสนับสนุนอุตสาหกรรมประมง โดยตรวจเยี่ยมบริษัทปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและ POUCH เพื่อการส่งออก เช่น ปลาทูน่า ปลาแมคเคลเรล ปลาซาร์ดีน และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยที่ประชุมร่วมหารือการพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อส่งออกให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมหารือการพัฒนาโดยจะเป็นข้อมูลที่ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลจะได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ นอกจากนี้ยังตรวจดูสภาพพื้นที่จริงของชุมชนรอบอ่าวปัตตานี เพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่รอบอ่าว ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่กำหนดไว้ใน Roadmap การขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับทราบปัญหา และความต้องการที่แท้จริงจากประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้พลเอกอุดมเดช ได้กำชับให้ท่าเทียบเรือประมง เร่งรัดปรับปรุงมาตรฐานหลังจากที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาแล้วก่อนหน้านี้ ขณะที่การขุดลอกอ่าวปัตตานี ขอความร่วมมือประชาชนให้มีส่วนร่วมกัน และต้องพิจารณาถึงผลกระทบให้รอบคอบทุกด้านเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ อย่างแท้จริง ที่สำคัญต้องสุจริตโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน จากนั้นพลเอกอุดมเดช ยังได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับทราบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา โดยมีพลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้การต้อนรับ พร้อมทั้งได้ร่วมกันหารือถึงปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ซึ่งได้หารือถึงการให้วุฒิการศึกษา ของโรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนตาดีกา และผู้ที่ไปศึกษาต่างประเทศที่ไม่มีการรับรองวุฒิการศึกษา รวมถึงการเสริมสร้างความเข้าใจในสถานศึกษาเอกชน รวมถึงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย ให้ทั่วถึงแนวคิดและผลการทำงานในโรงเรียนทิวิภาษา การวางแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสนับสนุนเมืองต้นแบบ และสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาที่มีความเห็นต่าง และส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดสังคมพหุวัฒนธรรม โดยการพัฒนาด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยุทธศาสตร์สำคัญที่จะมุ่งพัฒนาให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมลงพื้นที่ปัตตานี ร่วมหาแนวทางพัฒนาท่าเทียบเรือให้ได้มาตรฐานสากล
"พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ลงพื้นที่ปัตตานี ร่วมหาแนวทางพัฒนาท่าเทียบเรือให้ได้มาตรฐานสากล และกำชับให้ศึกษาผล
กระทบการขุดลอกอ่าวปัตตานีให้รอบด้านเน้นการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่"
พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ลงพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ใน ๒๘ และ ๒๙ มีนาคม นี้ เพื่อร่วมหาแนวทางพัฒนาพื้นที่ท่าเทียบเรือ และสนับสนุนอุตสาหกรรมประมงพื้นบ้าน และเร่งผลักดันโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยตรวจเยี่ยม สำนักงาน คปต. ส่วนหน้า ณ บก.พล.ร.๑๕ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย จากนั้น เดินทางไปดูความก้าวหน้าในการปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ซึ่งเป็นจุดสำคัญของเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรือประมงต่างนำสัตว์น้ำทั้งหมดเข้าที่ท่าเทียบเรือปัตตานี และกระจายสู่จังหวัดต่างๆ จำเป็นต้องจัดระเบียบเรื่องของสภาพสุขาภิบาลในท่าเทียบเรือ และปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ท่าเทียบเรือ อีกทั้งต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอาคารคลังสินค้า การทำตลาด รวมไปถึงอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ขณะนี้ทางจังหวัดกำลังรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากผู้ประกอบการต่างพื้นที่ที่ประสงค์เข้ามาลงทุนต้องการสิทธิพิเศษบางอย่างเพื่อเป็นการจูงใจในการลงทุน ซึ่งจะนำเข้าสู่พิจารณาที่ประชุมคณะผู้แทนพิเศษอีกครั้งหนึ่ง และเยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องจากการทำประมงพื้นบ้าน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ และสนับสนุนอุตสาหกรรมประมง โดยตรวจเยี่ยมบริษัทปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและ POUCH เพื่อการส่งออก เช่น ปลาทูน่า ปลาแมคเคลเรล ปลาซาร์ดีน และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยที่ประชุมร่วมหารือการพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อส่งออกให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมหารือการพัฒนาโดยจะเป็นข้อมูลที่ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลจะได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ นอกจากนี้ยังตรวจดูสภาพพื้นที่จริงของชุมชนรอบอ่าวปัตตานี เพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่รอบอ่าว ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่กำหนดไว้ใน Roadmap การขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับทราบปัญหา และความต้องการที่แท้จริงจากประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้พลเอกอุดมเดช ได้กำชับให้ท่าเทียบเรือประมง เร่งรัดปรับปรุงมาตรฐานหลังจากที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาแล้วก่อนหน้านี้ ขณะที่การขุดลอกอ่าวปัตตานี ขอความร่วมมือประชาชนให้มีส่วนร่วมกัน และต้องพิจารณาถึงผลกระทบให้รอบคอบทุกด้านเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ อย่างแท้จริง ที่สำคัญต้องสุจริตโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน จากนั้นพลเอกอุดมเดช ยังได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับทราบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา โดยมีพลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้การต้อนรับ พร้อมทั้งได้ร่วมกันหารือถึงปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ซึ่งได้หารือถึงการให้วุฒิการศึกษา ของโรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนตาดีกา และผู้ที่ไปศึกษาต่างประเทศที่ไม่มีการรับรองวุฒิการศึกษา รวมถึงการเสริมสร้างความเข้าใจในสถานศึกษาเอกชน รวมถึงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย ให้ทั่วถึงแนวคิดและผลการทำงานในโรงเรียนทิวิภาษา การวางแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสนับสนุนเมืองต้นแบบ และสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาที่มีความเห็นต่าง และส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดสังคมพหุวัฒนธรรม โดยการพัฒนาด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยุทธศาสตร์สำคัญที่จะมุ่งพัฒนาให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น
พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ลงพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ใน ๒๘ และ ๒๙ มีนาคม นี้ เพื่อร่วมหาแนวทางพัฒนาพื้นที่ท่าเทียบเรือ และสนับสนุนอุตสาหกรรมประมงพื้นบ้าน และเร่งผลักดันโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยตรวจเยี่ยม สำนักงาน คปต. ส่วนหน้า ณ บก.พล.ร.๑๕ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย จากนั้น เดินทางไปดูความก้าวหน้าในการปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ซึ่งเป็นจุดสำคัญของเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรือประมงต่างนำสัตว์น้ำทั้งหมดเข้าที่ท่าเทียบเรือปัตตานี และกระจายสู่จังหวัดต่างๆ จำเป็นต้องจัดระเบียบเรื่องของสภาพสุขาภิบาลในท่าเทียบเรือ และปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ท่าเทียบเรือ อีกทั้งต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอาคารคลังสินค้า การทำตลาด รวมไปถึงอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ขณะนี้ทางจังหวัดกำลังรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากผู้ประกอบการต่างพื้นที่ที่ประสงค์เข้ามาลงทุนต้องการสิทธิพิเศษบางอย่างเพื่อเป็นการจูงใจในการลงทุน ซึ่งจะนำเข้าสู่พิจารณาที่ประชุมคณะผู้แทนพิเศษอีกครั้งหนึ่ง และเยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องจากการทำประมงพื้นบ้าน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ และสนับสนุนอุตสาหกรรมประมง โดยตรวจเยี่ยมบริษัทปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและ POUCH เพื่อการส่งออก เช่น ปลาทูน่า ปลาแมคเคลเรล ปลาซาร์ดีน และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยที่ประชุมร่วมหารือการพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อส่งออกให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมหารือการพัฒนาโดยจะเป็นข้อมูลที่ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลจะได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ นอกจากนี้ยังตรวจดูสภาพพื้นที่จริงของชุมชนรอบอ่าวปัตตานี เพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่รอบอ่าว ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่กำหนดไว้ใน Roadmap การขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับทราบปัญหา และความต้องการที่แท้จริงจากประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้พลเอกอุดมเดช ได้กำชับให้ท่าเทียบเรือประมง เร่งรัดปรับปรุงมาตรฐานหลังจากที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาแล้วก่อนหน้านี้ ขณะที่การขุดลอกอ่าวปัตตานี ขอความร่วมมือประชาชนให้มีส่วนร่วมกัน และต้องพิจารณาถึงผลกระทบให้รอบคอบทุกด้านเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ อย่างแท้จริง ที่สำคัญต้องสุจริตโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน จากนั้นพลเอกอุดมเดช ยังได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับทราบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา โดยมีพลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้การต้อนรับ พร้อมทั้งได้ร่วมกันหารือถึงปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ซึ่งได้หารือถึงการให้วุฒิการศึกษา ของโรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนตาดีกา และผู้ที่ไปศึกษาต่างประเทศที่ไม่มีการรับรองวุฒิการศึกษา รวมถึงการเสริมสร้างความเข้าใจในสถานศึกษาเอกชน รวมถึงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย ให้ทั่วถึงแนวคิดและผลการทำงานในโรงเรียนทิวิภาษา การวางแผนยุทธศาสตร์การศึกษาสนับสนุนเมืองต้นแบบ และสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาที่มีความเห็นต่าง และส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดสังคมพหุวัฒนธรรม โดยการพัฒนาด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยุทธศาสตร์สำคัญที่จะมุ่งพัฒนาให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น